ผลบวกของอนุกรมอนันต์ การหาผลบวกของอนุกรมอนันต์นั้นจะอาศัยความรู้เรื่องลิมิตมาช่วยในการหาผลบวกครับ ซึ่งเราไปดูพวกนิยามต่างๆที่สำคัญเกี่ยวกับการหาผลบวกของอนุกรมอนันต์
บทนิยาม
กำหนดให้ a1 + a2 + a3 + a4 + a5 +⋯+aืn+⋯ เป็นอนุกรมอนันต์
อนุกรมอนันต์
อนุกรมอนันต์ [Infinite Series]
นิยาม อนุกรมอนันต์ คือ อนุกรมที่มีจำนวนพจน์ไม่จำกัด ; a1 + a2 + a3 + … + an + …
ถ้า
s1 = a1
s2 = a1 + a2
s3 = a1 + a2 + a3
:
:
sn = a1 + a2 + a3 + … + an
แล้ว s1 , s2 , s3 , … , sn แต่ละจำนวนเราเรียกว่า “ ผลบวกย่อย “ [ Partial Sum ] ของอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … และ เรียก s1 , s2 , s3 , … , sn ว่า “ ลำดับผลบวกย่อยของอนุกรม “
ถ้าลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมมีลิมิต [ lim Sn = L ] แสดงว่า อนุกรมนี้หาผลบวกได้
ซึ่งผลบวกของอนุกรมอนันต์จะเท่ากับ L และเรียกอนุกรมนี้ว่า “ อนุกรมคอนเวอร์เจนต์ “
ถ้าลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมหาลิมิตไม่ได้ แสดงว่า อนุกรมนี้หาผลบวกไม่ได้
เราเรียกอนุกรมแบบนี้ว่า “ อนุกรมไดเวอร์เจนต์ “
ข้อสังเกต ผลบวกอนันต์ของอนุกรม ก็คือ ลิมิตของลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมนั้นเอง
การหาผลบวกอนันต์ของอนุกรมเรขาคณิต
เรียก SnSn ว่า ผลบวกย่อย (partialsum)(partialsum) n พจน์แรกของอนุกรม เมื่อ nn เป็นจำนวนเต็มบวก
เรียกลำดับอนันต์ S1,S2,S3,⋯,Sn,⋯S1,S2,S3,⋯,Sn,⋯ ว่าลำดับของผลบวกย่อยของอนุกรม
ไปดูอีกนิยาม ครับ อ่านนิยามให้เข้าใจแล้วลองทำแบบฝึกหัดครับ
บทนิยาม
กำหนดอนุกรมอนันต์ a1 + a2 + a3 + … + an + …
ให้ S1 ,S2 ,⋯,Sn ,⋯S1 ,S2 ,⋯,Sn ,⋯ เป็นลำดับของผลบวกย่อยของอนุกรมนี้ ถ้าลำดับ SnSn เป็นลำดับลู่เข้า โดย limn→∞ Sn =S lim n→∞Sn =S เมื่อ SS เป็นจำนวนจริงแล้วจะกล่าวว่าอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … เป็นอนุกรมลู่เข้า (covergent series) และเรียก SS ว่าผลบวกของอนุกรม
ถ้าลำดับ Sn เป็นลำดับลู่ออก จะกล่าวว่าอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … เป็นอนุกรมลู่ออก (divergent series)
สรุปนะคับ จากนิยาม การหาผลบวกของอนุกรมอนันต์สามาทำได้ 2 ขั้นตอนคือ
1. หาสูตรทั่วไปของผลบวกย่อย n พจน์แรก หรือก็คือ หาสูตรทั่วไปของ Sn นั่นเองครับ
2 นำค่า Sn จากข้อ 1. มาหาค่าลิมิต ลิมิตที่ได้นั้นจะเป็นคำตอบของอนุกรมอนันต์ และอนุกรมอนันต์เป็นอนุกรมลู่เข้า
ลําดับเลขคณิต
- ลำดับเลขคณิต : ขวา-ซ้าย คงที่
- พจน์ทั่วไป คือ a1 + (n-1)d
- am = an + (m-n)d
เทคนิคการทำโจทย์ เมื่อโจทย์ให้ผลบวกของลำดับเลขคณิตโดย
จำนวนพจน์เป็นเลขคี่
a1 + a2 + a3 + a4 + a5
a1 = x – 2d
a2 = x – d
a3 = x
a4 = x + d
a5 = X + 2d
จำนวนพจน์เป็นเลขคู่
a1 + a2 + a3 + a4
a1 = x – 3d
a2 = x – d
a3 = x+d
a4 = x + 3d
บทนิยาม อนุกรมเลขคณิต
อนุกรมที่ได้จากลำดับเลขคณิต เรียกว่า อนุกรมเลขคณิต และผลต่างร่วมของลำดับเลขคณิต เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิตด้วย
เมื่อ a1 , a1 + d, a1 + 2d, …, a1 + (n – 1)d เป็นลำดับเลขคณิต
จะได้ a1 + (a1 + d) + (a1 + 2d) + … + (a1 + (n – 1)d) เป็นอนุกรมเลขคณิต
ซึ่งมี a1 เป็นพจน์แรกของอนุกรม และ d เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิต
จากบทนิยาม จะได้ว่า ถ้า a1 ,a2 ,a3 , …,an เป็น ลำดับเลขคณิต ที่มี n พจน์
จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป
a1 + a2 + a3+ … + anว่า อนุกรมเลขคณิต
และผลต่างร่วม ( d ) ของลำดับเลขคณิต เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิตด้วย
ตัวอย่างของอนุกรมเลขคณิต
3. 1 + 3 + 5 + 7 + … + 99 เป็น อนุกรมเลขคณิต
เพราะว่า 1, 3, 5, …, 99 เป็น ลำดับเลขคณิต และมีผลต่างร่วมเท่ากับ 2
4. 25 + 20 + 15 + 10 + … เป็น อนุกรมเลขคณิต
เพราะว่า 25, 20, 15, 10, … เป็น ลำดับเลขคณิต และมีผลต่างร่วมเท่ากับ – 5
5. 7 + 14 + 21 + 28 + … เป็น อนุกรมเลขคณิต
เพราะว่า 7, 14, 21, 28, … เป็น ลำดับเลขคณิต และมีผลต่างร่วมเท่ากับ 7