ความหมายของเซต-คณิตศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์
1. เซต เป็นการอธิบายการรวมกันของสิ่งต่างๆ ซึ่งสามารถระบุได้ว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในเซต
นั้นอย่างชัดเจน (well-defined) และเรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก (element)
2. โดยทั่วไปมีวิธีเขียนเซตได้ 2 แบบ คือ
1) การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก เช่น A = { 2, 4, 6, 8 }
2) การเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก เช่น
A = { x | x เป็นจำานวนคู่บวกที่น้อยกว่า 10 }
3. เซตจำกัด เป็นเซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับศูนย์ หรือเท่ากับจำานวนเต็มบวกใด ๆ
4. เซตอนันต์ เป็นเซตที่มีจำนวนสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิก
ของเซตได้
5. เซต A เท่ากับเซต B หมายถึง สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสมาชิก
ทุกตัวของเซต B เป็นสมาชิกของเซต A นั่นคือ A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
6. เซตว่าง เป็นเซตที่ไม่มีสมาชิกอยู่เลย เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ { } หรือ ∅
7. เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่กำหนดขอบข่ายในการพิจารณาสมาชิกของเซตที่กล่าวถึง
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 𝒰
8. การเขียนแผนภาพเวนน์แทนเซตจะช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ ได้ง่าย
และชัดเจนมากขึ้น
9. เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B
เขียนแทนด้วย A ⊂ B
10. เซต A เป็นสับเซตแท้ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ A ≠ B
11. ถ้าเซต A มีสมาชิกเท่ากับ n ตัว แล้วจำนวนสับเซตทั้งหมดของ A เท่ากับ 2n
เซต
12. เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของ A เขียนแทนด้วย P(A) และถ้าเซต A
มีสมาชิกเท่ากับ n ตัว แล้วจำนวนสมาชิกของ P(A) เท่ากับ 2n
ตัว นั่นคือ n(P(A)) = 2n
13. ถ้า A และ B เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์แล้ว จะได้ว่า
1) อินเตอร์เซกชันของเซต A และเซต B คือ เซตของ
สมาชิกที่ซำกันของเซต A และเซต B เขียนแทนด้วย
A ∩ B นั่นคือ A ∩ B = { x | x∊A และ x∊B }
2) ยูเนียนของเซต A และเซต B คือ เซตของสมาชิกที่
อยู่ในเซต A หรือเซต B เขียนแทนด้วย A ∪ B นั่นคือ
A ∪ B = {x | x∊A หรือ x∊B หรือ x เป็นสมาชิก
ของทั้งสองเซต}
3) คอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตของทุกสมาชิก
ในเซต 𝒰 แต่ไม่อยู่ในเซต A เขียนแทนด้วย A′ นั่นคือ
A′ = {x | x∊𝒰 และ x∉A}
4) ผลต่างระหว่างเซต A และเซต B หรือคอมพลีเมนต์
ของเซต B เทียบกับเซต A คือ เซตที่มีสมาชิกอยู่ใน
เซต A แต่ไม่อยู่ในเซต B เขียนแทนด้วย A - B นั่นคือ
A - B = {x | x∊A และ x∉B}
14. ถ้า A และ B เป็นเซตจำกัดใด ๆ แล้ว จะได้ว่า n(A ∪ B) = n(A) + n(B) - n(A ∩ B)
15. ถ้า A, B และ C เป็นเซตจำกัดใด ๆ แล้ว จะได้ว่า
(A ∪ B ∪ C) = n(A) + n(B) + n(C) - n(A ∩ B) - n(A ∩ C) - n(B ∩ C) + n(A ∩ B ∩ C)