คอมพิวเตอร์กับสุขภาพในชีวิตประจำวัน
คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ
ผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์
ผลกระทบทางตรง เริ่มในเรื่องอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหา เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินนเตอร์เน็ต
การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)
การเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่าอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด สาเหตุที่ทำให้เกิด RSI นั้น ปกติเราจะวางมือแบบธรรมดา มือของคนเราจะอยู่ในระดับเส้นตรงขนานกับพื้น
สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของรางกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ผลต่อร่างกายเช่น ทำให้เมาส์มีขนานเหมาะมือ ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นเพื่อสร้างโต๊ะวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย
ในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI และเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่าคนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วย เมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มากขึ้นเพระมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง
การทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาจทำ ให้เกิดผลเสียต่อ สุขภาพร่างกายได้ ท่านจึงควรศึกษาคำ แนะนำเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และเพื่อความสะดวงสบายใน การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของตัวท่านเอง
มีการทดลองพบว่าการนั้งพิมพ์งานอยูกับที่เป้นเวลานานๆ หรือการจัดตั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ใน ตำแหน่งที่ไม่ถูก สุข ลักษณะ อุปนิสัยการทำงานที่ไม่ ถูกต้อง หรือการมีปัญหา ด้านสุขภาพ อาจทำให้มีอาการปวดข้อมือ ปวดเส้น เอ็น หรือมีอาการอักเสบได้
อาการที่อาจเตือนให้ทราบ
- อาการชา
- อาการเจ็บ ๆ คัน
- อาการปวดตุบๆ
- อาการปวดแสบปวดร้อน
- อาการแสบ
- อาการปวดมือ ข้อมือ แขนและคอ
อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาที่คุณกำลังพิมพ์ เอกสารอยู่หรือในเวลา อื่นที่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ แม้ในเวลา กลางคืน หากคุณมีอาการ ข้างต้นหรือมีอาการ อื่นที่คิดว่าน่าจะเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตร์ คุณควร ปรึกษาแพทย์ทันที ดัวนั้น คำแนะนำเหล่านี้จะอธิบายถึง วิธีการจัดวางเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ถูกสุขลักษณะท่านั่งที่ ถูกต้อง และความสัมพันธ์ระหว่าง สุขภาพกับอุปนิสัยการ ทำงานของคุณในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการทำงานจะเป็นปัจจัยในการตัดสิน สมรรถภาพ ในการทำงานของเรา อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าเรามี นิสัยการทำงานที่ถูกสุขลักาณะ และปลอดภัยหรือไม่ การ ปฎิบัติตามคำแนะนำ จะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสูขลักษณะ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน
วิธีการปรับสภาพแวดล้อมในการทำ
- การจัดวางแป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
- การวางและเคลื่อนไหวมือแขน
- มุมมองภาพที่ปรากฎบนจอ
- การจัดแสงสว่าง
- อุปนิสัยในการทำงาน
- สุขภาพและการออกกำลังกาย
- 10 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย
การจัดวางแป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
แป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูล ควรจัดวางไว้ในที่ซึ่ง สะดวกในการวางแขนและมือได้สบายๆ ตามธรรมชาติ ไม่เกร็งมาก
- เลือกสถานที่ซึ่งจะใช้วางอุปกร์ในการทำงานให้มีบริเวณพอ ที่จะวางเครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องมือ เครื่องใช้ ต่างๆ
- จัดวางแป้นพิมพ์ไว้ตรงหน้าคุณเพื่อให้นั่งพิมพ์ได้โดยไม่ต้อง เกร็งไหล่ และสามารถปล่อยให้แขนห้อยลงข้างตัวได้ ตามธรรมชาติ
- วางเมาส์ไว้ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์
การจัดวางเฟอร์นิเจอร์และท่านั่ง
- ปรับเฟอร์นิเจอร์ให้คุณนั้งทำงานได้สบายพอเหมาะ และถ้าเป็น ชนิดที่ปรับระดับความสูงได้ ก็ควนปรับให้สูงพอดี ถ้าปรับไม่ได้ ก็จัดเก้าอี้ให้ เหมาะสมตามต้องการ
- ปรับความสูงของเก้าอี้ และที่วางอุปกรณ์ใน การ ทำงานเพื่อให้ช่วงแขนตอนล่าง และข้อมือของคุณ ขนาดกับพื้น
- พยายามวางแขน และมือให้อยุ่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อีกทั้ง พยายามอย่าให้เกิดอาการเกร็ง ใต้ขา ใกล้ขอพับ เข่า และน่อง หาที่รองเท้ามาวางเท้าหากเก้าอี้ ของคุณ สูงเกินไปจนคุณ วาง เท้าบนพื้นได้ไม่เต้มฝ่าเท้า
- ปรับพนักเก้าอี้และนั่งให้ช่วงหลังด้านล่างพิงได้ถนัด เวลาทำงาน
- เวลาทำงานหัดนั่งตัวตรง ปล่อยตัวตามสบาย อย่าให้ ไหล่งอ หรือพิงไปทางข้างหลังมากเกินไป
วางเครื่องใช้ในการทำงานที่ต้องการหยิบใช่บ่อยๆ ไว้ใกล้มือ
มุมมองภาพที่ปรากฎบนจอ
หากจัดวางตำแหน่งและมุมมองของจอภาพให้เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการเมื่อล้าของตา กล้ามเนื้อ และคอได้
- วางจอภาพให้อยุ่ด้านหน้าตรง ในระยะที่เหมาะสม (18 – 24 นิ้ว)
- ส่วนบนสุดของจอภาพต้องไม่อยุ่สุงกว่าระดับสายตา หากจอภาพอยู่สูงเกินไปอาจย้ายตัวเครื่องที่รองอยู่ออกไป
- วางตำแหน่งของจอเพื่อหลีกเบี่ยงแสงสะท้อนจ้าจากจอภาพเข้าตา
- ปรับเอียงจอภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อาจเลื่อนจอภาพไปข้างหลังเล็กน้อยหากต้องการ
- ปรับแต่งความสว่าง และความคมชัดของจอภาพเพื่อเพิ่มความคมชัดของภาพและตัวอักษร
- หากใช่ที่ช่วยยึดเอกสาร ให้วางที่ช่วยยึดเอกสารใกล้กับจอภาพ และให้อยู่ในระดับเดียวกับจอภาพ
ระดับบนสุดของจอภาพไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับสายตา
การวางและเคลื่อนไหวมือ แขน
ขณะที่ใช้เครื่งคอมพิวเตอร์ทำงานการเคลื่อนไหวมือและแขนอย่างสบายๆ เป็ธรรมชาติจะช่วยป้องกันการเมื่อยล้าของมือ และ แขน โดยดูจากภาพประกอบ และควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำในขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
- เมื่อพิมพ์ข้อความควรให้ปลายแขน และข้อมืออยู่ใน ระดั่บ เดียวกัน และขนานกับพื้น
- วางข้อศอกในท่าที่สบายๆ ลำตัว อาจแนบข้อศอกชิด ลำตัว แต่ระวังอย่าชิดมากเกินไปจน ข้อศอกกดไป ที่ลำตัว
- ขณะใช้แป้นพิมพ์ เมาส์ หรืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่นๆ ควรให้ข้อมืออยู่ในท่าตามธรรมชาติไม่ควรโค้งงอ ข้อมือ หรือหักข้อมือ
- หากมีที่พักมือ ควรใช้เพื่อการพักมือเท่านั้น ไม่ควร วางมือ บนที่พัก หรือบนโต๊ะขณะกำลังพิมพ์
- หมั่นคอยปรับให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ ให้อยู่ในท่า ที่ ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ
- ใช้แรงให้น้อยที่สุดในการกดแป้นพิมพ์ หลีกเลี่ยงการ กระแทกนิ้วลงบนแป้นพิมพ์แรงๆ เกินความจำเป็น
- จับเมาส์หลวมๆ อย่าจับแน่นเกินไป
- ใช้แรงจากแขนในการเลื่อนเมาส์
การจัดแสงสว่าง
การจัดแสงสว่างที่ถูกต้องจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย สภาพของแสงควรเหมาะสมกับงานที่ ทำอยู่เป็นประจำ ในกรณีที่ต้องทำงานหน้าเครื่องเป้นประจำ สภาพของแสงควรมีลักษณะดังนี้
- ควรจัดจอให้เกิดแสงสะท้อนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ถ้าที่ทำงานของคุณมีหน้าต่างควรใช้ม่านเพื่อควบคุม ปริมาณแสงในห้อง
- จัดวางจอให้อยู่ระหว่าแถวของไฟเพดาน เพื่อหลีกเลี่ยง แสงสะท้อน
- ควรทำงานภาะใต้แสงไฟทั่วไป และไฟสำหรับทำงาน โดยเฉพาะ แต่ต้องหลีกเลี่ยงแสงที่มารบกวนสายตา
- ไม่ควรให้มีแสงไปตกกระทบดดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดจุดสว่างบนจอภาพ
อุปนิสัยในการทำงาน
ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้สึกของคุณในขณะที่ทำงานอยุ่ทั้งวันไม่ได้มีเพียงการจัดวางเฟอร์นิเจอน์ อุปกรณสำนักงาน และแสงสว่าง เท่านั้น อุปนิสัยต่างๆ ในการทำงานของคุณก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญด้วย ข้อควรจำไว้ปฎิบัติ
- ปล่อยตัวตามสบายขณะนั่งทำงาน หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ฝืนธรรมชาติต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเมื่อยกล้ามเนื้อได้
- ลองนึกถึงนิสัยการทำงานของตัวเองและลักษณะของงานที่คุณต้องทำพยายามเปลี่ยนกิจวัตรและทำงานอื่นบ้างใน ระหว่างวัน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งใช้มือทำงานอย่างเดียวอยู่กับที่นานๆ เป็นเวลาหลายๆชั่วโมง
- เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ เพื่อที่กล้ามเนื้อจะได้ไม่ล้ามาก
- หลีกเลี่ยงการพิมพ์หนังสือนานจนเกิดอาการเมื่อยขบ
- วางงานเพื่อพักสักครู่เป็นระยะๆ หากจำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ คุณจะรู้สึกว่าหากคุณพักเพียงชั่วครู่ บ่อยๆ คุณจะรู้สึกสบายกว่าหยุดพักเป็นเวลานานๆ เพียงไม่กี่ครั้งหลังจากทำงานอยู่เป็นเวลานาน
- วันหนึ่งๆ ควรหาเวลาลุกขึ้นยืนยืดเส้นยืดสายหรือออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ สักสองสามนาที
การดูแลถนอมสายตา
เมื่อทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ คุณอาจเกิดอาการเคืองหรืเมื่อยตาได้จึงควรดูแลรักษาสายตาเป็นพิเศษ
- วางงานเพื่อพักสายตาบ่อยๆ
- รักษาดูแลแว่นตา คอนแทคเลนส์ และกระจกหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้สะอาดเสมอ
- หากคุณใช้แผ่นกรองแสง ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาให้ตรวจสายตาคุณบ่อยๆ
- หากเป็นไปได้ควรตัดแว่นตาที่ออกแบบอย่างเหมาะสมเพื่อใช่ดูหน้าจอคอมพิวเตอร์
สุขภาพและการออกกำลังกาย
สุขภาพโดยทั่วไปของคุณอาจมีผลต่อความสบายและความปลอดภัยในการทำงานในบริเวณที่นั่งทำงาน การศึกษาค้นคว้า ทำให้ ้ทราบว่า สภาวะทั่วไปของสุขภาพร่างกายคนเรสอาจทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิด อาการปวดเมื่อยกล้าวเนื้อและ ข้อพับต่างๆ หรือ แม้แต่เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น สภาวะสุขภาพของร่างกายดังกล่าวคือ
- ไขข้ออักเสบ หรือไรคที่ทำให้มีอาการอักเสษต่างๆ
- เบาหวาน
- น้ำหนักตัวมากเกินควร
- เครียดมากเกินไป
- กังวลมาก
- สูบบุหรี่
- สตรีมีครรภ์ ช่วงวัยหยุดรอบเดือน และสภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนในร่ายกาย
- ผู้สูงอายุ
- สุขภาพร่างกายไม่ดี
เนื่องจากว่าระดับความอดทนต่อการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน ฉะนั้นคุณควรที่จะ ทราบ ว่าคุณมีแรงทนนั่งทำงานได้นานเพียงไร และหลีกเลี่ยงการทำงานนาน จนร่างกายทนไม่ไหวบ่อยครั้งเกินไป หากสุขภาพของคุณมี สภาวะที่ตรงกับข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นคุณควรทราบไว้เพื่อจะได้คอยระวังตัว
นอกจากนี้ ทุกคนที่ทราบสภาวะร่างกายของตน และเรียนรู้ที่จะป้องกันตัว และออกกำลังกายสม่ำเสมอไว้ก่อน ย่อมทำให้ นั่งทำงานได้ทนขึ้นกว่าเดิม และไม่เกิดอาการเมื่อยล้าและทำให้สุขภาพทรุดลง
การใช้คอมพิวเตอร์กับสายตา
การใช้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เราอาจใช้คอมพิว-
เตอร์ในการบันทึกข้อมูล ต้นหาข้อมูลและอื่น ๆ สำหรับเด็กมักใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม ซึ่งเด็กบางคนก็เล่นติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง
เนื่องจากมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย จึงมีคำถามมากมายว่าการใช้คอมพิวเตอร์มีอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มีอันตรายต่อสายตา หรือมีผลทำให้เกิดโรคตา หรือมีอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ หรือไม่ คำถามนี้คงยากที่จะให้คำตอบที่แน่ชัดลงไปร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด แต่มีข้อมูลบางอย่างซึ่งคิดว่าน่าจะรู้ไว้
มีผู้ทำการทดลองในผู้ที่ใช้จอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่าหรือเท่ากับ 2 ชั่วโมง พบว่าจะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น มีสายตาพร่ามัวเป็นพัก ๆ รู้สึกตาแห้ง แสบตา ตาสู้แสงไม่ได้ ปรับภาพในระยะใกล้ไกลได้ไม่ดี ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ อย่างไรก็ตามคนที่ทำงานใกล้ ๆ เช่น อ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ แม้ไม่ใช้จอคอมพิวเตอร์ก็อาจมีอาการเหล่านี้ได้
ทำไมคนที่ใช้สายตาในระยะใกล้ จึงมีอาการปวดตา ไม่สบายตา ทั้งนี้ เนื่องจากการทำงานที่ใช้สายตาในระยะใกล้ จำเป็นต้องอาศัยการหดเกร็งของกล้ามเนื้อตา เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานานก็มีการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา เช่นเดียวกับการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อแขนขาเวลาที่เราวิ่งนาน ๆ การเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตาจะแสดงออกมาในรูปของการปวดตา เมื่อยตา อยากจะหลับตา
นอกจากนี้ ในคนปกติจะมีการกะพริบตาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้น้ำตากระจายหล่อเลี้ยงทั่วลูกตา แต่ในเวลาที่เราทำงาน เช่น อ่านหนังสือ หรือดูจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะน้อยลง ทำให้น้ำตาระเหย
ออกไปมากกว่าปกติ ลูกตามีน้ำหล่อเลี้ยงตาน้อยกว่าปกติทำให้กระจกตาแห้ง เราจึงรู้สึกแสบตา รู้สึกว่าตาแห้งหลับตาได้ลำบาก หรือในรายที่เป็นมาก ๆ อาจเกิดแผลขนาดเล็ก ๆ ที่กระจกตาได้ ปัญหาเรื่องน้ำตานี้หากเป็นสาวสำนักงานที่ใส่คอนแทคเลนส์ จะมีปัญหานี้มากกว่าคนที่ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ เพราะการใส่คอนแทคเลนส์ต้องอาศัยน้ำตาเป็นอย่างมาก
การใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานาน ๆ ไม่ได้มีผลต่อเรื่องสายตาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย เช่น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลัง หากท่าทางที่ใช้นั่งทำงานไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังงอ เอียงคอ หรือเอียงไหล่ ก็ทำให้มีอาการได้ง่ายขึ้น และมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือแม้แต่ปวดศีรษะได้ จะเห็นว่าการนั่งทำงานระยะใกล้เป็นเวลานานจะทำให้มีอาการผิดปกติได้ ทั้งในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และไม่ใช้ ได้มีผู้ทำการทดลองว่า ใน 2 กลุ่มนี้จะมีอาการผิดปกติแตกต่างกันหรือไม่ ผลปรากฏว่า อาการเมื่อยล้า ปวดหัวไหล่ อาการเมื่อยตา ปวดคอ ปวดหลัง และเคืองตา พบในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า แต่อาการอย่างอื่น เช่น ตาแดง ปรับสภาพใกล้ไม่ชัด ไม่แตกต่างกันใน 2 กลุ่มนี้
หากการใช้จอคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดอาการเหล่านี้จริง อะไรคือ สาเหตุ
จากการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยให้สัตว์ทดลองอยู่ในบริเวณใกล้กับจอภาพคอมพิวเตอร์เป็นเวลา นาน ๆ พบว่าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนไฮโปทาลามัสลดลง เขามีความเชื่อว่าคลื่นไฟฟ้าที่กระจายออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนี้ลดลง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ และการทำงานของ
อวัยวะต่าง ๆ นอกจากสมมติฐานนี้แล้วยังมีผู้เสนอว่าอาจเกิดจากคลื่นไฟฟ้า ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ
ในเมื่อยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด สถาบันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่น ได้แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ใช้จอภาพคอมพิวเตอร์ควรได้รับการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
2. ผู้ใช้จอภาพคอมพิวเตอร์ควรได้รับการตรวจสุขภาพระหว่างการทำงานปีละ 2 ครั้ง
3. สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้จอภาพคอมพิวเตอร์ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงไปทำงานอย่างอื่น
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางตาเหล่านี้ไม่ควรทำงานที่เกี่ยวข้องกับจอภาพคอมพิวเตอร์
– ผู้ป่วยต้อหิน
– ผู้ที่สายตาสั้นอย่างมาก
– ผู้ที่มีสายตาเอียงมาก
เมื่ออ่านข้อแนะนำเหล่านี้แล้วหลายท่านอาจลังเลหรือกังวลที่จะใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้ด้วยความไม่สบายใจ ลองอ่านข้อมูลต่อไปนี้แล้ว อาจจะช่วยให้ท่านสบายใจได้
องค์การอนามัยโลกได้ตระหนักถึงปัญหานี้จึงได้ตั้งคณะกรรมการต่อสุขภาพจากการใช้จอคอมพิวเตอร์ พบว่าปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ ปัญหาการเมื่อยล้าของตา และปัญหาการเมื่อยล้าของร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน เชื่อว่าเป็นผลจากสภาพแวดล้อมเป็นหลัก เช่น แสงสว่างในการทำงาน สภาพทางจิตใจ ความเครียดและความเมื่อยล้าของร่างกาย ส่วนอันตรายที่เกิดจากการกระจายของคลื่นไฟฟ้าต่าง ๆ (ได้แก่ คลื่นวิทยุ คลื่นแสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซเรย์ และอื่น ๆ) ไม่น่าจะมีผลต่อร่างกาย เพราะคลื่นที่กระจายออกมานี้มีปริมาณน้อยกว่า 200-1,500 เท่าของค่ามาตรฐานที่ปลอดภัย องค์การอนามัยโลกได้แนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1. ผู้ใช้จอภาพคอมพิวเตอร์ ควรแก้ปัญหาสายตาด้วยแว่นที่เหมาะสม
2. จอภาพที่ใช้ควรเลือกใช้จอภาพที่มีคุณภาพดี ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ ความคมชัดของภาพ
ความสว่างของจอ ภาพไม่กะพริบ และอื่น ๆ
3. การปรับแสงสว่างให้พอเหมาะจะช่วยลดอาการไม่สบายตาได้
4. จอภาพคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ จะมีสารเคลือบกระจกของจอภาพช่วยลดแสงสะท้อนอยู่แล้ว จึง
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้แผ่นกรองแสงติดภายนอกอีก การใช้แผ่นกรองแสงอาจช่วยลดแสงสะท้อนได้ แต่ขณะเดียวกันจะทำให้ความคมชัดของ ภาพลดลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาเมื่อยล้าได้
5. ควรปรับสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ลดเสียงรบกวน ให้เหมาะกับการทำงาน
6. โต๊ะและเก้าอี้ที่ใช้ต้องเหมาะสมกับผู้ใช้
7. ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นตะกั่วเพื่อป้องกันรังสีเอกซเรย์ที่แพร่กระจายออกจากจอภาพ แม้สตรีตั้ง-
ครรภ์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้
8. หากมีปัญหาในการมองเห็นควรพบแพทย์
ในแง่ของสภาพแวดล้อมทั้งแสง เสียง อุณหภูมิในห้องทำงาน รวมไปถึงอุปกรณ์ภายในสำนักงานก็
เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดอาการผิดปกติ อันเกิดจากการทำงานระยะใกล้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีข้อแนะนำดังนี้
1. ปรับแสงสว่างให้พอเหมาะทั้งแสงบนจอคอมพิวเตอร์และแสงรอบข้าง โดยทั่วไปควรปรับแสง
สว่างบนจอภาพให้สว่างเป็น 3 เท่า ของความสว่างในห้องทำงาน เช่น ความสว่างบนจอคอมพิวเตอร์เท่ากับ 500 ลักซ์ ความสว่างรอบข้างภายในห้องควรประมาณ 150 ลักซ์ ไม่ควรดับไฟในห้องทำงานแล้วเปิดแต่จอภาพคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้มีอาการไม่สบายตา
2. ควรปรับระดับจอภาพคอมพิวเตอร์ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา ประมาณ 15-20 องศา เพราะท่าที่ตาเหลือบมองลงล่างเล็กน้อย จะเป็นท่าที่สบายที่สุด หากจอคอมพิวเตอร์อยู่สูงกว่าระดับสายตา ร่างกายจะปรับโดยการเงยหน้าสูงขึ้นเพื่อทำให้ระดับสายตามองลงล่าง การเงยหน้านาน ๆ จะทำให้มีปัญหา ปวดคอ ปวดไหล่ และปวดหลังได้
3. สำหรับผู้ที่มีสายตาคนแก่ (สายตายาว) ซึ่งมักเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 40 ปี จำเป็นต้องใช้
แว่นช่วยในการดูใกล้ การเลือกชนิดของแว่นก็มีความสำคัญต่อการทำงาน แนะนำว่าควรเลือกใช้แว่นชนิดชั้นเดียว (สำหรับมองใกล้อย่างเดียว) จะดีกว่าการใช้แว่นตาชนิดสองชั้น (สำหรับมองใกล้และมองไกล) เพราะจะทำให้ลานสายตากว้างกว่า และควรบอกผู้ประกอบแว่นด้วยว่าต้องการใช้สำหรับการทำงานที่ระยะ 50-70 เซนติเมตร เพราะมิฉะนั้นแล้ว ช่างจะตัดให้เห็นชัดที่ระยะ 30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใช้ในการอ่านหนังสือ
4. โต๊ะ เก้าอี้ แป้นพิมพ์ ระดับความสูงของคอมพิวเตอร์ ควรเป็นแบบชนิดที่สามารถปรับให้สูงต่ำ
ได้ตามต้องการ เพื่อให้ได้ท่านั่งที่สบาย ถูกสุขลักษณะ นั่นคือ
– ควรให้จอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย
– โต๊ะและเก้าอี้สูงพอเหมาะที่จะนั่งได้พอดีโดยหลังตรง ไม่คดงอ
– ควรมีที่สำหรับวางข้อมือระหว่างพิมพ์กับขอบโต๊ะ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและไหล่
- การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรนั่งให้ห่างประมาณ 1 ฟุต นั่งเอนหลังให้สบาย ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงรองรับเข้ากับรูปทรงของแผ่นหลัง เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรเล่นติดต่อกันแต่ละครั้งไม่มากกว่า 45-60 นาที ควรจะกระพริบตา, หลับตา หรือหยุดพักสายตาโดยมองต้นไม้ หรือ มองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต ก็คงต้องเป็นนอกหน้าต่าง) สัก 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ เนื่องจากการมองระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ ในบางคนอาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้การมองเห็นระยะไกลมัวได้
- วางจอภาพ(ระดับ ของกึ่งกลางจอภาพนะครับ)ให้ต่ำกว่าระดับสายตา ถ้า case ของคุณเป็น Tower ตั้งจอกับพื้นโต๊ะ หน้าจอตรงๆ หรือก้มนิดหน่อย คุณจะได้ไม่ต้องเงยหน้า อันนี้จะมีผลระยะยาว ถ้าคุณเงยคอนานๆ นอกจากจะเมื่อยคอแล้ว กระดูกต้นคอคุณจะเสียรูปด้วย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนม ถึงระดับเอว
- การเลือกสีพื้นหลัง ไม่ค่อยมีผลกับสายตามากครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็เป็นสีเขียวเข้ม กะสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดนักครับ ส่วนสีตัวหนังสือควรเป็นสีดำ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การอ่านหนังสือบนกระดาษสีขาว ตัวหนังสือสีดำ อาจจะมีผลทำให้สายตาสั้นได้ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กระดาษสีขาวปนฟ้า หรือ สีฟ้า ตัวหนังสือสีดำ *** ไม่ยืนยันผลการวิจัยนะครับ ***
- ปรับจอภาพให้พอดีที่สุด ถ้าคุณใช้งานคนเดียว ปรับให้เนี๊ยบเลย แล้วไม่ต้องปรับอีกตลอดชาติ เช่น แสง (ความสว่าง) สำคัญที่สุด อย่าให้จ้าเกินไป ออกทึบนิดนึงก็ได้ เพราะคุณต้องอยู่กับมันครั้งละนานๆ สี ไม่ต้องให้จัดจ้านเกินไป เอาพอสวย ตัวหนังสือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เอาให้เราดูแล้วสบายตา (ของเราเอง) ตัวหนังสือใหญ่ ไม่ใช่จะดีเสมอไป บางครั้งดูเหมือนมันตะโกนใส่หน้าเรา หรือเราต้องแหกตาดูมัน จริงมั้ย
- Resolution setting ให้เหมาะ ขนาด 800×600 น่าจะกำลังพอดี Refresh Rate ประมาณ 75 Hzขึ้นไป คุณสามารถปรับ Refresh Rate ได้ตามคู่มือของจอครับ ไม่มีผลเสียหายอะไร ถ้าเขาบอกว่าทำได้ก็ทำไปเลยครับ เหตุที่มี Refresh Rate สูงๆ ก็เพื่อลดความพลิ้วของจอ ให้มองจอได้ชัด ๆ น่ะครับ
- การเซ็ตความคมชัดและแสงสว่าง ปกติขึ้นกับความพอใจนะครับ แต่หากจะให้สบายตาควรลด Brightness ลงสักหน่อย ส่วน Contrast สามารถเพิ่มได้เต็มครับ ภาพจะคมชัดขึ้น และถนอมจอถนอมสายตาด้วยครับ ควรป้องการไม่ให้เกิดแสงสะท้อนบนหน้าจอ โดยจัดหน้าจอไม่ให้หันเข้าหน้าต่าง
- ถ้ารู้สึกง่วง, ล้า หรือปวดตา เมื่อทำงานนานๆ ให้พักเสียบ้างดีที่สุด อย่าหักโหมหรือดันทุรัง สุขภาพก็เสีย งานก็ไม่ได้ ตาก็จะพังด้วย
- เมื่อเรานั่งอ่าน หรือนั่งหน้าคอมนานๆ ตาเราจะกระพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกระพริบตาปกติ จะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีต้อเนื้อ ต้อลม หรือเป็นโรคตาแห้ง น้ำตาขาดคุณภาพ ควรจะรักษาให้หาย และใช้คอมพิวเตอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่แนะนำให้ใช้แผ่นกรองแสง เพราะ 1. เสียสตางค์ ซื้อแผ่นกรองแสง 2. เมื่อมีแผ่นกรองแสงมาบัง คุณต้องเร่งแสงและสี สู้กับแผ่นกรองแสง จอภาพจะต้องทำงานหนักขึ้น 3. คุณจะไม่ได้คุณภาพของสีที่แท้จริง ขอย้ำว่า แผ่นกรองแสงไม่ได้ช่วยคุณได้ ความพอดีของคุณนั่นแหละจะช่วยคุณ
- วางแขนให้สบายๆ จัดวางต้นแขน ข้อมือ และมือให้อยู่ในท่าที่สบายๆ เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รู้สึกเกร็งหรือฝืนๆ การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์อย่างนิ่มนวลไม่ควรกดกระแทกแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยและเจ็บนิ้วเร็วกว่าปรกติก็ได้
- ขยับตัว บิดซ้ายบิดขวาบ้าง ให้มีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว ขยับแขนขาและลำตัวเพื่อลดความเมื่อยล้าและอาการเกร็งลง หรืออาจจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างเป็นช่วงๆ
- ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแดดส่องถึงโดยตรง หรือแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นใด เช่น ฮีตเตอร์,เตาไมโครเวฟ, เตาผิง,เตาแก๊ส,เตารีด
- ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่เปียก มีความชื้นสูง หรือมีฝุ่นมาก หรือบนพื้นที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งแรง เช่นบนโซฟา,เตียง ยกเว้นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือปาล์ม
- ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใต้แอร์(แอร์อาจมีน้ำหยดได้) หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถให้กำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงเช่น พัดลมขนาดใหญ่, มอเตอร์ไฟฟ้า, ตู้เย็น,หม้อแปลงไฟฟ้า,ลำโพงที่ไม่ได้ชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงานของจอภาพ ทำให้จอสั่นได้
- ไม่ควรวางสิ่งของต่างๆบนจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะต้นกระบองเพชร เพราะอาจจะเศษดินทรายหรือมีหยดน้ำเข้าไปในจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ได้
- การความความสะอาดจอภาพและคอมพิวเตอร์ ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาด หรือ ฟองน้ำชุบน้ำพอเปียกชื้นๆเช็ด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย เช็ด