ทฤษฎีจำนวน-การหารลงตัวและขั้นตอนวิธีการหาร
• การหารลงตัว |
|||||||
บทนิยาม |
กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มใดๆ โดยที่ b ≠ 0 |
||||||
จากบทนิยาม ถ้า b หาร a ไม่ลงตัว แสดงว่าไม่มีจำนวนเต็ม n ที่ทำให้ a = bn และ เขียนแทน “b หาร a ไม่ลงตัว” ได้ด้วยสัญลักษณ์ b † a | |||||||
ตัวอย่างเช่น | 3 | 9 เพราะมี n = 3 ที่ทำให้ 9 = 3n | ||||||
-5 | 10 เพราะมี n = -2 ที่ทำให้ 10 = +5n |
|||||||
6 | 0 เพราะมี n = 0 ที่ทำให้ 0 = 6n |
|||||||
|
|||||||
สมบัติการหารลงตัว |
|||||||
ทฤษฎีบทที่ 1 |
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ |
||||||
|
|||||||
ทฤษฎีบทที่ 2 |
กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มบวก |
||||||
|
|||||||
ทฤษฎีบทที่ 3 |
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ |
||||||
|
|||||||
การจำแนกจำนวนเต็มบวกโดยใช้สมบัติการหารลงตัว |
|||||||
1.จำนวนเฉพาะ (Prime Numbers) |
|||||||
|
บทนิยาม |
จำนวนเต็ม p จะเป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p ≠ 0, p ≠ 1, p ≠ -1 และถ้ามีจำนวนเต็มที่หาร p ลงตัว จำนวนเต็มนั้นต้องเป็นสมาชิกของ {-1, 1, p, -p} |
|||||
2.จำนวนประกอบ (Composite Numbers) |
|||||||
บทนิยาม |
จำนวนเต็ม c เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ c ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ |
||||||
นั่นคือสำหรับจำนวนเต็มบวก c ใดๆ c จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม m และ n ที่ต่างจาก c ที่ทำให้ c = mn |
|||||||
ตัวอย่างเช่น | |||||||
จำนวนที่หาร 2 ลงตัว ได้แก่ {-1, 1, 2, -2} ∴ 2 เป็นจำนวนเฉพาะ |
|||||||
• ขั้นตอนวิธีการหาร |
|||||||
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ b ≠ 0 แล้วจะมี q และ r ซึ่งเป็นจำนวนเต็มที่ทำให้ |
|||||||
ตัวอย่างที่ 1 | กำหนด a = 48, b = 7 จงหา q และ r | ||||||
เขียนให้อยู่ในรูป | a = bq + r | ||||||
48 = 7 × 6 +6 |
|||||||
|
q = 6 และ r = 6 | ||||||
• ตัวหารร่วม |
|||||||
ตัวหารร่วม | |||||||
|
|||||||
ตัวหารร่วมมาก | |||||||
|
|||||||
ตัวอย่างเช่น | จงหา ห.ร.ม. ของ 36 และ 48 | ||||||
วิธีทำ | ตัวหารร่วมของ 36 ได้แก่ ±1, ±2, ±3, ±4, ±6, ±9, ±12, ±18, ±36 | ||||||
ตัวหารร่วมของ 48 ได้แก่ ±1, ±2, ±3, ±4, ±6, ±8, ±12, ±16, ±24, ±48 | |||||||
|
ตัวหารร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 48 ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 12 | ||||||
|
ตัวหารร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 48 ที่มีค่ามากที่สุด คือ12 | ||||||
นั่นคือ ห.ร.ม. ของ 36 และ 48 คือ 12 |
การหาตัวหารร่วมมากโดยใช้ขั้นตอนวิธีของยุคลิด
การหา ห.ร.ม. ตามขั้นตอนวิธียุคลิด (Euclidean Algorithm)
4. การหา ห.ร.ม. ตามขั้นตอนวิธียุคลิด (Euclidean Algorithm)
ขั้นตอนที่ 1 นำจำนวนที่น้อยกว่าไปหารจำนวนมาก
ในที่นี้ 126 ÷ 45 = 2 เศษ 36
ขั้นตอนที่ 2 นำเศษที่เหลือในขั้นที่ 1 คือ 36 ไปหาร 45
จะได้ 45 ÷ 36 = 1 เศษ 9
ขั้นตอนที่ 3 นำเศษที่เหลือในขั้นตอนที่ 2 คือ 9 ไปหาร 36
จะได้ 36 ÷ 9 = 4 เศษ 0
ดังนั้น ห.ร.ม. คือ 9
สรุปหลักการ 1. เมื่อเศษเป็นศูนย์ แสดงว่าการหารจบสิ้นแล้ว
2. หารกลับไปกลับมาทางขวาและทางซ้าย
โดยนำตัวเศษหารต่อๆ ไปตัวหารตัวสุดท้าย
คือ ห.ร.ม. ในที่นี้คือ 9
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม. ของ 348 และ 1,024 โดยวิธีตั้งหาร
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 348 และ 1,024 คือ 4
วิธีการหาร
1. นำจำนวนที่น้อยกว่าไปหารจำนวนที่มากกว่า ในที่นี้คือ 348 นำ 348 ไปหาร 1,024
ได้ 2 ใส่ผลลัพธ์ไว้ นำ 348 × 2 ได้ 696ไปลบออกจาก 1,024 คงเหลือ 348
2. นำ 328 ไปหาร 348 ได้ 1 ครั้ง 348 – 328 คงเหลือ 20
3. นำ 20 ไปหาร 328 ได้ 16 ครั้ง 328 – 320 คงเหลือ 8
4. นำ 8 ไปหาร 20 ได้ 2 ครั้ง 20 – 16 คงเหลือ 4
5. นำ 4 ไปหาร 8 ได้ 2 ครั้ง 8 – 8 คงเหลือ 0
6. จำนวนสุดท้าย คือ 4 ไปหาร 8 ได้ลงตัว เหลือเศษ 0 จำนวน 4 คือ ห.ร.ม.
ข้อควรสังเกต
การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหารนี้จะใช้เมื่อจำนวนนับนั้นมีค่ามากๆ โดยนำมาตั้งทีละสองจำนวน ตั้งคู่กันไป นำจำนวนน้อยหารจำนวนมาก
เมื่อลบกันแล้วนำผลลบไปหารอีกจำนวนหนึ่ง สลับกันไปจนกว่าจะหารได้ลงตัว เหลือเศษศูนย์ จำนวนที่เป็นตัวหารได้ลงตัวจำนวนสุดท้าย คือ ห.ร.ม.
จำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ | ||||||
บทนิยาม |
|
|||||
• ตัวคูณร่วมน้อย |
||||||
ตัวคูณร่วมน้อย | ||||||
|
||||||
ตัวอย่างเช่น | จงหา ค.ร.น. ของ 36 และ 24 | |||||
วิธีทำ | พหุคูณที่เป็นบวกของ 36 ได้แก่ 36, 72, 108, 144, … | |||||
|
พหุคูณที่เป็นบวกของ 24 ได้แก่ 24, 48, 72, 96, 120, 144, … | |||||
|
พหุคูณร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 24 ได้แก่ 72, 144, … | |||||
พหุคูณร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 24 ที่มีค่าน้อยที่สุด คือ 72 | ||||||
นั่นคือ ค.ร.น. ของ 36 และ 24 คือ 72 |