ปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อโรค COVID 19 ช่องทางหลัก ที่เกิดได้จาก 2 ช่องทาง ได้แก่
- การติดต่อผ่านทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet transmission) เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้
ติดเชื้อภายในระยะ 2 เมตร หรือ 6 ฟุตนั่นเอง หรือผู้ติดเชื้อไอหรือจามแล้วทำให้เกิดละอองฝอยซึ่งสามารถกระเด็นเข้าเยื่อบุตา ช่องปาก เยื่อบุโพรงจมูกโดยตรง หรือหายใจเข้าสู่ปอด
- การติดต่อผ่านทางการสัมผัส (Direct and indirect transmission) เช่น การที่ผู้ติดเชื้อ
นำมือที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะของตนเองไปสัมผัสตามพื้นผิวต่างๆ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน ลูกบิดประตู แล้วมีผู้ที่ไม่ทันระมัดระวังไปจับพื้นผิวดังกล่าวแล้วกลับมาสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุตา จมูก ช่องปาก จนได้รับเชื้อต่อมา โดยระยะเวลาที่เชื้อจะคงอยู่ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ ลักษณะพื้นผิว และอุณหภูมิ ของพื้นผิว พบว่าหากอุณหภูมิสูงขึ้น เช่น 30-40 องศาเซลเซียส เชื้อจะคงอยู่ได้สั้นลง แต่ถ้าหากอุณหภูมิต่ำถึง 4 องศาเซลเซียส เชื้ออาจจะอยู่ได้เป็นเดือน จากการศึกษาแบบจำลองในห้องทดลอง ณ อุณหภูมิ 21-23 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 40% พบว่าสามารถตรวจเชื้อที่ตกค้างอยู่พื้นผิวได้นานถึง 72 ชั่วโมง และบางการศึกษาพบว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่างๆอาจจะอยู่ได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงจนถึง 9-14 วันบนพื้นผิวที่อุณหภูมิห้อง หรือประมาณ 21 องศาเซลเซียส
วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
- รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
- ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
- ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
- เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
- หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ (40-60 วินาที) หากทำได้ครบ 11 ขั้นตอนอย่างถูกต้องตาม คำแนะนำของ WHO ก็จะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ไม่ต่างจากเจลแอลกอฮอล์ และควรใช้วิธีนี้เมื่อมีสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งบนมือชัดเจน เช่น หลังไอ จาม มีเสมหะ น้ำมูก หรือสารคัดหลั่งปนเปื้อนบนมือ
- ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ (20-30 วินาที) ด้วยขั้นตอนการล้างมือเช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น ล้างให้ทั่วมือจนแห้ง ไม่ต้องล้างน้ำซ้ำ
- ใส่หน้ากากอนามัยในกรณีที่มีโอกาสสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ทำงานในโรงพยาบาล สนามบิน คนขับรถ หรือสถานที่แออัด เช่น ผับ โรงหนัง สนามมวย สนามม้า
- ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ (Disinfectant) ตามพื้นผิวต่างๆ เป็นประจำทุกวัน เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ โทรศัพท์ คีย์บอร์ด ชักโครก อ่างล้างมือ ปุ่มกดลิฟต์ บริเวณที่มีการสัมผัสร่วมบ่อยครั้ง จำเป็นต้องทำความสะอาดระหว่างวันอย่างพอเพียง โดยถ้าพื้นผิวมีความสกปรกมากควรใช้สบู่หรือน้ำทำความสะอาดก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อตามพื้นผิว
-ขอบคุณข้อมูล https://www.bangkokpattayahospital.com/ และ https://www.scimath.org/