คูณร่วมน้อยและการนำไปใช้
ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) คือ ตัวคูณร่วม (หรือพหุคูณร่วม) ที่มีค่าน้อยที่สุด ที่จำนวนนับชุดใด(ตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป) ไปหารได้ลงตัว เช่น ค.ร.น. ของ 8 และ 12 คือ 24 เพราะ 24 คือจำนวนที่น้อยมากที่สุดที่ถูกทั้ง 8 และ 12 หารลงตัว
วิธีการหา ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 4, 8 และ 12 มีด้วยกัน 3 วิธีดังนี้ 1. พิจารณาพหุคูณ พหุคูณของ 4 คือ 4, 8, 12, 16, 20, 24,… พหุคูณของ 8 คือ 8, 16, 24, 32, 40,… พหุคูณของ 12 คือ 12, 24, 36, 48, 60,… พหุคูณร่วมของ 4, 8 และ 12 คือ 24, 48,…และมีต่อไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ซึ่งตัวที่น้อยที่สุดก็คือ 24 ค.ร.น. คือ 24 2. วิธีแยกตัวประกอบ 4 = 2 x 2 8 = 2 x 2 x 2 12 = 2 x 2 x 3 เอาตัวที่ซ้ำหรือ ซ้ำแค่บางจำนวนและ จำนวนที่ไม่ซ้ำ ค.ร.น คือ 2 x 2 x 2 x 3 = 24 3. วิธีตั้งหาร 2 ) 4 8 12 2 ) 2 4 6 ___1 2 3 ค.ร.น คือ 2 x 2 x 2 x 3 = 24 (ในกรณี ค.ร.น. ตัวที่มาหาร ไม่จำเป็นต้องหารจำนวนทั้งหมดได้ ตัวที่ไม่ได้ถูกหารก็ให้คงค่าไว้)
ค.ร.น. และการนำไปใช้
ค.ร.น.. จะเกิดขึ้นเมื่อมีจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป
การหาร ค.ร.น.สามารถหาได้หลายวิธี ดังนี้
2) หาตัวคูณร่วมของข้อ 1
3) นำตัวคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดในข้อ 2 เป็น ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 12 , 18
12 เป็นตัวประกอบของ 12 , 24 , 36 , 48 , 60 , 72 , …
18 เป็นตัวประกอบของ 18 , 36 , 54 , 72 , 90 , …
ตัวคูณร่วมของ 12 และ 18 คือ 36 ,72 , …
ดังนั้น ค.ร.น.. ของ 12 และ 18 คือ 36
วิธีที่ 2 วิธีแยกตัวประกอบ มีขั้นตอนดังนี้
1) แยกตัวประกอบของจำนวนนับที่กำหนดให้
2) พิจารณาผลในข้อ 1 ว่ามีจำนวนใดซ้ำกันทุกบรรทัดบ้าง ในกรณีที่ไม่มีจำนวนซ้ำกันทุกบรรทัด สามารถลดหลั่นลงได้
3) นำจำนวนที่ได้ในข้อ 2 คูณกัน
4) ผลคูณที่ได้จากข้อ 3 เป็น ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม.ของ 12 , 18
12 = 2 x 2 x 3
18 = 2 x 3 x 3
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 2 x 3 x 2 x 3 = 36
หรือ ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 22 x 32
1) หารจำนวนนับที่กำหนดให้ด้วยตัวประกอบเเฉพาะของมัน
2) ในกรณีที่หารไม่ลงตัวทั้งหมด สามารถลดหลั่นได้ตามลำดับ
3) หารไปเรื่อย ๆ จนผลหารของทุกจำนวนมีค่าเท่ากับ 1
4) นำตัวหารทั้งหมดคูณกัน ผลคูณที่ได้คือ ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม.ของ 12 , 18
2 ) 12 , 18
3 ) 6 , 9
2 )2 , 3
3 )1 , 3
1 , 1
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 2 x 3 x 2 x 3 = 36
หรือ ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 22 x 32