ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น
- การหารลงตัว
- ขั้นตอนวิธีการหาร
- ตัวหารร่วมมาก
- ตัวคูณร่วมน้อย
นิยาม : ให้ m และ n เป็นจำนวนเต็ม
โดยที่ n หาร m ลงตัว ก็ต่อเมื่อ มีจำนวน q ที่ทำให้ m = nq
เรียก n ว่าเป็น ตัวหาร ของ m และ
เรียก m ว่าเป็นพหุคูณ ของ n
จากนิยามดังกล่าว มีการใช้สัญลักษณ์ ดังนี้
n|m แทน n หาร m ลงตัว หรือ m หารด้วย n ลงตัว
n|/m แทน n หาร m ไม่ลงตัว หรือ m หารด้วย n ไม่ลงตัว
การหารเหลือเศษ
a/b= c เศษ d ⟶ a=b.c+d
โดยที่ a, b, c, d เป็นจำนวนเต็ม และ 0 ≤ d < |b|
คำแนะนำเพิ่มเติม :
- ถ้า a/b เหลือเศษเท่ากับ d แล้ว (m.a)/b เหลือเศษเท่ากับเศษเหลือของ (m.d)/b
- ถ้า a/b เหลือเศษเท่ากับ d แล้ว am/b เหลือเศษเท่ากับเศษเหลือของ dm/b
จำนวนเฉพาะ
คือ จำนวนเต็มบวกที่มีแต่ 1, -1, ตัวเอง, จำนวนตรงข้ามตัวมันเอง เท่านั้นที่หารลงตัว (1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ)
จำนวนประกอบ
คือ จำนวนเต็มบวกที่ไม่ใช่ 1 และไม่ใช่จำนวนเฉพาะ โดยสามารถเขียนจำนวนประกอบให้อยู่ในรูปจำนวนเฉพาะคูณกันได้
หารร่วมมาก
บทนิยาม : กำหนดให้ a,b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ (อย่างน้อยที่สุดจำนวนใดจำนวนหนึ่งต้องไม่เป็นศูนย์)
แล้ว จะกล่าวว่า d ϵ I+ เป็นตัวหารร่วมมาก (Greatest Common Divisor : GCD) ของจำนวนเต็ม a,b ก็ต่อเมื่อ d เป็นจำนวนเต็มที่มากที่สุดที่ทำให้ d|a และ d|b
ตัวคูณร่วมน้อยและตัวหารร่วมมาก
ความหมายของ ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น.
ตัวคูณร่วมน้อย หมายถึง จำนวนที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งจํานวนที่กําหนดให้ทั้งหมดสามารถหารจำนวนนั้นได้ลงตัว
ตัวอย่าง
จงหาตัวคูณร่วมน้อยของ 6 และ 9 ช่วงจำนวนที่ไม่เกิน 50
6 เป็นตัวประกอบของ 6, 12, (18), 24, 30, (36), 42, 48
9 เป็นตัวประกอบของ 9, (18) , 27, (36) , 45
ตัวคูณร่วมของ 6 และ 9 คือ 18 และ 36
ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) คือ 18 (มีค่าน้อยสุด)
ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) คือ ตัวหารร่วม (หรือตัวประกอบร่วม) ที่มีค่ามากที่สุด ที่นำไปหารจำนวนนับชุดใด(ตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป) ได้ลงตัว
1. พิจารณาตัวประกอบ ตัวประกอบของ 4 คือ 1, 2, 4 ตัวประกอบของ 8 คือ 1, 2, 4, 8 ตัวประกอบของ 12 คือ 1, 2, 3, 4, 6, 12 ตัวประกอบร่วมของ 4, 8 และ 12 คือ 2. วิธีแยกตัวประกอบ ห.ร.ม. คือ 2 x 2 = 4 3. วิธีตั้งหาร ห.ร.ม. คือ 2 x 2 = 4 4. วิธียุคลิด |
1. พิจารณาพหุคูณ พหุคูณของ 4 คือ 4, 8, 12, 16, 20, 24,….. พหุคูณของ 8 คือ 8, 16, 24, 32, 40,…. พหุคูณของ 12 คือ 12, 24, 36, 48, 60,…. พหุคูณร่วมของ 4, 8 และ 12 คือ 2. วิธีแยกตัวประกอบ 3. วิธีตั้งหาร ค.ร.น คือ 2 x 2 x 2 x 3 = 24 (ในกรณี ค.ร.น. ตัวที่มาหาร ไม่จำเป็นต้องหารจำนวนทั้งหมดได้ ตัวที่ไม่ได้ถูกหารก็ให้คงค่าไว้) |