โดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชัน คณิตศาสตร์ ม.4
สรุปเนื้อหาเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
คู่อันดับ
คู่อันดับประกอบด้วยสมาชิก 2 ตัว เขียนแทนคู่อันดับในรูป (a,b) โดยที่ a เป็นสมาชิกตัวหน้าและ b เป็นสมาชิกตัวหลัง อันดับของสมาชิกถือว่าสำคัญ กล่าวคือการสลับที่กันระหว่างสมาชิกทั้งสองอาจทำให้ความหมายของคู่อันดับเปลี่ยนไปได้
สมบัติของคู่อันดับ
- (a,b) = (b,a) ก็ต่อเมื่อ a = b
- ถ้า (a,b) = (c,d) แล้วจะได้ a = c และ b = d
- ถ้า (a,b) ≠ (c,d) แล้วจะได้ a ≠ c หรือ b ≠ d
หมายเหตุ :ข้อควรจำ
การเท่ากันของคู่อันดับ หมายถึง (a1, b1) = (a2, b2) ก็ต่อเมื่อ
a1 = b1 และ a2 = b2 หรือก็คือ ตัวหน้า = ตัวหน้า, ตัวหลัง = ตัวหลัง
ผลคูณคาร์ทีเชียน
เป็นการกระทำกันระหว่างเซต 2 เซต โดยผลคูณคาร์ทีเชียนระหว่างเซต A และ B เขียนแทนด้วย A×B คือ เซตของคู่อันดับ (a,b) ทั้งหมด โดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B เขียนอยู่ในรูปแบบ
A×B = {(a,b) | a ∈ A และ b ∈ B}
สมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียน
ให้ A, B และ C เป็นเซตใด ๆ และ n(A) คือ จำนวนสมาชิกของเซต A
- A×{} = {}
- {}×A = {}
- A×(B∪C) = (A×B)∪(A×C)
- A×(B∩C) = (A×B)∩(A×C)
- A×(B-C) = (A×B) – (A×C)
- n(A×B) = n(A).n(B)
พิจารณาความสัมพันธ์
r1 = {(1,2),(2,3),(3,4),(4,5)}
r2 = {(x,y) ∈ I+x I+ | y = x }
เซตสมาชิกตัวหน้าของความสัมพันธ์ r 1 คือ {1,2,3,4} เรียกเซตนี้ว่า โดเมนของ r1
เซตสมาชิกตัวหลังของความสัมพันธ์ r 1 คือ {2,3,4,5} เรียกเซตนี้ว่า เรนจ์ของ r1
ส่วน r2 มีโดเมนและเรนจ์เท่ากับจำนวนเต็มบวก
บทนิยาม ให้ r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B
โดเมนของ r คือเซตของสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับใน r เขียนแทนด้วย Dr
เรนจ์ของ r คือเซตของสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับใน r เขียนแทนด้วย R r
โดเมนและเรนจ์
ความสัมพันธ์จาก A ไป B ให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ แล้ว r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ AB เขียนได้ว่า r = {(a,b) | (a,b) ∈ A×B}
- โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ เซตของสมาชิกตัวหน้าในคู่อันดับของความสัมพันธ์ r
เขียนแทนด้วย Dr
- เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ เซตของสมาชิกตัวหลังในคู่อันดับของความสัมพันธ์ r
เขียนแทนด้วย Rr
- การหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ สามารถทำได้ดังนี้
3.1 กรณีความสัมพันธ์สามารถเขียนในรูปแจกแจงสมาชิกได้
โดเมน คือ สมาชิกตัวหน้าในคู่อันดับของความสัมพันธ์
เรนจ์ คือ สมาชิกตัวหลังในคู่อันดับของความสัมพันธ์
3.2 กรณีความสัมพันธ์ไม่สามารถเขียนในรูปแจกแจงสมาชิกได้
3.2.1 การหาโดเมน ควรเขียนความสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปของ
y = เทอมของ x
แล้วพิจารณาว่า ภายในเซตที่กำหนดให้ x มีค่าอะไรบ้างที่ทำให้หาค่า y ได้
โดยที่ y นั้นต้องอยู่ภายในเซตที่กำหนดให้ ค่า x เหล่านั้นจะเป็นสมาชิก
ในโดเมน
3.2.2 การหาเรนจ์ ควรเขียนความสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปของ
x = เทอมของ y
แล้วพิจารณาว่า y มีค่าเป็นอะไรบ้างที่ทำให้หาค่า x ได้ โดยที่ x นั้น
ต้องอยู่ภายในเซตที่กำหนดให้ ค่า y เหล่านั้น จะเป็นสมาชิกในเรนจ์
การเขียนกราฟความสัมพันธ์แบบบอกเงื่อนไข
รูปแบบการเขียนแบบบอกเงื่อนไขจะเป็นเหมือนกับการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข เช่น A = {x : x ∈ R} และ B = {y : y ∈ } เป็นต้น เรามักจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเขียนแจกแจงสมาชิกทั้งหมดได้ กรณีที่ไม่สามารถแจกแจงสมาชิกได้ทั้งหมด เช่น x เป็นจำนวนจริง จะเห็นได้ว่าจำนวนจริงนั้นมีเยอะมาก บอกไม่หมดแน่ๆ จึงต้องเขียนแบบบอกเงื่อนไขนั่นเอง
เรามาดูตัวอย่างการเขียนกราฟกันค่ะ
ให้ A = {x : x ∈ R} และ B = {y : y ∈ R}
กำหนด r ⊂ A × B และ r = {(x, y) ∈ A × B : y = 2x²+1}
ขั้นที่ 1 ให้ลองแทนค่าของจำนวนเต็มบวก x ลงในสมการ y = x² ที่ต้องแทน x เป็นจำนวนเต็มบวก เพราะเงื่อนไขในเซต A นั่นเอง
แทน x = 0, 1, 2, 3, 4
x = 0 ; y = 1
x = 1 ; y = 2(1)²+1 = 3
x = 2 ; y =2 (2)² +1= 9
x = 3 ; y = 2(3)² +1= 19
x = 4 ; y = 2(4)² +1= 33
ขั้นที่ 2 เมื่อเราแทนค่า และได้ค่า y มาแล้ว ให้เราเขียนคู่อันดับที่เราได้จากขั้นที่ 1
จะได้คู่อันดับ ดังนี้ (0, 1), (1, 3), (2, 9), (3,19), (4, 33)
กราฟของความสัมพันธ์ ในรูปแบบกำลังสอง
ให้ x, y เป็นจำนวนจริงใดๆ สมการ y = ax² + bx +c เป็นสมการกำลังสอง ซึ่งเป็นสมการพาราโบลาที่เราเคยเรียนมาตอนม.ต้นนั่นเอง
ให้ = {(x, y) : y = 3x²+1}
หรือ ถ้าให้ = {(x, y) : y = x² + 2x + 9}
กราฟของความสัมพันธ์ ในรูปแบบค่าสัมบูรณ์
ค่าสัมบูรณ์คืออะไร
ค่าสัมบูรณ์นั้นปรากฏให้เห็นครั้งแรกในข้อเขียนของ ฌอง โรเบิร์ต อาร์แกนด์ (Jean-Robert Argand) นักคณิตศาสตร์สมัครเล่นชาวสวิส เขาใช้คำว่า “absolute” และ “โมดูลัส (modulus) หรือโมดูล (module)” ในข้อเขียนดังกล่าว ซึ่งหมายถึงหน่วยวัด ในภาษาฝรั่งเศส เพื่อระบุขนาดของเวกเตอร์และจำนวนเชิงซ้อนในการสร้างกราฟ ต่อมาในปี ค.ศ. 1841 Karl Weierstrass นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้นำเสนอสัญลักษณ์ค่าสัมบูรณ์ | x | และนำมาใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์กันทั่วไป
ให้ x, y เป็นจำนวนจริงใดๆ และ y= | -x |
กำหนดให้ r = {(x, y) : y= | x-1 | }