ปรับพื้นฐาน จำนวนเต็ม , เศษส่วน และ ทศนิยม , ห.ร.ม.และ ค.ร.น. , สมการ และ ร้อยละ
ในเรื่องจำนวนนับมีเรื่องที่สำคัญที่ต้องกล่าวถึงอีกคือ จำนวนนับจำแนกได้อีก 2 ประเภท คือ จำนวนคู่และจำนวนคี่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. จำนวนคู่ (Odd Number) คือจำนวนนับที่ 2 หารได้ลงตัว เช่น 2,4,6,…
2. จำนวนคี่ (Even Number) คือจำนวนนับที่ 2 หารแล้วเหลือเศษ เช่น 1,3,5,…
จากที่กล่าวมาจะยกตัวอย่างตัวเลขเพื่อแสดงว่าจำนวนใดเป็นจำนวนคู่หหรือจำนวนคี่ ดังนี้
10 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 10 หาร 2 = 5
46 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 46 หาร 2 = 23
121 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 121 หาร 2 ได้ 60 เศษ 1
เมื่อนำจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ มาบวกหรือคูณกันจะได้เป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่นั้นมีข้อสังเกตบางประการของการบวกและการคูณจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ ดังนี้
การบวก
– จำนวนคู่ + จำนวนคี่ จะได้ จำนวนคู่
เช่น 2+6 = 8,4+8 = 12
– จำนวนคู่ + จำนวนคี่ จะได้ จำนวนคี่
เช่น 2+3 = 5,4+5 = 9
– จำนวนคี่ + จำนวนคี่ จะได้ จำนวนคู่
เช่น 1+1 = 2,3+5 = 8
การคูณ
– จำนวนคู่ + จำนวนคี่ จะได้ จำนวนคู่
เช่น 2 = 8,4+8 = 12
– จำนวนคู่ + จำนวนคี่ จะได้ จำนวนคู่
เช่น 2+3 = 5,4+5 = 9
– จำนวนคี่ + จำนวนคี่ จะได้ จำนวนคี่
เช่น 1+1 = 2,3+5 = 8
(2) จำนวนเต็มลบ (Negative Integers) เป็นจำนวนที่ใช้แทนปริมาณที่น้อยกว่าศูนย์ เขียนแทนด้วยเลขจำนวนนับที่มีเครื่องหมายลบอยู่ด้านหน้า โดยจำนวนเต็มลบเริ่มจาก –1 และลดลงทีละ 1 ไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด เช่น –2,-3,-5,… เป็นต้น
2. จำนวนเศษส่วน (Fractions) เป็นจำนวนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม โดยทั่วไปเศษส่วนใดๆเขียนได้ในรูป a/b โดย a,b เป็นจำนวนเต็ม และ b ≠ 0 เรียก a ว่าตัวเศษ (Numerator) หมายถึง จำนวนส่วนแบ่งที่ต้องการ และ b ว่า ตัวส่วน (Denominator) หมายถึง จำนวนทั้งหมดที่มีอยู่เช่น 1/3 เรียก 1 ว่าเศษ และเรียก 3 ว่าส่วน หมายถึง มีของอยู่ทั้งหมด 3 ส่วนต้องการเพียง 1 ส่วน เพื่อแสดงจำนวนเศษส่วนให้เห็นชัดเจนขึ้น จึงนำไปเขียนแสดงบนเส้นจำนวนโดยใน 1 หน่วย ความยาวบนเส้นจำนวน จะแบ่งความยาวออกเป็นส่วนๆที่เท่าๆกัน ดังรูปที่ 1.5
รูปที่ 1.5 เส้นจำนวนแสดงจำนวนเศษส่วน
จากรูปที่ 1.5 อธิบายได้ว่า เส้นจำนวนแบ่งระยะห่างออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน จุด A,B,C มีความหมายดังนี้
จุด A แทน 1/3 แสดงว่าจุด A อยู่ห่างจาก 0 ไปทางขวามือเป็นระยะทาง 1 ส่วนของทั้งหมด 3 ส่วน
จุด B แทน –2/3 แสดงว่าจุด B อยู่ห่างจาก 0 ไปทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 2 ส่วนของทั้งหมด 3 ส่วน
จุด C แทน 5/3 แสดงว่าจุด C อยู่ห่างจาก 0 ไปทางขวามือเป็นระยะทาง 5 ส่วนของทั้งหมด 3 ส่วน
เศษส่วนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. เศษส่วนแท้ คือ เศษส่วนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือตัวเศษมีค่าน้อยกว่าตัวส่วน เช่น 1/4,3/5
2. เศษส่วนเกิน คือ เศษส่วนที่มีค่ามากกว่า 1 หรือตัวเศษมีค่ามากกว่าตัวส่วน เช่น 3/2,5/3
3. เศษส่วนจำนวนคละ คือ เศษส่วนที่มีจำนวนเต็มส่วนหนึ่งกับเศษส่วนของจำนวนเต็มอีกส่วนหนึ่ง
ข้อสังเกต ของจำนวนเศษส่วน
จำนวนเต็มทุกจำนวนสามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ คือ ส่วนเป็น 1 เสมอ แต่ไม่นิยมเขียน 1 กำกับไว้
สามารถเปลี่ยนจำนวนที่อยู่ในรูปเศษส่วนให้เป็นทศนิยมได้โดยนำตัวส่วนไปเป็นตัวหารเศษ
กรณี 2/9 = 0.222… เมื่อหารไปเรื่อยๆจะได้เลข 2 ซ้ำกันเพราะหารเหลือเศษเท่ากันทุกครั้ง ทศนิยมที่ได้นี้เรียกว่า ทศนิยมซ้ำ เช่น 1/15 = 0.0666… หรือ 0.06 อ่านว่า ศูนย์จุดศูนย์หก หกซ้ำ , 5/6 = 0.8333… หรือ 0.83 อ่านว่า ศูนย์จุดแปดสาม สามซ้ำ , 3/4 = 0.75 หรือ 0.750 อ่านว่าศูนย์จุดเจ็ดห้าศูนย์ ศูนย์ซ้ำ เพราะเมื่อหารไปเรื่อยๆจะได้ศูนย์ซ้ำ แต่จะไม่นิยมเขียนศูนย์ซ้ำ ดังนั้นเศษส่วนทุกจำนวนสามารถเปลี่ยนเป็นรูปทศนิยมซ้ำได้
3. จำนวนทศนิยม (Decimal Numbers) เป็นจำนวนที่ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นจำนวนเต็มและส่วนที่เป็นทศนิยม และใช้สัญลักษณ์จุด (.) คั่นระหว่างส่วนที่เป็นจำนวนเต็มและส่วนที่เป็นทศนิยมหรือการเขียนตัวเลขแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 1
จำนวนทศนิยมที่เป็นจำนวนตรรกยะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ทศนิยมรู้จบ เป็นจำนวนที่มีตัวเลขหลังจุดทศนิยมแน่นอนหรือมีศูนย์ซ้ำ เช่น 1.2, 3.55, 9.245 เป็นต้น
(2) ทศนิยมไม่รู้จบชนิดซ้ำกัน เป็นจำนวนที่มีเลขทศนิยมตัวหนึ่งหรือมากกว่าซ้ำๆกันไม่มีที่สิ้นสุด โดยคาดเดาเลขทศนิยมตัวตต่อไปได้ว่าจะเป็นเลขอะไร เช่น 0.23, 1.54, 40.64 เป็นต้น
1.1.2 จำนวนอตรรกยะ
จำนวนอตรรกยะ (Irrational Numbers) คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มที่ตัวหารไม่เป็นศูนย์ แต่เขียนได้ในรูปทศนิยมไม่ซ้ำและสามารถกำหนดค่าโดยประมาณได้
จำนวนอตรรกยะสามารถแบ่งได้ เป็น 3 ประเภท คือ
1. จำนวนที่อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์ () และไม่สามารถถอดค่าออกมาได้เป็นตัวเลขที่แน่นอน เช่น = 1.73205080757……. เป็นต้น
2. จำนวนทศนิยมไม่รู้จบและไม่ซ้ำกัน ได้แก่ ทศนิยมที่มีตัวเลขหลังจุดทศนิยมมากมายโดยไม่ซ้ำกันและไม่สามารถคาดเดาตัวเลขตัวต่อไปได้เลยว่าเป็นเลขอะไร เช่น 0.5836…, 1.2573…, 3.4925… เป็นต้น
3. ค่า และ e โดย เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่าของ = 3.14159265359… และ e เป็นตัวเลขของออยเลอร์ (Euler Number หรือ Eulerian Number) ค่าของ e = 2.71828182846…
ห.ร.ม.และ ค.ร.น.
ความสัมพันธ์ ห.ร.ม. กับ ค.ร.น.
สมการ และ ร้อยละ
การคำนวณหาเปอร์เซ็นต์
เมื่อ “เปอร์เซ็นต์” คือ เลขเศษส่วน โดยตัวเศษเป็นจำนวนใด ๆ ก็ตาม และตัวส่วนเป็น 100 การคำนวณหาเปอร์เซ็นต์จึงอาจทำได้โดยการเขียนให้อยู่ในรูปของเลขเศษส่วนก่อน
ตัวอย่างเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าลดราคา 30% ทำให้อยู่ในรูปของเศษส่วน จะได้ 30/100
สมมุติราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าจากป้ายเป็น 800 บาท ดังนั้น 30% ของ 800 จึงเท่ากับ (30/100) x 800 = 240
ในทางกลับกัน การหาว่า 15 เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ 25 อาจทำได้โดยการตั้งสมการหรือเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ดังนี้
วิธีตั้งสมการ
สมมุติให้เปอร์เซ็นต์ที่ต้องการหาเป็น X
(X/100) x 25 = 15 (รูปแบบคล้ายกับสมการตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าลดราคา)
แก้สมการได้เป็น (15×100)/25 = 60
ดังนั้น 15 เป็น 60% ของ 25
วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์
จำนวนทั้งหมด 25 จำนวนที่สนใจเท่ากับ 15
ถ้าจำนวนทั้งหมด 100 จำนวนที่สนใจเท่ากับ (15×100)/25 = 60
ดังนั้น 15 จาก 25 คิดเป็น 60%
ขอบคุณข้อมูล https://www.trueplookpanya.com/