คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสลองผิดลองถูก และมีคำตอบให้รู้ว่าถูกอย่างไร และผิดอย่างไรเพื่อปรับความเข้าใจของผู้เรียนให้ถูกต้องถึงเนื้อหา
2. ให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ กับบทเรียนโดยใช้การเสริมแรง
(Reinforcement) ในทันที่ทันใด
3. ผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับตนเอง ได้หรือเลือกเนื้อหาในการเรียนตามลำดับความยากง่ายของบทเรียน
4. ผู้เรียนสามารถรู้ผลการเรียนของตนเองได้ทันทีกับแบบทดสอบหรือการประเมินผลในบทเรียนตามสถานการณ์ที่กำหนดไว้
5. สามารถชี้นำหรือแนะนำการเรียนให้กับผู้เรียนได้ จากสถานการณ์ที่กำหนดไว้ในบทเรียน
6. ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ตามความถนัด ความต้องการของตนเอง
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย มัลติมีเดียสามารถนํามาประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนําไปใช้งาน เช่น การนํามัลติมีเดียมาใช้สื่อการเรียนการสอน หรือสื่อโฆษณา เป็นต้น โดยมัลติมีเดียจะช่วยให้งานมีความหลากหลาย และน่าสนใจมากขึ้น สามารถอธิบายประโยชน์ต่างๆ ของมัลติมีเดีย ได้ดังนี้ ง่ายต่อการใช้งาน องค์ประกอบของมัลติมีเดียส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจาก ตัวอักษร รูปภาพ เสียง และสื่อชนิดอื่นๆ ซึ่ง เป็นสื่อที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจําวัน ทําให้สามารถนํามัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้กับสิ่ งพิมพ์ โทรทัศน์ และระบบ คอมพิวเตอร์ได้ง่าย และสร้างความรู้สึก สื่อมัลติมีเดียสามารถสร้างความรู้สึกให้กับผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงเพลงเพื่อสร้างความรู้สึก เป็นต้น สร้างเสริมประสบการณ์การออกแบบและพัฒนาโปรกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย แม้จะมีคุณลักษณะท ี่ แตกต่างกัน ตามแต่ละวิธีการ แต่สิ่งหน ึ่ งที่ผู้ใช้จะได้รับ คือ การสั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ ในแง่มุมที่ แตกต่างกัน ทําให้ ทราบหรือคาดเดาถึงการใช้งานโปรแกรมมัลติมีเดียอื่นๆ ได้ เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ผู้ใช้แต่ละคนอาจมีความสามารถในการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน การนําสื่อ มัลติมีเดียมาประยุกต์ใช่เพื่อนําเสนอเนื้ อหาต่างๆ จะช่วยเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ดีขึ้น คุ้มค้าต่อการลงทุนการใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมา เผยแพร่ความรู้ เช่น การจัดหาวิทยากร การเดินทาง การจัดหาสถานที่ และการจัดหาช่องทางการนําเสนอผ่านสื่อ เป็นต้น
1. คุณสมบัติของภาพกราฟิก
กราฟิก นั้นหมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยการใช้เส้น ภาพวาด สัญลักษณ์ ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ
แล้วคำว่าคอมพิวเตอร์กราฟฟิกละหมายถึงอะไร คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพกราฟฟิกโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การตกแต่งภาพ การวาดภาพ การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ
คอมพิวเตอร์กราฟิกก็แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
คอมพิวเตอร์กราฟิก 2 มิติคือ ภาพ 2 มิติ ที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจประกอบด้วยภาพกราฟิกแบบแรสเตอร์ ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ที่ไม่มีการคำนวณความลึก ลวดลายฟอนต์ ฯลฯ
คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ คือ ภาพที่สร้างขึ้นจากการจำลองโมเดล 3 มิติทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การคำนวณในด้านต่างๆ เช่น พีชคณิตเชิงเส้น ตรีโกณมิติ เพื่อหา Perspective เพื่อนำมาทำการจำลองภาพกลับเป็น 2 มิติหรือ 3D หรืออาจหมายถึงการคำนวณอื่นๆเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโมเดล 3 มิติ
ทีนี้เราก็พอจะรู้แล้วว่าคอมพิวเตอร์กราฟฟิกคืออะไร
2.1 ภาพนิ่ง (Still Image) และภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น (Animation)
รูปแบบไฟล์ภาพ
รูปแบบชนิดของภาพแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
ภาพแบบ บิตแมป( Bitmap ) หรือ ราสเตอร์( Raster ) คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไปกล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF และ PNG เป็นต้น
ภาพแบบเวคเตอร์( Vector ) คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือ ที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพเกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป) เพราะการซูมภาพเป็นการคูณจำนวนเท่า ลงไปที่คุณสมบัติภาพนั่นเองดังนั้น ถ้าเราแก้ไขภาพก็คือไปแก้ไขคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิมภาพ Vector เหล่านี้ได้แก่
– ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Office นั่นเอง)
-ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand
BMP (Bitmap)
ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุดของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆ เรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ( Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเก็บภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG PNG และ GIF
จุดเด่น
ภาพจะมีรายละเอียดที่สมบูรณ์
จุดด้อย
ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก ทำให้ขนาดของไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่
JPEG ( Joint Graphics Expert Group )
เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถทำภาพ ให้มีขนาดของไฟล์ภาพเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายสิบเท่า แต่เหมาะจะใช้กับภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเก็บภาพเหมือนจริง เช่น ภาพการ์ตูน เป็นต้น
จุดเด่น
สนับสนุนสีได้มากถึง 24 bit
สามารถกำหนดคุณภาพและตั้งค่าการบีบอัดไฟล์ภาพได้
ใช้ใน Internet (Worl Wild Web) มีนามสกุล.jpg
มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
เรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหวเพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้
GIF ( Graphics Interchange Format )
เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติได้มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG แต่สามารถเก็บภาพที่ไม่ใช่ภาพถ่ายจากธรรมชาติเช่น ภาพการ์ตูน ได้เป็นอย่างดี นากจากนี้ GIF ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆภาพ ในไฟล์เดียว จึงถูกนำไปใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เช่น ในอินเตอร์เน็ต
จุดเด่น
เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับภาพที่จะแสดงบน Web/Internet
มีขนาดเล็กมาก
สามารถทำพื้นให้เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบน WebPage ได้ โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเช่น JAVA, Flash
มีโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างจำนวนมาก
สามารถเรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
แสงภาพได้เพียง 256 สีเท่านั้น
ไม่เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพถ่ายหรืองานที่ต้องการความคมชัดสูง
PNG ()
เป็นภาพที่เกิดจากการนำเอาคุณสมบัติของภาพ JPG และ GIF มาผสมผสานกันให้ได้ลักษณะเฉพาะโดยมีจุดเด่นจุดด้อยดังนี้
จุดเด่น
เอาคุณสมบัติของ(JPEG+GIF) มาใช้คือ สีมากกว่า 256สีและโปร่งใสได้(Transparent)
PNG มีการบีบอัดข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ
ทำให้โปร่งใสได้(Transparency)และยังสามารถควบคุมองศาของความโปร่งใส(Opacity)ได้ด้วย
เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง(True Color) ได้เช่นเดียวกับตารางสี(Pallete) และสีเทา(Grayscale)แบบ GIF
จุดด้อย
ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหวเพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้
TIFF ( Tagged Image File Format )
คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged File ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษกว่าการเก็บแบบอื่น ที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังมีไฟล์ภาพแบบต่างๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป มักนิยมใช่ในงานกราฟิกการพิมพ์
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย
มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้
เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
นอกจากประโยชน์ดังกล่าว เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ยังมีบทบาทต่อ
การเรียนการสอน อันส่งผลให้เกิดระบบห้องสมุดแบบดิจิตอล (Digital Library) การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) การสร้างห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และการเรียนการสอนแบบกระจาย อันส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า E-Commerce อันจะช่วยให้การนำเสนอสินค้า มีความน่าสนใจมากกว่าเดิม
การสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ต้องอาศัยสื่อเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ดังนั้นเทคโนโลยีนี้ จึงมีความสัมพันธ์กับ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม อย่างแยกกันได้ยากมาก
ธุรกิจการพิมพ์ นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อันจะส่งผลให้หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีความน่าสนใจมากขึ้น และปัจจุบันก็มี E-Magazine หรือ E-Book ออกมาอย่างแพร่หลาย
ธุรกิจการให้บริการข้อมูลข่าวสาร เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาช่วย จะทำให้ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ออกไป มีความน่าสนใจมากกว่าเดิม
ธุรกิจโฆษณา และการตลาด แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันจะช่วยดึงดูดคนเข้ามาชม ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความแปลกใหม่
การแพทย์และสาธารณสุข ปัจจุบันมีการสร้างสื่อเรียนรู้ด้านการแพทย์ ช่วยให้ประชาชนทั่วไป มีความสนใจศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแล รักษาสุขภาพตนเอง
นันทนาการ นับเป็นบทบาทที่สำคัญมาก ทั้งในรูปของเกม การเรียนรู้ และ VR เป็นต้น