พหุนาม เรื่อง การบวกและการลบเอกนาม
เอกนาม
เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก
ค่าคงตัว คือ ตัวเลข
ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y
เอกนาม ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1) ส่วนที่เป็นค่าคงตัว เรียกว่า สัมประสิทธิ์ของเอกนาม
2) ส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร โดยมีเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก เรียกผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวแปรทั้งหมดในเอกนามว่า ดีกรีของเอกนาม
ผลบวกของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลบวกของสัมประสิทธิ์) x (ส่วนที่อยู่ในรูปของตัวแปรหรือการคูณกันของตัวแปร)
จงบอกสัมประสิทธิ์และดีกรีของเอกนามต่อนี้
- 15x4 สัมประสิทธิ์คือ 15 ดีกรีของเอกนามคือ 4
- – 5 สัมประสิทธิ์คือ -5 ดีกรีของเอกนามคือ 0
- x3y2 สัมประสิทธิ์คือ 1 ดีกรีของเอกนามคือ 5
- – 6x3y4z สัมประสิทธิ์คือ -6 ดีกรีของเอกนามคือ 8
จากตังอย่างที่ 1 น้องๆจะเห็นว่าสัมประสิทธ์ของเอกนามจะเป็นตัวเลขที่อยู่หน้าตัวแปรนั่นเองค่ะ ถ้าโจทย์ไม่เขียนตัวแปร แสดงว่า เลขชี้กำลังของตัวแปรเป็น 0 ทำให้ดีกรีของเอกนามคือ 0 เช่น -5 เขียนได้อีกแบบคือ – 5x0
ตัวอย่างที่ 2 จงพิจารณานิพจน์ต่อไปนี้ว่าเป็นเอกนามหรือไม่ เพราะเหตุใด
- – 8x-2 ไม่เป็นเอกนาม เพราะตัวแปร x มีเลขชี้กำลังเป็น -2 ซึ่งไม่ใช่ศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก
- ไม่เป็นเอกนาม เพราะเมื่อเขียน ในรูปการคูณจะได้ 5a2b-1 ทำให้ b มีเลขชี้กำลังเป็น -1 ซึ่งไม่ใช่ศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก
- 4x + 9 ไม่เป็นเอกนาม เพราะไม่สามารถเขียนนิพจน์นี้ให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรได้
เอกนามที่จะนำมาบวกหรือลบกันได้นั้นจะต้องเป็นเอกนามที่คล้ายกัน ฉะนั้นก่อนที่จะทำการบวกหรือลบเอกนามต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็นเอกนามที่คล้ายกันหรือไม่
ตัวอย่างที่ 3 จงบอกว่าเอกนามที่กำหนดให้แต่ละคู่คล้ายกันหรือไม่
- x2y3 กับ – 5x2y3
- 3x2 กับ x2
- 6 กับ 12p
- xy กับ x2y
- 4abc0 กับ 9ab
- 6x3 กับ 6x
คล้ายกัน ไม่คล้ายกัน
3x2 กับ x2 6x3 กับ 6x
x2y3 กับ – 5x2y3 xy กับ x2y
4abc0 กับ 9ab 6 กับ 12p
ตัวอย่างที่ 4 จงหาผลบวกของเอกนามต่อไปนี้
- 2x + x วิธีทำ 2x + 1x = (2 + 1)(x) =3x
ตอบ 3x
- – 3mx+ 2mx – 6
วิธีทำ – 3mx+ 2mx = (- 3 + 2)(mx)= – mx
ตอบ – mx