ค่ามาตรฐานของปริมาณฐาน
1 เมตร คือ ความยาวที่แสงเดินทางในสุญญากาศ ในช่วงเวลา 1/299792458 ของวินาที
1 กิโลกรัม คือ มวลต้นแบบระหว่างชาติทำด้วยโลหะผสมระหว่างพลาตินัมกับเออริเดียม ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่ the international bureau of weight and measure เมือง Sevres ประเทศฝรั่งเศส
1 วินาที คือ ช่วงเวลา 9192631770 เท่าของคาบการแผ่รังสีที่เกิดจากการเปลี่ยนระดับพลังงานของอะตอมซีเซียม (cesium-133) ระหว่างระดับไฮเพอร์ไฟน์ 2 ระดับของสถานะพื้น
1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าคงตัวในลวดตัวนำตรง 2 เส้น ความยาวไม่จำกัด พื้นที่ หน้าตัดน้อยมากและวางขนานกัน ห่างกัน 1 เมตร ในสุญญากาศทำให้เกิดแรงระหว่างลวดตัวนำ ทั้งสองเท่ากับ 2´10-7 N/m
1 เคลวิน คือ อุณหภูมิ 1/273.16 ของอุณหภูมิอุณหพลศาสตร์ของจุดร่วมสามสถานะของน้ำ (Triple point of water)
1 โมล คือ ปริมาณของสารในระบบ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐานที่กำหนดอาจเป็นอะตอม โมเลกุล อิออน ฯลฯ ที่เทียบเท่ากับจำนวนอะตอมคาร์บอน (C-12) มวล 12 กรัม
1 แคนเดลา คือ ความเข้มของการส่องสว่าง ในทิศที่กำหนดของแหล่งกำเนิดที่แผ่รังสีของแสงความถี่เดียว ที่มีความถี่ 540 X 1012 Hz และมีความเข้มของการแผ่รังสีในทิศทางนั้นเท่ากับ 1/683 วัตต์ต่อสตีเรเดียน
2. หน่วยเสริม (supplement unit )
แสดงดังตารางต่อไปนี้
ปริมาณ | หน่วย | สัญลักษณ์ |
มุมระนาบ(plane angle) | เรเดียน(radian) | rad |
มุมตัน(solid angle) | สตีเรเดียน(steradian) | S r |
3. หน่วยอนุพัทธ์ (derived unit) เป็นปริมาณที่ได้จากปริมาณฐานตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไปมาสัมพันธ์กัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การบันทึกปริมาณที่มีค่ามากหรือน้อย
ผลที่ได้จากการวัดปริมาณทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า 1 มากๆ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการนำไปใช้งาน ดังนั้น การบันทึกปริมาณดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. เขียนให้อยู่ในรูปของจำนวนเต็มหนึ่งตำแหน่ง ตามด้วยเลขทศนิยม แล้วคูณด้วยเลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ ดังนี้
ตัวอย่าง 1.1 จงเขียนปริมาณต่อไปนี้ในรูปเลขยกกำลัง
ก. 360,000,000 เมตร ข. 6,539,000 กิโลเมตร
ค. 0.00048 กิโลกรัม ง. 0.00127 วินาที
วิธีทำ ก. 360,000,000 เมตร = 360,000,000
= 3.6 x 108 เมตร
ข. 6,539,000 กิโลเมตร = 7,539,000
= 6.5 x 106 กิโลเมตร
ค. 0.00038 กิโลกรัม = 0.00038
= 3.8 x 10 – 4 กิโลกรัม
ง. 0.00117 วินาที = 0.00117
= 1.17 x 10- 5 วินาที