ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่เสนอข้อคิด กฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผน ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเหตุผล วิชาปรัชญาอาศัยตรรกศาสตร์เป็นเครื่องมือ
ในการเข้าถึงปรัชญา ดังนั้น ตรรกศาสตร์มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่ สมัยกรีกโบราณ ค าว่า “ตรรกศาสตร์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า
“ตรฺก” (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด) รวมกับ “ศาสตร์”(หมายถึง ระบบความรู้) ดังนั้น “ตรรกศาสตร์ จึงหมายถึง ระบบวิชา
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความคิด”
การให้เหตุผล คือ การอ้างหลักฐานเพื่อยืนยันว่า “ ข้อสรุป ” ของเราเป็น
ความจริง มีส่วนประกอบของการให้เหตุผล คือ
1. ส่วนที่เป็นข้ออ้าง ( เหตุ ) หมายถึง หลักฐาน
2. ส่วนที่เป็นข้อสรุป ( ผล ) หมายถึง สิ่งที่เราต้องการบอกว่าเป็นจริง
การให้เหตุผลแบบอุปนัย(Inductive reasoning ) เป็นการ ให้เหตุผลโดยการอ้าง หลักฐาน จากประสบการณ์ การ
สังเกตและการทดลอง จึงสรุปเป็นกฎ หรือความเป็นจริงทั่วๆไป เกี่ยวกับสิ่งนั้น
เหตุ1) ความจริงย่อยที่ 1 แม่ชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ประโยคอ้าง)
2) ความจริงย่อยที่ 2 พี่สาวชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ประโยคอ้าง)
3) ความจริงย่อยที่ 3 เพื่อผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ประโยคอ้าง)
4) ความจริงย่อยที่ 4 ป้าชอบซื้อสินค้าที่มีของแถว (ประโยคอ้าง)
ผลสรุป ผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ข้อสรุป)
2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย ( Deductive reasoning ) การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการให้เหตุผลที่อ้างว่าสิ่งที่ก าหนดให้(เหตุ)
ยืนยันผลสรุป โดยก าหนดให้เหตุ (หรือข้อสมมติ) เป็นจริง หรือยอมรับว่าเป็น จริง แล้วใช้กฏเกณฑ์ต่างๆ สรุปผลจากเหตุที่ก าหนดให้
ตัวอย่าง 1
เหตุ (1) ถาไมสบายตองกินยา
(2) อุไมสบาย
ผล (3) อุตองกินยา
ตัวอย่าง 2
เหตุ (1) ดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอม (ความรู้เดิมหรือประโยคอ้าง)
(2) ดอกมะลิมีสีขาว (ความจริงย่อย)
ผล (3) ดอกมะลิมีกลิ่นหอม (ข้อสรุป)
ประโยชน์ของตรรกวิทยา
1.ตรรกวิทยาท าให้เราคิดหาเหตุผลได้อย่าง
สมเหตุสมผล
2.เป็นรากฐานเบื้องต้นของศาสตร์ทุกสาขา
ความรู้ศาสตร์นั้นๆจะต้องอาศัยหลักแห่ง
ความคิดที่ถูกต้องของตรรกวิทยาเท่านั้น หลัก
ความคิดที่ว่านั้นคือ
2.1) เหตุกับผลต้องพอเหมาะพอเจาะกัน
2.2) เหตุกับผลจะต้องเกี่ยวข้องเป็นชนิด
เดียวกัน
2.3) ผลย่อมมาจากเหตุ
3.เป็นเครื่องมือดีเลิศส าหรับใช้ฝึกวุฒิปัญญา
4.เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล
นิยาม : ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธที่มีตัวแปร หรือตัวไม่รู้ค่าอยู่ในประโยค และยังไม่สามารถระบุค่าความจริงของประโยคได้ ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
ประโยคบอกเล่า/ปฏิเสธ ตัวแปรหรือตัว
ไม่รู้ค่า
1) เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ของประเทศไทย
เขา
2) เขาเป็นคนไทย เขา
3) x + 5 = 12 x
4) y 0 y
5) p + 2q = 10 เมื่อ p = 3 q
ประพจน์คือ ประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่บอกค่าความจริงได้ว่า จริงหรือเท็จ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นประโยคใดที่ไม่ใช่
ประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ จึงไม่ใช่ประพจน์ เช่น ประโยคที่อยู่ใน รูปของประโยคค าถาม ค าสั่ง ค าขอร้อง ค าอ้อนวอน ค าอุทาน ข้อห้าม
ข้อปฏิบัติข้อความที่แสดงความต้องการ อยากได้หรือปรารถนา ภาษิต คำพังเพย จะไม่ใช่ประพจน์ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริง หรือเท็จดังประโยคต่อไปนี้
1) ขอจงทรงพระเจริญ 7) คุณพระช่วย ! จริงหรือ
2) โปรดใช้สะพานลอย 8) ฉันอยากถูกสลากออมสินรางวัลที่ 1
3) อย่าเดินลัดสนาม 9) ตั้งใจเรียนนะ
4) ) น้ านิ่งไหลลึก 10) น้ ามันขึ้นราคาเป็นเท่าไรแล้ว
5) อย่ามาสาย 11โปรดรักษาความสะอาด
6) จงคิดดี ปฏิบัติดี