จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ เป็นคำที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดย Cuoco, Goldenberg, and Mark (1996) ซึ่งได้เสนอว่า จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการสำคัญของการจัดหลักสูตรคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและวิทยาลัยได้ทำความเข้าใจคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดแบบนักคณิตศาสตร์จึงเป็นส่วนที่เติมเต็มช่องว่างระหว่างผู้สร้างกับผู้ใช้คณิตศาสตร์ แม้ปัจจุบันวงการอาจยังไม่มีนิยามที่ชัดเจนตายตัว แต่ Lim and Selden (2009) ได้อธิบายความหมายของจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์อย่างง่ายๆ โดยใช้คำสำคัญ 2 คำ คือ “การคิด (hinking)” และ “ความเคยชินเป็นนิสัย (habituated)” ซึ่งเราสามารถปลูกฝังสมบัติสองสิ่งนี้แก่ผู้เรียนได้โดยอัตโนมัติ ขณะฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหาในชั้นเรียน เพียงแต่ครูต้องตั้งคำถามหรือจัดหาปัญหาที่เหมาะสมมาให้ผู้เรียนทำเพื่อกระตุ้นการคิด (Seeley. 2014)
Harel (2008) ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับจิตนิสัยในมุมมองเป็นวิธีคิดว่าคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 2 สับเซต คือ 1 วิธีทำความเข้าใจได้แก่ นิยาม สัจพจน์ ทฤษฎีบท ข้อพิสูจน์ปัญหา และการหาคำตอบ และ 2) วิธีคิด (ways of thinking) เป็นเครื่องมือทางความคิดที่มีประโยชน์ต่อการสร้างสับเซตแรกและสิ่งที่ทำให้วิธีคิดแตกต่างจากเครื่องมือทำความเข้าใจก็คือ จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ทั้งสองความหมายนี้ไม่สามารถจะแยกกันพัฒนาได้
ขณะที่ Mason and Spence (1999) มีความเห็นว่าลักษณะที่เป็นความเคยชินจะต้องเป็นนิสัยที่รู้และปฏิบัติได้ทันที โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) รู้เนื้อหา (knowing-about) ประกอบด้วย การรู้ข้อเท็จจริง รู้กระบวนการและรู้เหตุผลเบื้องลึก และ 2) รู้จักใช้ (knowing-to) เป็นความรู้ฝั่งแน่นที่สามารถแสดงได้ตามบริบทหรือสถานการณ์ในทันทีที่ต้องการ ซึ่งความรู้ประเภทหลังนี้เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นยิ่งกว่า
นอกจากนี้ Costa and Kallick (2000) ได้อธิบายความหมายของคำว่า “จิตนิสัย” ว่าเป็นผลอันเกิดจากการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง และเกิดการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่า ซึ่งหากนำมาพิจารณาร่วมกันแล้วอาจพอสรุปความหมายได้ว่า จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์
ขอบคุณข้อมูล https://www.scimath.org/