ทฤษฎีบททวินาม
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงสูตรของการกระจาย ( x + y )2 เมื่อ x, y เป็นจำนวนจริงใดๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก
พิจารณาการกระจายต่อไปนี้
( x + y )1 = x + y
(x + y )2 = x2 + 2xy + y2
( x + y )3 = x3 +3x2 y + 3xy2 y3
( x + y )4 = x4 + 4x3 y + 6x2 y2 + 4xy3 + y4
(x + y )5 = x5 + 5x4 y + 10x3 y2 + 10x2 y3 +5xy4 + y5
พิจารณา (x + y )n = (x + y)(x + y)… ( x + y ) = n วงเล็บ
ในการกระจายเลือก x และ y อย่างใดอย่างหนึ่งของแต่ละวงเล็บนำมาคูณกันแล้วนำผลคูณ
ที่ได้มาบวกกัน เช่นเลือก y จาก 2 วงเล็บ และเลือก x จาก n – 2 วงเล็บที่เหลือจะได้พจน์ xn – 2 y2 ดังนั้น แต่ละพจน์ของการกระจาย ( x + y )n อยู่ในรูป xn – r yr เมื่อ r {0,1,2,…, n}
เนื่องจาก xn – r yr ประกอบด้วย x จำนวน n – r ตัว และ y จำนวน r ตัว ดังนั้น พจน์ xn – r yr มีทั้งหมด
พจน์
นั่นคือ สัมประสิทธิ์ของ xn – r yr เท่ากับ
การกระจาย ( x + y )n สรุปเป็นทฤษฏีบทได้ดังนี้
เมื่อพิจารณาการกระจายทวินาม (a+b)n เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ จะได้
(a+b)0 = 1
(a+b)1 = a+b
(a+b)2 = a2+2ab+b2
(a+b)3 = a3+3a2b+3ab2+b2
(a+b)4 = a4+4a3b+6a2b2+4ab3+b4
(a+b)5 = a5+5a4b+10a3b2+10a2b3+5ab4+b5
(a+b)6 = a6+6a5b+15a4b2+20a3b3+15a2b4+6ab5+b6
เราจะเห็นว่าสามารถเขียนแผนภาพเฉพาะสัมประสิทธิ์ของการกระจายทวินาม (a+b)n เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ ได้ดังนี้
n=0 1
n=1 1 1
n=2 1 2 1
n=3 1 3 3 1
n=4 1 4 6 4 1
n=5 1 5 10 10 5 1
n=6 1 6 15 20 15 6 1
แผนภาพนี้เรียกว่า “สามเหลี่ยมของปาสคาล”
จากสามเหลี่ยมปาสคาล ทำให้เราทราบว่า
1. จำนวนแรกและจำนวนสุดท้ายของแต่ะแถมเท่ากับ 1 เสมอ
2. จำนวนใดๆ ในแต่ละแถว เกิดจากการบวกของจำนวน 2 จำนวน ที่อยู่เหนือจำนวนนั้นๆ ไปทางซ้ายและทางขวาของแถวด้านบนที่ติดกัน
3. สามเหลี่ยมปาสคาลมีลักษณะสมมาตร
4. จำนวนทั้งหมดที่อยุ่ในแถวที่ n มีค่าเท่ากับ n+1 จำนวน
5. ผลบวกของจำนวนทุกจำนวนในแถวที่ n มีค่าเท่ากับ 2n
ทฤษฎีบททวินาม (Binomial Theorem)
จากการพิจารณาสามเหลี่ยมของปาสคาลตามแผนภาพ เราจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ C(n, r) เมื่อ n, r เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ ซึ่ง n>r>0 และ C(n, r) = n! / (n-r)! . r! ดังนี้
n=0 C(0, 0)
n=1 C(1, 0) C(1, 1)
n=2 C(2, 0) C(2, 1) C(2, 2)
n=3 C(3, 0) C(3, 1) C(3, 2) C(3, 3)
n=4 C(4, 0) C(4, 1) C(4, 2) C(4, 3) C(4, 4)
n=5 C(5, 0) C(5, 1) C(5, 2) C(5, 3) C(5, 4) C(5, 5)
n=6 C(6, 0) C(6, 1) C(6, 2) C(6, 3) C(6, 4) C(6, 5) C(6, 6)
ดังนั้น สิ่งที่ทราบเพิ่มเติมจากสามเหลี่ยมปาสคาล คือ
(a+b)0 = C(0, 0)
(a+b)1 = aC(1, 0) + bC(1, 1)
(a+b)2 = a2 C(2, 0) + ab C(2, 1) + b2 C(2, 2)
(a+b)3 = a3 C(3, 0) + a2b C(3, 1) + ab2 C(3, 2) + b2 C(3, 3)
(a+b)4 = a4 C(4, 0) + a3b C(4, 1) + a2b2 C(4, 2) + ab3 C(4, 3) + b4 C(4, 4)
(a+b)5 = a5 C(5, 0) + a4b C(5, 1) + a3b2 C(5, 2) + a2b3 C(5, 3) + ab4 C(5, 4) + b5 C(5, 5)
(a+b)n = an C(n, 0) + a(n-1)b C(n, 1) + a(n-2)b2 C(n, 2) + … + a(n-r)br C(n, r) + … + ab(n-1) C(n, n-1) + bn C(n, n)
จากการกระจายบททวินามข้างต้น จะสามารถสรุปเป็นทฤษฎีบททวินามได้ ดังนี้
ทฤษฎีบททวินาม
ถ้า a, b เป็นจำนวนจริง และ n, r เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ และ n>r>0 แล้ว
(a+b)n = an + a(n-1)b C(n, 1) + a(n-2)b2 C(n, 2) + … + a(n-r)br C(n, r) + … + ab(n-1) C(n, n-1) + bn
และเรียก C(n, r) ว่า สัมประสิทธิ์ทวินาม
จากทฤษฎีบททวินาม เราจะได้บทสรุปว่า
1. การกระจายทวินาม(a+b)n แล้วจะได้ n+1 พจน์
2. เนื่องจาก C(n, 0) = C(n, n) = 1 ทำให้ทราบว่า an C(n, 0) = an และ bn C(n, n) = bn
3. กำลังของ a เริ่มจาก n แล้วลดลงทีละ 1 จนถึง 0 สำหรับกำลังสองของ b เริ่มจาก 0 เพิ่มขึ้นทีละ 1 จนถึง n
4. ผลบวกของกำลังของ a กับ b ในแต่ละพจน์ จะเท่ากับ n เสมอ
5. C(n, 0) + C(n, 1) + C(n, 2) + … + C(n, n) = 2n
6. (a+b)n = ผลบวกของ a(n-r)br C(n, r) เมื่อ r มีค่าตั้งแต่ 0-n
7. การหาพจน์และสัมประสิทธิ์ทวินาม ได้เท่ากับ Tr+1 = a(n-r)br C(n, r)
8. C(n, r) = C(n-1, r-1) + C(n-1, r)
9. การหาเศษของการหาร (a+b)n / a เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก สามารถพิจารณาได้จากการหาค่าตัวเศษของ bn / a
10. เมื่อ n เป็นจำนวนเต็ม :
a. (a+b)n + (a-b)n = 2 เท่า ของผลรวมพจน์คี่จากการกระจาย (a+b)n
b. (a+b)n – (a-b)n = 2 เท่า ของผลรวมพจน์คู่จากการกระจาย (a+b)n
ตัวอย่างที่ 1 จงกระจาย (2x-3)4 ให้อยู่ในรูปผลบวกของพจน์ต่างๆ โดยใช้สามเหลี่ยมของปาสคาล
วิธีทำ เมื่อเทียบ (2x-3)4 กับ (a+b)n จะพบว่า a = 2x, b = -3 และ n=4
แทนค่าลงในทวินาม
(a+b)n = a4 +4a3b + 6a2b2 + 4ab3 + b4
จะได้
(2x-3)n = (2x)4 +4(2x)3(-3) + 6(2x)2(-3)2 + 4(2x)(-3)3 + (-3)4
(2x-3)n = 16x4 – 96x3 + 216x2 – 216x+ 81
ดังนั้น (2x-3)n = 16x4 – 96x3 + 216x2 – 216x+ 81
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลลัพธ์ของ C(n, 0) + 2C(n, 1) + 22C(n, 2) + 23C(n, 3) + … + 2nC(n, n) เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก
วิธีทำ จะพบว่า
(1+2)n = C(n, 0) + 2C(n, 1) + 22C(n, 2) + 23C(n, 3) + … + 2nC(n, n)
3n = C(n, 0) + 2C(n, 1) + 22C(n, 2) + 23C(n, 3) + … + 2nC(n, n)
ดังนั้น C(n, 0) + 2C(n, 1) + 22C(n, 2) + 23C(n, 3) + … + 2nC(n, n) = 3n
ตัวอย่างที่ 3 สัมประสิทธิ์ของการกระจาย x11 จากการกระจาย [x3+ (1/3x)]9 ค่าเท่าไหร่
วิธีทำ พิจารณาการกระจาย [x3+ (1/3x)]9 พบว่า a = x3, b =1/3x และ n = 9
จาก Tr+1 = a(n-r)br C(n, r)
แทนค่าต่างๆ ลงในสมการข้างต้น
จะได้ Tr+1 = (x3)(9-r) (1/3x)r C(9, r)
= C(9, r) [(x27-3r)/(3rxr)]
= (1/3r) . C(9, r) . x27-4r
หาสัมประสิทธิ์ของ x11 นั่นคือ x27-4r = x11 และ 27-4r = 11, r = 4
แทนค่า r= 4 ลงในสมการหาพจน์ของการกระจาย
Tr+1 = (1/3r) . C(9, r) . x27-4r
T4+1 = (1/34) . C(9, 4) . x27-4(4)
T5 = (1/81) . 126 . x11
T5 = (14/9)x11
ดังนั้น สัมประสิทธิ์ของ x11 จากการกระจาย [x3+ (1/3x)]9 เท่ากับ 14/9
ขอบคุณข้อมูล https://coolaun.com/