ความเป็นมาที่น่าสนใจของ PHP
PHP เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1994 โดย Rasmus Lerdorf ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐฯ ได้ทำการคิดค้นเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ส่วนตัวของตนเองเริ่มต้นจากการจุดเด่นของภาษา C และ Perl ถูกเรียกว่า Personal Home Page มีการสร้างส่วนติดต่อฐานข้อมูลชื่อ Form Interpreter (FI) ดังนั้นเมื่อนำสองส่วนมารวมเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า PHP/FI และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ PHP เพราะมีคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเขาแล้วรู้สึกชอบจึงได้ติดต่อเพื่อขอโค้ดไปใช้งานบ้างก่อนถูกนำไปพัฒนาต่อในลักษณะที่เรียกว่า Open Source พอระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี สิ่งนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก มีเว็บไซต์ที่ใช้งาน PHP/FI ในส่วนติดต่อฐานข้อมูลและแสดงผลแบบไดนามิกกับแบบอื่นๆ อีกกว่า 5 หมื่นเว็บ
Zeev Suraski และ Andi Gutmans เป็นชาวอิสราเอล พวกเขาได้ทำการปรับปรุงโค้ดของ Lerdorf ขึ้นใหม่ด้วยการใช้ C++ เพื่อให้เกิดความสามารถเกี่ยวกับการจัดการแบบฟอร์มข้อมูลซึ่งถูกสร้างมาจากภาษา HTML พร้อมสนับสนุนการติดต่อโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล mSQL ทำให้ PHP กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มมีคนให้การสนับสนุนการใช้งาน PHP เพิ่มขั้นเรื่อยๆ ช่วงปลายปี 1996 PHP ถูกนำไปใช้มากถึง 1,5 หมื่นเว็บทั่วโลก แถมยังมีอัตราแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งได้มีผู้พัฒนาขึ้นมาอีก 3 คน ประกอบไปด้วย Stig Bakken ดูแลเกี่ยวกับการติดต่อ Oracle, Shane Caraveo ดูแล PHP บน Window 9x/NT, Jim Winstead
PHP เกิดในปี 1994 โดย Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์อเมริกันได้คิดค้นสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บส่วนตัวของเขา โดยใช้ข้อดีของภาษา C และ Perl เรียกว่า Personal Home Page และได้สร้างส่วนติดต่อกับฐานข้อมูลที่ชื่อว่า Form Interpreter ( FI ) รวมทั้งสองส่วน เรียกว่า PHP/FI ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของ PHP มีคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเขาแล้วเกิดชอบจึงติดต่อขอเอาโค้ดไปใช้บ้างและนำไปพัฒนาต่อ ในลักษณะของ Open Source ภายหลังมีความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากภายใน 3 ปีมีเว็บไซต์ที่ใช้ PHP/FI ในติดต่อฐานข้อมูลและแสดงผลแบบ ไดนามิกและอื่นๆ มากกว่า 50000 ไซต์
PHP2 (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 Rasmus Lerdorf ได้มีผู้ที่มาช่วยพัฒนาอีก 2 คนคือ Zeev Suraski และAndi Gutmans ชาวอิสราเอล ซึ่งปรับปรุงโค้ดของ Lerdorf ใหม่โดยใช้ C++ ให้มีความสามารถจัดการเกี่ยวกับแบบฟอร์มข้อมูลที่ถูกสร้างมาจากภาษา HTML และสนับสนุนการติดต่อกับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล mSQL จึงทำให้ PHP เริ่มถูกใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีผู้สนับสนุนการใช้งาน PHP มากขึ้น โดยในปลายปี 1996 PHP ถูกนำไปใช้ประมาณ 15,000 เว็บทั่วโลก และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาก็มผู้เข้ามาช่วยพัฒนาอีก 3 คน คือ Stig Bakken รับผิดชอบความสามารถในการติดต่อ Oracle, Shane Caraveo รับผิดชอบดูแลPHP บน Window 9x/NT, และ Jim Winstead รับผิดชอบการตรวจความบกพร่องต่างๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Professional Home Pageในเวอร์ชั่นที่ 2
PHP3 ออกมาในช่วงระหว่างเดือน มิุถุนายน 1997 ถึง 1999 ได้ออกสู่สายตาของนักโปรแกรมเมอร์ มีคุณสมบัติเด่นคือสนับสนุนระบบปฏิบัติการทั้ง Window 95/98/ME/NT, Linux และเว็บเซร์ฟเวอร์ อย่าง IIS, PWS, Apache, OmniHTTPd สนับสนุน ระบบฐานข้อมูลได้หลายรูปแบบเช่น SQL Server, MySQL, mSQL, Oracle, Informix, ODBC
PHP4 ตั้งแต่ 1999 – 2007 ซึ่งได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่างๆให้มากและง่ายขึ้นโดย บริษัท Zend ซึ่งมี Zeev และ Andi Gutmans ได้ร่วมก่อตั้งขึ้น ( http://www.zend.com ) ในเวอร์ชั่นนี้จะเป็น compile script ซึ่งในเวอร์ชั่นหน้านี้จะเป็น embed script interpreter ในปัจจุบันมีคนได้ใช้ PHP สูงกว่า 5,100,000 ไซต์ แล้วทั่วโลก และ ผู้พัฒนาได้ตั้งชื่่อของ PHP ใหม่ว่า PHP: Hypertext Preprocessor ซึ่งหมายถึงมีประสิทธิภาพระดับโปรเฟสเซอร์สำหรับไฮเปอร์เท็กซ์
PHP5 ตั้งแต่ 2007-ปัจจุบัน มี ได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่าง ๆ เช่น
* Object Oriented Model
* การกำหนดสโคป public/private/protected
* Exception handling
* XML และ Web Service
* MySQLi และ SQLite
* Zend Engine 2.0
รายชื่อของนักพัฒนาภาษา PHP ที่เป็นแก่นสำคัญในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
* Zeev Suraski, Israel
* Andi Gutmans, Israel
* Shane Caraveo, Florida USA
* Stig Bakken, Norway
* Andrey Zmievski, Nebraska USA
* Sascha Schumann, Dortmund, Germany
* Thies C. Arntzen, Hamburg, Germany
* Jim Winstead, Los Angeles, USA
* Rasmus Lerdorf, North Carolina, USA
ที่มา:
1.http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=san&jucId=2955&PHPSESSID=un
2.http://www.asiamediasoft.net/content/newboard/History-of-PHP
3.http://www.mindphp.com
4.http://www.zend.com/
5.http://www.webthaidd.com/php/webthaidd_article_637_.html