คุณสมบัติของจำนวนจริง(Properties of Real Numbers)
เนื่องจากว่า สมบัติของจำนวนจริงมีเยอะมาก ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะที่คิดว่าสำคัญแล้วกันนะครับ
ถ้าให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว จะได้ว่าจำนวนจริงจะมีสมบัติดังต่อไปนี้
1. สมบัติปิดการบวก: a+ b จะต้องเป็นจำนวนจริงเสมอ
2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการบวก: a + (b + c) = (a + b) + c
3. สมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก: a + 0 = a = 0 + a โดยที่เราเรียก 0 ว่าเอกลักษณ์ของการบวก
4. สมบัติการมีอินเวอร์สของการบวก: a + (-a) = 0 = (-a) + a โดยที่ (-a) เป็นอินเวอร์สการบวกของ a
5. สมบัติปิดของการคูณ: a คูณ b หรือ ab จะต้องมีผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเสมอ
6. สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ: a(bc) = (ab) c
7. สมบัติการมีเอกลักษณ์การคูณ: a x 1 = a = 1 x a โดยที่เราเรียก 1 ว่าเอกลักษณ์ของการคูณ
8. สมบัติการมีอินเวอร์สของการคูณ: a a-1 = 0 = a-1 a โดยที่ a-1 เป็นอินเวอร์สการคูณของ a
9. สมบัติการแจกแจงทางซ้าย: a(b + c) = ab + ac
จำนวนจริง
เซตของจำนวนจริง
เซตของจำนวนจริง คือเซตที่เกิดจากการยูเนียนกันของเซตของ
จำนวนตรรกยะกับเซตของจำนวนอตรรกยะ
ข้อควรสนใจ
1. มีจำนวนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่จำนวนจริง จำนวนเหล่านั้นได้แก่ …เป็นต้น ( รากที่สองของจำนวนลบ )
จำนวนเหล่านี้เราเรียกว่าจำนวนจินตภาพ ซึ่งเป็นจำนวนที่เราไม่
สามารถเปรียบเทียบความมากน้อยได้
- ในเซตของจำนวนจริง เราจะไม่มีการเขียนเศษส่วนที่ตัวส่วนเป็น
ศูนย์โดยเด็ดขาด เพราะลักษณะดังกล่าวไม่มีความหมาย หรือ
- การเท่ากันของจำนวนจริง
หลักการเท่ากันของจำนวนจริง เป็นการแสดงให้เห็นว่าลักษณะของ
จำนวนจริงที่จะเท่ากันได้นั้น มีลักษณะอย่างไร และเราเรียกลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นว่า คุณสมบัติ และคุณสมบัติเหล่านี้เป็นจริงเสมอ และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์เกี่ยวกับการเท่ากันของจำนวนอื่น ๆ ได้อีก
- คุณสมบัติสะท้อน ( Reflexive Property )
ถ้า a เป็นจำนวนจริงใด ๆ แล้ว a = a
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า จำนวนจริงใดก็ตาม ต้องมีค่าเท่ากับจำนวนจริงนั้นเสมอ
- คุณสมบัติการสมมาตร ( Symmetric Property )
ให้ a และ b เป็นจำนวนจริงใด ๆ
ถ้า a = b แล้ว b = a
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ถ้ามีจำนวนจริง 2 จำนวนเท่ากัน จจะเขียนจำนวนใดไว้ทางซ้ายมือของเครื่องหมายเท่ากับ หรือเขียนไว้ทางขวาของเครื่องหมายเท่ากับก็ได้ ความหมายยังคงเหมือนเดิม
ตัวอย่างที่ 3 1. X + 2 = 5 จะมีความหมายเหมือนกับ 5 = X + 2
- X = 36 จะมีความหมายเหมือนกับ X = 36
- คุณสมบัติการถ่ายทอด ( Transitive Property )
ให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริงใด ๆ
ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
คุณสมบัติข้อนี้ แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยง หรือความต่อเนื่องจากการเท่ากัน
ตัวอย่างที่ 4 ถ้าเรามี a = 2
และรู้ว่า 2 = b
จากคุณสมบัติการถ่ายทอด เราสามารถสรุปได้ว่า a = b
- คุณสมบัติการบวกด้วยจำนวนเท่ากัน
ให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริงใด ๆ
ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
คุณสมบัติข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีจำนวนจริงใด ๆ สองจำนวนเท่ากันเราเพิ่มเข้าไปอีกจำนวนละเท่า ๆ กัน ผลที่ได้ยังคงเท่ากันเสมอ
ตัวอย่างที่ 5 ให้ x = 7 และ b, c เป็นจำนวนจริง
จะได้ x + b = 7 + b
x + c = 7 + c
- คุณสมบัติการคูณด้วยจำนวนเท่ากัน
ให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริงใด ๆ
ถ้า a = b แล้ว ac = bc
คุณสมบัติข้อนี้ก็เช่นเดียวกับคุณสมบัติข้อ 4 แต่เปลี่ยนจากการบวกเป็นการคูณ นั่นคือ ถ้ามีจำนวนจริงใด ๆ สองจำนวนเท่ากันเราคูณเข้าไปด้วยจำนวนที่เท่ากันผลที่ได้ยังคงเท่ากันเสมอ
- คุณสมบัติของจำนวนจริงข้อ 1 – 11
ในระบบจำนวนจริง จะมีคุณสมบัติสำคัญอยู่ 15 ข้อ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาเป็นอย่างดี คุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นจริงเสมอ ไม่ว่าจำนวนจริงนั้นจะมีลักษณะใดก็ตาม สำหรับในหัวข้อนี้จะกล่าถึงคุณสมบัติของจำนวนจริง 11 ข้อแรกเสียก่อน
ให้ R เป็นเซตของจำนวนจริง โดยที่มี a, b และ c เป็นสมาชิกในเซตนี้ ( แสดงว่า a, b และ c เป็นจำนวนจริง ) คุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นจริงสำหรับระบบจำนวนจริงเสมอ
- คุณสมบัติปิดของการบวก
ถ้า a e R และ b e R แล้ว a + b e R
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ถ้าเรานำสมาชิกที่อยู่ใน R มาบวกกันแล้วผลที่ได้จะยังคงเป็นสมาชิกที่อยู่ใน R เสมอ ( จำนวนจริงคูณกับจำนวนจริง ผลที่ได้ยังคงเป็นจำนวนจริงเสมอ )
- คุณสมบัติปิดของการคูณ
ถ้า a e R และ b e R แล้ว ab e R
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ถ้าเรานำสมาชิกที่อยู่ใน R มาคูณกันแล้ว
ผลที่ได้จะยังคงเป็นสมาชิกที่อยู่ใน R เสมอ ( จำนวนจริงคูณกับจำนวนจริง ผลที่ไดัยังคงเป็นจำนวนจริงเสมอ )
- คุณสมบัติการสลับที่ของการบวก
ถ้า a e R และ b e R แล้ว a + b = b + a
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ในการนำสมาชิก R มาบวกกันนั้น เราจะ
นำสมาชิกตัวใดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นตัวบวกก็ได้ ผลที่ได้ย่อมเท่ากันเสมอ
- คุณสมบัติการสลับที่ของการคูณ
ถ้า a e R และ b e R แล้ว ab = ba
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ในการนำสมาชิกใน R มาคูณกันนั้น เรา
นำสมาชิกตัวใดเป็นตัวตั้งหรือเป็นตัวคูณก็ได้ ผลที่ได้ย่อมเท่ากันเสมอ
- คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการบวก
ถ้า a, b และ c ต่างเป็นสมาชิกใน R แล้ว
( a + b ) + c = a ( b + c )
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า การที่มีจำนวนจริงหลาย ๆ จำนวนมาบวกกันนั้นเราจะนำจำนวนจริงข้อใดบวกกันก่อนก็ได้ แล้วจึงไปบวกกับจำนวนที่เหลือทีหลัง
ซึ่งผลที่ได้ย่อมเท่ากันเสมอ
- คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการคูณ
ถ้า a, b และ c ต่างเป็นสมาชิกใน R แล้ว (ab)c = a(bc)
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า การที่มีจำนวนจริงหลาย ๆ จำนวนคูณกัน
นั้นเราจะนำจำนวนจริงคู่ใดคูณกันก่อนก็ได้ แล้วจึงนำไปคูณกับจำนวนที่เหลือทีหลัง ซึ่งผลที่ได้ย่อมเท่ากันเสมอ
- คุณสมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก
ในเซตจำนวนจริง R จะมี 0 e R ซึ่ง
0 + a = a + 0 = a สำหรับทุก ๆ ค่าของ a ใน R เราเรียก 0 ว่า
เอกลักษณ์การบวก
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ในเซตของจำนวนจริงนี้จะมีจำนวนจริง
พิเศษอยู่ตัวหนึ่ง คือ 0 ซึ่ง 0 นั้นเมื่อนำไปบวกกับจำนวนจริงใด ผลที่ได้จะเป็นจำนวนจริงนั้นเสมอ และต้องมีคุณสมบัติการสลับที่ด้วย เราจึงตั้งชื่อ 0 ว่าเอกลักษณ์การบวก
- คุณสมบัติการมีเอกลักษณ์การคูณ
ในเซตของจำนวนจริง R จะมี 1 e R ซึ่ง
1 x a= a x 1 = a สำหรับทุก ๆ ค่าของ a ใน R เราเรียก 1 ว่า
เอกลักษณ์การคูณ
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ในเซตของจำนวนจริงนั้น จะมีจำนวน
จริงพิเศษอยู่ตัวหนึ่ง คือ 1 ซึ่ง 1 นั้นเมื่อนำไปคูณกับจำนวนจริงใด ผลที่ได้จะเป็นจำนวนจริงตัวนั้นเสมอ และต้องมีคุณสมบัติการสลับที่ด้วย เราจึงตั้งชื่อ 1 ว่า เอกลักษณ์การคูณ
- คุณสมบัติการมีอินเวอร์สการบวก
ถ้า a e R จะมี -a e R ซึ่ง
a + (-a) = (-a) + a = 0
เรียก -a ว่า อินเวอร์สการบวกของ a
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ถ้าเราหยิบสมาชิกใน R ขึ้นมา 1 ตัว
จะเป็นตัวใดก็ได้สมมติให้เป็น a ก็จะมี -a ใน R เหมือนกัน และสมาชิกทั้งสองจำนวนนี้ เมื่อนำมาบวกกัน ผลที่ได้จะเป็นเอกลักษณ์การบวก ( คือ 0 ) และการบวกกันนั้นต้องสลับที่ได้ด้วย
- คุณสมบัติการมีอินเวอร์สการคูณ
ถ้า a e R และ a ¹ 0 จะมี a-1 e R ซึ่ง
aa-1 = a-1a = 1
เรียก a-1 ว่าอินเวอร์สการคูณของ a
คุณสมบัติข้อนี้กล่าวว่า ถ้าเราหยิบสมาชิกใน R ขึ้นมา 1 ตัว
ซึ่งไม่ใช่ 0 ก็จะมีสมาชิกใน R อยู่ 1 ตัวซึ่งเมื่อนำมาคูณกับสมาชิกใน R ที่หยิบขึ้นมา ผลที่ได้จะเป็นเอกลักษณ์การคูณ คือ 1 และการคูณกันนั้นสามารถสลับที่ได้ด้วย
- คุณสมบัติการแจกแจง
ถ้า a, b และ c เป็นสมาชิกใน R แล้ว
a ( b + c ) = ab + ac
คุณสมบัติข้อนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าในการนำจำนวนสองจำนวน
สองจำนวนคือ a และ b + c มาคูณกันนั้น เราสามารถแยกให้อยู่ในรูปผลบวกของผลคูณ ab กับ ac ก็ได้
- ทฤษฎีบทสำคัญในระบบจำนวนจริง
“ ทฤษฎีบท “ หมายถึง ข้อความที่เป็นจริง และสามารถพิสูจน์ได้โดยใช้คุณสมบัติต่าง ๆ มาอ้างอิง ดังนั้นทฤษฎีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นจริงเสมอในระบบจำนวนจริง
ทฤษฎีบทที่ 1 ให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริง
ถ้า a + c = b + c แล้ว a = b
ทฤษฎีบทที่ 2 ให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริง ซึ่ง c ¹ 0
ถ้า ac = bc แล้ว a = b
ทฤษฎีบทที่ 3 ถ้า a เป็นจำนวนจริงใด ๆ
a x 0 = 0 x a = 0
ทฤษฎีบทที่ 4 ให้ a และ b เป็นจำนวนจริงใด ๆ
ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
ทฤษฎีบทที่ 5 ให้ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริง โดยที่ b ¹ 0, d ¹ 0
จะได้ว่า ก็ต่อเมื่อ ad = bc
ทฤษฎีบทที่ 6 ให้ a ¹ 0, b ¹ 0 เป็นจำนวนจริง
ถ้า ab = 1 แล้ว a = b-1 หรือ b = a-1
ทฤษฎีบทที่ 7 ให้ a, b เป็นจำนวนจริงโดยที่ a ¹ 0, b ¹ 0
จะได้ว่า
ทฤษฎีบทที่ 8 ให้ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริงที่ c ¹ 0, d ¹ 0
จะได้ว่า
ทฤษฎีบทที่ 9 ให้ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริงที่ c ¹ 0, d ¹ 0
จะได้