ทฤษฎีบททวินาม
เมื่อพิจารณาการกระจายทวินาม (a+b)n เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ จะได้
(a+b)0 = 1
(a+b)1 = a+b
(a+b)2 = a2+2ab+b2
(a+b)3 = a3+3a2b+3ab2+b2
(a+b)4 = a4+4a3b+6a2b2+4ab3+b4
(a+b)5 = a5+5a4b+10a3b2+10a2b3+5ab4+b5
(a+b)6 = a6+6a5b+15a4b2+20a3b3+15a2b4+6ab5+b6
เราจะเห็นว่าสามารถเขียนแผนภาพเฉพาะสัมประสิทธิ์ของการกระจายทวินาม (a+b)n เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ ได้ดังนี้
n=0 1
n=1 1 1
n=2 1 2 1
n=3 1 3 3 1
n=4 1 4 6 4 1
n=5 1 5 10 10 5 1
n=6 1 6 15 20 15 6 1
แผนภาพนี้เรียกว่า “สามเหลี่ยมของปาสคาล”
จากสามเหลี่ยมปาสคาล ทำให้เราทราบว่า
1. จำนวนแรกและจำนวนสุดท้ายของแต่ะแถมเท่ากับ 1 เสมอ
2. จำนวนใดๆ ในแต่ละแถว เกิดจากการบวกของจำนวน 2 จำนวน ที่อยู่เหนือจำนวนนั้นๆ ไปทางซ้ายและทางขวาของแถวด้านบนที่ติดกัน
3. สามเหลี่ยมปาสคาลมีลักษณะสมมาตร
4. จำนวนทั้งหมดที่อยุ่ในแถวที่ n มีค่าเท่ากับ n+1 จำนวน
5. ผลบวกของจำนวนทุกจำนวนในแถวที่ n มีค่าเท่ากับ 2n
ทฤษฎีบททวินาม (Binomial Theorem)
จากการพิจารณาสามเหลี่ยมของปาสคาลตามแผนภาพ เราจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ C(n, r) เมื่อ n, r เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ ซึ่ง n>r>0 และ C(n, r) = n! / (n-r)! . r! ดังนี้
n=0 C(0, 0)
n=1 C(1, 0) C(1, 1)
n=2 C(2, 0) C(2, 1) C(2, 2)
n=3 C(3, 0) C(3, 1) C(3, 2) C(3, 3)
n=4 C(4, 0) C(4, 1) C(4, 2) C(4, 3) C(4, 4)
n=5 C(5, 0) C(5, 1) C(5, 2) C(5, 3) C(5, 4) C(5, 5)
n=6 C(6, 0) C(6, 1) C(6, 2) C(6, 3) C(6, 4) C(6, 5) C(6, 6)
ดังนั้น สิ่งที่ทราบเพิ่มเติมจากสามเหลี่ยมปาสคาล คือ
(a+b)0 = C(0, 0)
(a+b)1 = aC(1, 0) + bC(1, 1)
(a+b)2 = a2 C(2, 0) + ab C(2, 1) + b2 C(2, 2)
(a+b)3 = a3 C(3, 0) + a2b C(3, 1) + ab2 C(3, 2) + b2 C(3, 3)
(a+b)4 = a4 C(4, 0) + a3b C(4, 1) + a2b2 C(4, 2) + ab3 C(4, 3) + b4 C(4, 4)
(a+b)5 = a5 C(5, 0) + a4b C(5, 1) + a3b2 C(5, 2) + a2b3 C(5, 3) + ab4 C(5, 4) + b5 C(5, 5)
(a+b)n = an C(n, 0) + a(n-1)b C(n, 1) + a(n-2)b2 C(n, 2) + … + a(n-r)br C(n, r) + … + ab(n-1) C(n, n-1) + bn C(n, n)
จากการกระจายบททวินามข้างต้น จะสามารถสรุปเป็นทฤษฎีบททวินามได้ ดังนี้
ทฤษฎีบททวินาม
ถ้า a, b เป็นจำนวนจริง และ n, r เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ และ n>r>0 แล้ว
(a+b)n = an + a(n-1)b C(n, 1) + a(n-2)b2 C(n, 2) + … + a(n-r)br C(n, r) + … + ab(n-1) C(n, n-1) + bn
และเรียก C(n, r) ว่า สัมประสิทธิ์ทวินาม
-ขอบคุณข้อมูล https://coolaun.com/