อนุกรมเรขาคณิต
บทนิยาม
กำหนด a1, a1r, a1r2, …, a1r n-1 เป็นลำดับเรขาคณิต
จะได้ a1 + a1r + a1r2 + … + a1r n-1 เป็นอนุกรมเรขาคณิต
ซึ่งมี a1 เป็นพจน์แรก และ r เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต
ตัวอย่างของอนุกรมเรขาคณิต
1. 2 + 4 + 8 + 16 + … เป็น อนุกรมเรขาคณิต
เพราะ 2, 4, 8, 16, … เป็น ลำดับเรขาคณิต
และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ 2
2. 81 + 27 + 9 + 3 + … เป็น อนุกรมเรขาคณิต
เพราะ 81, 27, 9, 3, … เป็น ลำดับเรขาคณิต
และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ
3. 3 + 3 + 3 + 3 + … เป็น อนุกรมเรขาคณิต
เพราะ 3, 3, 3, 3, … เป็น ลำดับเรขาคณิต
และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ 1
การหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
ให้ Sn แทนผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
ซึ่งมี a1 เป็นพจน์แรก และ r เป็นอัตราส่วนร่วม
Sn = a1 + a1r + a1r2 + … + a1r n-2+ a1r n-1 — (1)
สมการ (1) คูณ r จะได้
rSn = a1r + a1r2+ a1r3 + … + a1r n-2+ a1r n-1 + a1r n — (2)
สมการ (1) – (2) จะได้
Sn – rSn = a1-a1rn
(1 – r)Sn = a1(1-rn)
สรุป ผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
เมื่อ Sn แทนผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต a1 แทนพจน์ที่ 1
an แทนพจน์ที่ n
r แทนอัตราส่วนร่วม พจน์ที่ n+1 หารด้วยพจน์ที่ n