ประสาทวิทยาศาสตร์ (Foundation of Neuroscience)
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของระบบประสาทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบส่วนใหญ่เนื่องจากความก้าวหน้าในทางอณูชีววิทยา , แม่เหล็กและประสาทการคำนวณ สิ่งนี้ทำให้นักประสาทวิทยาสามารถศึกษาระบบประสาทได้ในทุกแง่มุมไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอย่างไรทำงานอย่างไรพัฒนาอย่างไรความผิดปกติอย่างไรและจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ยกตัวอย่างเช่นมันเป็นไปได้ที่จะเข้าใจในรายละเอียดมากที่กระบวนการที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นภายในเดียวเซลล์ประสาท เซลล์ประสาทเป็นเซลล์เฉพาะสำหรับการสื่อสาร พวกเขาสามารถสื่อสารกับเซลล์ประสาทและเซลล์ชนิดอื่น ๆ ผ่านทางแยกเฉพาะที่เรียกว่าซินแนปส์ซึ่งสัญญาณไฟฟ้าหรือไฟฟ้าเคมีสามารถส่งผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้ เซลล์ประสาทจำนวนมากขับไล่เส้นบาง ๆ ของแอกโซพลาสซึมที่เรียกว่าแอกซอนซึ่งอาจขยายไปยังส่วนที่ห่างไกลของร่างกายและสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทกล้ามเนื้อหรือต่อมอื่น ๆ ที่จุดสิ้นสุดของพวกมัน ประสาทระบบโผล่ออกมาจากการชุมนุมของเซลล์ประสาทที่เชื่อมต่อถึงกัน
ซีรีบรัม (Cerebrum)
ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
1.Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
2.Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
3.Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
4.Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb)
ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ – ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
ทาลามัส (Thalamus)
ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเขาออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle) มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้ทาลามัสอยู่บนสุดของก้านสมอง ใกล้กลับใจกลางของสมองอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู้ส่วนต่างของสมองได้ในทุกทิศทางสมองส่วนกลาง (Diencephalon) ยังประกอบด้วย อิพทาลามัส (Epithalamus) และเรติลูเลทนิวเคลียส (Reticulate Nucleus)ทาลามัสมีหลายหน้าที่หน้าที่โดยทั่วไปคือ ส่งผ่านระหว่าง ซับตอร์ทีคอล(Subcortical) และเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการทำงานของระบบสัมผัส (Special Sense) ทาลามิคนิวเคลียสจะรับและส่งต่อข้อมูลไปยังส่วนแรกของคอร์ทีคอล (Cortical Area) เช่นรับภาพจากจอภาพตาหรือเรตินาแล้วส่งไป เลเทอรัล เจนิคูเลท นิวเคลียส (Lateral Geniculate Nucleus) ในทาลามัสซึ่งจะฉ่ายไปสู่ส่วนแรกของสมองที่รับรู้ความรู้สึกในการมองเห็น ไพรมารี วิซอน คอร์เทกซ์ (Primary visval cortex) ในกรีบท้ายทอยหรือออคซิพิตัลลู๊บ (Occital Lode) ทาลามัสจะดำเนินการทั้งรับรู้ข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลทาลามัสจะคอยควบคุมความมีสติ การตื่นเต้นการระมัดระวังการแสดงออก ถ้าทาลามัสถูกทำลาย จะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงที่เรียกว่าโคม่า
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) – ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
ระบบสมอง 3 ชั้นกับปัญญา 3 ฐาน
ปัญญา 3 ฐานซึ่งเป็นที่มีความเกี่ยวข้องกับ cognitive, psychomotor และ affective domain ที่พบในสมองมนุษยซึ่งเกี่ยวข้องกันโดย
ฐานคิด – Cerebral Cortex
Cerebral cortex เป็นบริเวณที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ตรระกะและเหตุผล จินตนาการ ภาษา การเรียนรู้เชิงข้อมูล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปัญญาฐานคิด cognitive domain โดย Cerebral cortex เป็นส่วนที่มีการพัฒนามาทีหลัง และพบแต่ในสัตว์กลุ่ม Primate และสมองของมนุษย์
ฐานใจ – Limbic System
Limbic system เป็นบริเวณที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก เป็นศูนย์กลางของพฤติกรรม ความทรงจำ มีความเกี่ยวข้องกับปัญญาฐานใจ affective domain โดย Limbic system เป็นสมองที่มีการพัฒนามาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ฐานกาย – Central Core
Central core เป็นบริเวณที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอัตโนมัติ (involuntary behavior) การทรงตัว ความอยู่รอด สัญชาตญาณในการต่อสู้ ความกังวลและความเครียด มีความเกี่ยวข้องกับปัญญาฐานกาย psychomotor domain โดย Central core เป็นสมองส่วนที่มีการพัฒนามาตั้งแต่สัตว์เลื้อยคลาน
เซลล์ควบคุมความคิดของมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์โซเวียตค้นพบเซลล์ที่กำหนดควบคุมความคิดของมนุษย์คือ เซลล์เนื้อสีขาวใต้เปลือกสมอง (subcortex) ไม่ใช่เนื้อเยื่อสีเทาของสมองใหญ่ (cerebral cortex) ที่เคยเชื่อแต่เดิม
เมื่อเร็วๆ นี้ทางการโซเวียตเพิ่งประกาศขึ้นทะเบียนการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไว้ว่ารัฐบัณฑิต น.เบคเตเรวา ป.บุนต์เซน ดุษฏีบัณฑิตแพทยศาสตร์ ยู.โกโกลิทซิน และ ยู.โครโปต๊อฟ ดุษฎีบัณฑิตสาขาชีววิทยาแห่งสถาบันวิจัยการแพทย์ทดลอง สังกัดรัฐบัณฑิตสถานการแพทย์ของโซเวียต ได้ค้นพบเซลล์ที่ทำการควบคุมความคิดของมนุษย์ อันเป็นความก้าวหน้าทางด้านสรีรวิทยาของระบบประสาทมนุษย์
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์พากันเชื่อว่า ส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความคิดมนุษย์ก็คือ เนื้อเยื่อสีเทาของสมองใหญ่ ซึ่งวิวัฒนาการมาช้ามากกว่าเนื้อเยื่อขาวใต้เปลือกสมองที่อยู่ต่ำจากเนื้อเยื่อสีเทาของสมองใหญ่ในขั้นก่อนที่ลิงใหญ่จะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ โดยต่างเชื่อว่า เนื้อเยื่อขาวใต้เปลือกสมองมีหน้าที่ผลิตพลังงานป้อนสมองเท่านั้น
แต่นักวิทยาศาสตร์ทั้งสี่ของโซเวียตก็ลบล้างความเชื่อนี้ เมื่อค้นพบว่า เนื้อเยื่อสีขาวใต้เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการคิดของมนุษย์เช่นเดียวกับสมองใหญ่ โดยพบว่า เซลล์ประสาทในส่วนเนื้อเยื่อสีขาวใต้เปลือกสมองนั่นเองที่ทำหน้าที่ในการคิด นับเป็นการค้นพบที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านสรีรวิทยาของระบบประสาท และวินิจฉัยความผิดปกติทางด้านประสาทและจิตใจอีกก้าวหนึ่งของมนุษย์โลกทีเดียว
ขอบคุณ ข้อมูล https://www.urbinner.com/ และ https://siweb.dss.go.th/
อ้างอิง : http://jakkapantip.blogspot.com/2013/07/blog-post.html