ทฤษฎีจำนวน (Number Theory)เรื่อง จำนวนเฉพาะ (Prime Number)
จำนวนเฉพาะ(prime number) คือ จำนวนที่มากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียงสองตัวได้แก่ 1 และตัวเองเท่านั้น เรียกว่า จำนวนเฉพาะ
ตัวอย่างจำนวนเฉพาะ
2 แยกตัวประกอบได้ 1, 2 ดังนั้น 2 เป็นจำนวนเฉพาะ
3 แยกตัวประกอบได้ 1, 3 ดังนั้น 3 เป็นจำนวนเฉพาะ
4 แยกตัวประกอบได้ 1, 2, 4 ดังนั้น 4 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
5 แยกตัวประกอบได้ 1, 5 ดังนั้น 5 เป็นจำนวนเฉพาะ
6 แยกตัวประกอบได้ 1, 2, 3, 6 ดังนั้น 6 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
7 แยกตัวประกอบได้ 1, 7 ดังนั้น 7 เป็นจำนวนเฉพาะ
ข้อสังเกต 1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
“จำนวนเฉพาะ” หรือ ไพรม์ นัมเบอร์ (Prime number) คือ จำนวนธรรมชาติที่มีตัวหารที่เป็นบวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 กับตัวมันเอง เช่น 2, 3, 5, 7, 11, 13 และ 17 เป็นต้น และสำหรับเลข 1 นั้น ให้ตัดทิ้ง เพราะ 1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
ตัวอย่างจำนวนเฉพาะที่เรานำมาฝาก มีดังนี้
จํานวนเฉพาะ 1-100 มีทั้งหมด 25 ตัว ดังนี้
2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29, 31, 37, 41, 43, 47, 53, 59, 61, 67, 71, 73, 79, 83, 89 และ 97
จํานวนเฉพาะ 1-200 มีทั้งหมด 46 ตัว ดังนี้
2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29, 31, 37, 41, 43, 47, 53, 59, 61, 67, 71, 73, 79, 83, 89, 97, 101, 103, 107, 109, 113, 127, 131, 137, 139, 149, 151, 157, 163, 167, 173, 179, 181, 191, 193, 197 และ 199
จํานวนเฉพาะ 1-1000 มีทั้งหมด 168 ตัว ดังนี้
2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29, 31, 37, 41, 43, 47, 53, 59, 61, 67, 71, 73, 79, 83, 89, 97, 101, 103, 107, 109, 113, 127, 131, 137, 139, 149, 151, 157, 163, 167, 173, 179, 181, 191, 193, 197, 199, 211, 223, 227, 229, 233, 239, 241, 251, 257, 263, 269, 271, 277, 281, 283, 293, 307, 311, 313, 317, 331, 337, 347, 349, 353, 359, 367, 373, 379, 383, 389, 397, 401, 409, 419, 421, 431, 433, 439, 443, 449, 457, 461, 463, 467, 479, 487, 491, 499, 503, 509, 521, 523, 541, 547, 557, 563, 569, 571, 577, 587, 593, 599, 601, 607, 613, 617, 619, 631, 641, 643, 647, 653, 659, 661, 673, 677, 683, 691, 701, 709, 719, 727, 733, 739, 743, 751, 757, 761, 769, 773, 787, 797, 809, 811, 821, 823, 827, 829, 839, 853, 857, 859, 863, 877, 881, 883, 887, 907, 911, 919, 929, 937, 941, 947, 953, 967, 971, 977, 983, 991 และ 997
วิธีการหาจำนวนเฉพาะ
– สมมติว่า n เป็นจำนวนประกอบ
– จำนวนประกอบคือจำนวนที่มีจำนวนอื่นนอกจาก 1 และตัวมันเองที่หารมันลงตัว
– ดังนั้นมีจำนวนนับ a โดย a หาร n ลงตัว และ 1 < a < n
– นั่นคือจะมีจำนวนนับ b ที่ 1 < b < n และ n = a * b
– โดยไม่เสียนัยสำคัญกำหนดให้ a <= b (ถ้า a > b ก็ให้สลับค่า a กับ b)
– สังเกตว่า a = รากที่สองของ (a^2) <= รากที่สองของ (a*b) = รากที่สองของ n
สมบัติบางประการของจำนวนเฉพาะ
- ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ p หาร ab ลงตัวแล้ว p หาร a ลงตัว หรือ p หาร b ลงตัว ประพจน์นี้พิสูจน์โดยยุคลิด และมีชื่อเรียกว่า บทตั้งของยุคลิด ใช้ในการพิสูจน์เรื่องการแยกตัวประกอบได้อย่างเดียว
- ริง (ดูที่[[เลขคณิตมอ/nZ เป็นฟีลด์ ก็ต่อเมื่อ n เป็นจำนวนเฉพาะ
- ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ a เป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว ap − a หารด้วย p ลงตัว (ทฤษฎีบทน้อยของแฟร์มาต์)
- จำนวนเต็ม p > 1 เป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ (p − 1) ! + 1 หารด้วย p ลงตัว (ทฤษฎีบทของวิลสัน). บทกลับ, จำนวนเต็ม n > 4 เป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ (n − 1) ! หารด้วย n ลงตัว
- ถ้า n เป็นจำนวนเต็มบวกแล้ว จะมีจำนวนเฉพาะ p ที่ n < p < 2n (สัจพจน์ของเบอร์แทรนด์)
- สำหรับจำนวนเฉพาะ p > 2 จะมีจำนวนธรรมชาติ n ที่ทำให้ p = 4n ± 1
- สำหรับจำนวนเฉพาะ p > 3 จะมีจำนวนธรรมชาติ n ที่ทำให้ p = 6n ± 1
ตัวประกอบเมื่อเข้าใจความหมายแล้ว ลำดับต่อไปให้หาจำนวนนับที่หาร 8, 12 และ 20 ลงตัว
จำนวนที่หาร 8 ได้ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 4 และ 8
จำนวนที่หาร 12 ได้ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6 และ 12
จำนวนที่หาร 20 ได้ลงตัว ได้แก่ 1, 2, 4, 5, 10 และ 20
เราเรียก 1, 2, 4 และ 8 ว่า เป็นตัวประกอบของ 8
1, 2, 3, 4, 6 และ 12 ว่า เป็นตัวประกอบของ 12
1, 2, 4, 5, 10 และ 20 ว่า เป็นตัวประกอบของ 20
เมื่อรู้จักตัวประกอบแล้ว เราจะมาทำความรู้จักกับ จำนวนเฉพาะกันค่ะ
จำนวนเฉพาะ
ตัวอย่างที่ 1 จงหาตัวประกอบทั้งหมดของจำนวนนับ 1 – 10
ตัวประกอบทั้งหมดของ 1 คือ 1
ตัวประกอบทั้งหมดของ 2 คือ 1, 2
ตัวประกอบทั้งหมดของ 3 คือ 1, 3
ตัวประกอบทั้งหมดของ 4 คือ 1, 2, 4
ตัวประกอบทั้งหมดของ 5 คือ 1, 5
ตัวประกอบทั้งหมดของ 6 คือ 1, 2, 3, 6
ตัวประกอบทั้งหมดของ 7 คือ 1, 7
ตัวประกอบทั้งหมดของ 8 คือ 1, 2, 4, 8
ตัวประกอบทั้งหมดของ 9 คือ 1, 3, 9
ตัวประกอบทั้งหมดของ 10 คือ 1, 2, 5, 10
ดังนั้นจำนวนนับที่มีค่าอยู่ระหว่าง 1 – 10 ที่เป็นจำนวนเฉพาะได้แก่ 2, 3, 5 และ 7
สรุปได้ว่า จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนที่มากกว่า 1 ที่มีตัวประกอบสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง
ตัวอย่างที่ 2 จงพิจารณาจำนวนต่อไปนี้ว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ เพราะเหตุใด
1) 2 2) 6 3) 11 4) 15 5) 19 6) 21 7) 31 8) 47 9) 87 10) 97
1) 2 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 2 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 2
2) 6 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 6 มีตัวประกอบ 4 ตัว ได้แก่ 1 , 2, 3 และ 6
3) 11 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 11 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 11
4) 15 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 15 มีตัวประกอบ 4 ตัว ได้แก่ 1, 3, 5 และ 15
5) 19 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 19 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 19
6) 21 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 21 มีตัวประกอบ 4 ตัว ได้แก่ 1 , 3 ,7 และ 21
7) 31 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 31 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 31
8) 47 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 47 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 47
9) 87 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 87 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 87
10) 97 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 97 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 97
ตัวอย่างที่ 3 พิจารณาจำนวนต่อไปนี้ว่าเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ เพราะเหตุใด
1) 12 2) 23 3) 28 4) 41
วิธีทำ 1) 12 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 12 มีตัวประกอบ 6 ตัว ได้แก่ 1, 2, 3, 6 และ 12
2) 23 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 23 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 23
3) 28 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 28 มีตัวประกอบ 6 ตัว ได้แก่ 1, 2, 4, 7, 14 และ 28
4) 31 เป็นจำนวนเฉพาะ เพราะ 31 มีตัวประกอบ 2 ตัว ได้แก่ 1 และ 31
ตัวอย่างที่ 4 จงหาตัวประกอบเฉพาะของจำนวนต่อไปนี้
1) 8 2) 25 3) 54
1) 8 มีตัวประกอบทั้งหมด ได้แก่ 1, 2, 4, 8
ตัวประกอบเฉพาะของ 8 คือ 2
2) 25 มีตัวประกอบทั้งหมด ได้แก่ 1, 5 และ 25
ตัวประกอบเฉพาะของ 25 คือ 5
3) 54 มีตัวประกอบทั้งหมด ได้แก่ 1, 2, 3, 6, 9, 18, 27 และ 54
ตัวประกอบเฉพาะของ 54 คือ 2 และ 3
สรุปได้ว่า ตัวประกอบเฉพาะ คือ ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ
ตัวอย่างที่ 5 จงหาตัวประกอบเฉพาะทั้งหมดของจำนวนต่อไปนี้
1) 24 2) 35 3) 40 4) 75 5) 80
1) 24 มีตัวประกอบ 8 จำนวน คือ 1, 2, 3, 4, 6, 8, 12 และ 24
มีตัวประกอบเฉพาะ 2 จำนวน คือ 2 และ 3
2) 35 มีตัวประกอบ 4 จำนวน คือ 1, 5, 7 และ 35
มีตัวประกอบเฉพาะ 2 จำนวน คือ 5 และ 7
3) 40 มีตัวประกอบ 8 จำนวน คือ 1, 2, 4, 5, 8, 10, 20 และ 40
มีตัวประกอบเฉพาะ 2 จำนวน คือ 2 และ 5
4) 75 มีตัวประกอบ 6 จำนวน คือ 1, 3, 5, 15, 25 และ 75
มีตัวประกอบเฉพาะ 2 จำนวน คือ 3 และ 5
5) 80 มีตัวประกอบ 10 จำนวน คือ 1, 2, 4, 5, 8, 10, 16, 20, 40 และ 24
มีตัวประกอบเฉพาะ 2 จำนวน คือ 2 และ 5
ที่มา :