ตรรกศาสตร์ การอ้างเหตุผลด้วยวิธีของเวนน์ –ออยเลอร์
การอ้างเหตุผล
การอ้างเหตุผลคือ การอ้างว่า เมื่อมีประพจน์ p1,p2,…pn, ชุดหนึ่ง แล้วสามารถสรุปประพจน์ C ประพจน์หนึ่งได้ การอ้างเหตุผลประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ เหตุหรือสิ่งที่กำหนดให้ ได้แก่ ประพจน์ p1,p2,…pn, และ ผลหรือข้อสรุป คือ ประพจน์ C โดยใช้ตัวเชื่อม ∧ เชื่อมเหตุทั้งหมด เข้าด้วยกัน และใช้ตัวเชื่อม → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผลดังนี้
(p1 ∧ p2 ∧ … ∧ pn,) → C
จะกล่าวว่า การอ้างเหตุผลนี้ สมเหตุสมผล (valid) ถ้ารูปแบบของประพจน์ (p1 ∧ p2 ∧ … ∧ pn,) → C เป็นสัจนิรันดร์ และจะกล่าวว่า การอ้างเหตุผลนี้ ไม่สมเหตุสมผล (invalid) ถ้ารูปแบบของประพจน์ (p1 ∧ p2 ∧ … ∧ pn,) → C ไม่เป็นสัจนิรันดร์ ดังนั้น ในการตรวจสอบความสมเหตุสมผลจึงใช้วิธีเดียว กับการตรวจสอบสัจนิรันดร์
ตัวอย่าง
กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- p→q
- p
ผล q
วิธีทำ ขั้นที่ 1 ใช้ ∧ เชื่อมเหตุเข้าด้วยกัน และใช้ → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล จะได้รูปแบบของประพจน์คือ [(p → q) ∧ p]→q
ขั้นที่ 2ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ สมมติให้[(p → q) ∧ p]→q เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ p]→q เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- p→q
- ∼p
ผล ∼q
วิธีทำ ขั้นที่ 1 ใช้ ∧ เชื่อมเหตุเข้าด้วยกัน และใช้ → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล จะได้รูปแบบของประพจน์คือ [(p → q) ∧ ∼p]→∼q
ขั้นที่ 2ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ สมมติให้[(p → q) ∧ ∼p]→∼q เป็นเท็จ
จากแผนภาพ มีกรณีที่ p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง ที่ทำให้ [(p → q) ∧ ∼p]→∼q เป็นเท็จ
แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ ∼p]→∼q ไม่เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้ไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- ถ้าฝนตกที่บ้านของสุชาดา แล้วหลังคาบ้านของสุชาดาเปียก
- หลังคาบ้านของสุชาดาไม่เปียก
ผล ฝนไม่ตกที่บ้านของสุชาดา
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “ฝนตกที่บ้านของสุชาดา”
q แทนประพจน์ “หลังคาบ้านของสุชาดาเปียก”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- ∼q
ผล ∼p
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ ∼q]→∼p
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ ∼q]→∼p เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ ∼q]→∼p เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- ถ้าแป้งได้โบนัส แล้วแป้งจะฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท
- แป้งฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท
ผล แป้งได้โบนัส
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “แป้งได้โบนัส”
q แทนประพจน์ “แป้งฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- q
ผล p
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ q]→p
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ q]→ p เป็นเท็จ
จากแผนภาพ มีกรณีที่ p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง ที่ทำให้[(p → q) ∧ q]→ p เป็นเท็จ
แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ q]→ p ไม่เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้ไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- นุ่นซื้อรถคันใหม่ หรือ นุ่นลงทุนในตลาดหุ้น
- นุ่นไม่ซื้อรถคันใหม่
ผล นุ่นลงทุนในตลาดหุ้น
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “นุ่นซื้อรถคันใหม่”
q แทนประพจน์ “นุ่นลงทุนในตลาดหุ้น”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- ∼p
ผล q
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ ∼p]→ q
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ ∼p]→ q เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ ∼p]→ q เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
วิธีของ เวน – ออยเลอร์จะวาดแผนภาพใหส้อดคลอ้งกบั เหตุหรือ สมมุติฐานทุกกรณีที่เป็นไปได้แล้วดูว่า แผนภาพแต่ละกรณีสอดคลอ้งกบัผลสรุปตามที่สรุปไวห้รือไม่ถา้ทุกแผนภาพสอดคลอ้งกบัผลสรุป
ตามที่สรุปไว้ เรากล่าวว่าการให้เหตุผลน้นั สมเหตุสมผล แต่ถา้มีบางกรณีของแผนภาพไม่แสดงผลสรุป ตามที่สรุปไวจ้ะกล่าววา่ การใหเ้หตุผลน้นั ไม่สมเหตุสมผล
ก่อนที่จะใชแ้ผนภาพ เซตของ เวน –ออยเลอร์ช่วยในการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเราจะต้อง
ตกลงกันก่อนว่า ข้อความแต่ละแบบจะวาดแผนภาพแสดงไดอ้ย่างไร
ให้ a เป็น นสมาชิกของเซต A
b เป็นสมาชิกของเซต B
ตัวอย่างจงตรวจสอบวา่ การใหเ้หตุผลต่อไปน้ีสมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
1.คนทุกคนเป็นสุนัข
2. สุนัขทุกตัวกินอาหาร
ผล คนทุกคนกินอาหาร
วิธีทำวาดภาพใหส้อดคลอ้งตามสมมติฐานท้งัสองจะไดด้งรูป
วิธีท าวาดภาพใหส้อดคลอ้งตามสมมติฐานท้งัสองจะไดด้งัรูป
เมื่อนา ผลมาตรวจสอบจะเห็นว่า สอดคลอ้งกับแผนภาพ ดงัน้นัการใหเ้หตุผลนั้น
สมเหตุสมผล