Pronoun (คำสรรพนาม) คือคำที่มีไว้สำหรับ(พูด,เขียน)แทนชื่อของคน,สัตว์,สิ่งของ,และสถานที่เพื่อป้องกันมิให้กล่าวชื่อนั้นซ้ำๆซากๆ ซึ่งเป็นการฟังไม่ไพเราะ
Pronoun มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกันคือ
- Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม
- Possessive Pronoun สามีสรรพนาม
- Definite Pronoun นิยมสรรพนาม
- Indefinite Pronoun อนิยมสรรพนาม
- Interrogative Pronoun ปฤจฉาสรรพนาม
- Relative Pronoun ประพันธ์สรรพนาม
- Reflexive Pronoun สรรพนามสะท้อนหรือเน้น
- Distributive Pronoun วิภาคสรรพนาม
- 1. Personal Pronounบุรุษสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของผู้พูด, ผู้ฟัง, และผู้ที่ถูกกล่าวถึง ซึ่งมีอยู่ 2 พจน์ 3 บุรุษ คือ
|
เอกพจน์ |
พหูพจน์ |
บุรุษที่ 1 |
I |
we |
บุรุษที่ 2 |
you |
you |
บุรุษที่ 3 |
he, she, it |
the |
Personal Pronoun แบ่งได้ 5 รูป คือ
รูปที่ 1 |
รูปที่ 2 |
รูปที่ 3 |
รูปที่ 4 |
รูปที่ 5 |
I |
Me |
My |
mine |
myself |
We |
us |
Our |
ours |
ourselves |
You |
you |
Your |
yours |
yourself |
He |
him |
his |
his |
himself |
she |
her |
Her |
hers |
herself |
It |
It |
its |
its |
itself |
they |
them |
there |
theirs |
themselves |
- Possessive Pronoun สามีสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือบุรุษสรรพนามรูปที่ 4 นั่นเอง เวลาใช้ไม่ต้องมีนามตามหลัง มีหน้าที่ 3 อย่างคือ
2.1 เป็นประธานของกิริยาในประโยค เช่น Your book is green, mine is red.
2.2 เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา เช่น this pencil is mine, that one is your.
2.3 ใช้เรียงตามหลังบุรพบท(คำเชื่อมคำ) เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนขึ้นได้เช่น A friend of yours was killed last night.
- 3. Definite Pronounนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ชี้เฉพาะและใช้แทนนามได้ ที่นิยมใช้แพร่หลายมีอยู่ 6 ตัวคือ (รวมทั้ง which ด้วย)
this, that, one 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์.
These, those, ones 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์.
*นิยมสรรพนามนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกิริยาในประโยคได้ตามแต่ จะ ใช้งาน.
- 4. Indefinite pronounอนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้นคนนี้โดยตรง (ตรงข้ามกับ Definite Pronoun) ได้แก่คำว่า some, any, all, someone, somebody, anybody, few, everyone, many, nobody, everybody, other……etc.
*ข้อสังเกต ทั้งนิยมสรรพนามและอนิยมสรรพนาม ถ้าใช้โดยมีคำนามอื่นตามหลังจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ไป แต่ถ้าใช้โดยไม่มีคำนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นนิยมสรรพนามหรืออนิยมสรรพนาม.
- 5. Interrogative pronounปฤจฉาสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม และต้องไม่มีนามตามหลังด้วยจึงจะเรียกว่าเป็นปฤจฉาสรรพนาม ได้แก่ Who , whom, whose , what, which ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.
- Who (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกิริยาในประโยคได้ บางครั้งก็เป็นกรรมได้ เช่น. Who is standing there ? ใครกำลังยืนอยู่ที่นั่น?.
- Whom (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นกรรมของกิริยาหรือบุรพบท (บางครั้งใช้ Who แทน).เช่น Whom do you love ? คุณรักใคร ?.
- Whose (ของใคร) ใช้ถามถึงเจ้าของ และต้องเป็นบุคคลเท่านั้น เช่น. Whose is the car ? รถคันนี้เป็นของใคร
- What (อะไร) ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น:-
– ถ้าเป็นประธานต้องไม่ใช้กริยาอะไรมาช่วยทั้งสิ้น เช่น What delayed you ?
อะไรทำให้คุณล่าช้า.
– ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย และวางไว้หลัง What เช่น What
do you want ?
- Which (สิ่งไหน อันไหน) ใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น ถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วย Which is the best? อันไหนดีที่สุด ?.(อนึ่งปฤจฉาสรรพนาม Whose ,which, what นี้ ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็เป็นคุณศัพท์ไป ถ้าไม่มีนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม)
- 6. Relative Pronounประพันธ์สรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคหลังได้ด้วย ได้แก่ Who, Whom, Whose, Which, Where, what, when, why, that .
- Who (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น The man who came here last week is my cousin. ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.
- Whom (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The boy whom you saw yesterday is my brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.
- Whose(ผู้ซึ่ง…..ของเขา) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอ เช่น The girl whose father is a teacher goes to school every day. เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไปโรงเรียนทุกวัน.(เป็นคำแสดง ความ เป็นเจ้าของ Father).
- Which (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม The animal which has wing is a bird. สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค has wings) The kitten which I gave to my aunt is very naughty. ลูกแมวซึ่งฉันให้แก่คุณป้าของฉันไปนั้นซุกซนมาก.(เป็นกรรมของกริยา gave ในอนุประโยค I gave to my aunt).
- Where (อันเป็นที่) ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น The night club is the place where is not suitable for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is not suitable for children ) The hotel is the place where I like best . โรงแรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุด.(เป็นกรรมของ like).
- What (อะไร,สิ่งที่) ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I know what is in the box. ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องใบนี้.
- When (เมื่อ,ที่) ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วัน, เดือน,ปี เช่น Sunday is the day when we don’t work. วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน.
- Why (ทำไม) ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This is the reason why I go to Hong Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง.
- That (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันได้แก่ :-
- เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น He is the tallest man that I have ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.
- เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น China is the first country that I am going to visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.
- เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money that she give me. หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม.
- เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือsomeone, somebody, something, anyone, anything, anybody, anyone, everything, no one, nothing, etc. เช่น There is nothing that I can do for you. ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้.
- 7. Reflexive Pronounสรรพนามสะท้อนหรือเน้น ได้แก่บุรุษสรรพนามที่ 5 นั่นเอง อันได้แก่ myself, yourself, ……. Themselves. เวลาใช้มีวิธีใช้ 4 อย่างคือ :-
- เรียงไว้หลังประธาน เมื่อต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นด้วยตนเอง เช่น I myself study English. ผมเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง.
- เรียงไว้หลังกริยา เมื่อบอกว่าผลการกระทำนั้นเกิดจากผู้กระทำเองเช่น I will punish myself if I do mistakes ผมจะลงโทษตัวเอง หากผมทำผิด.
- เรียงไว้หลังกรรม เมื่อต้องการเน้นกรรมนั้นเช่น I spoke to the President himself . ผมได้พูดกับตัวท่านประธานาธิบดีเอง.
- เรียงไว้หลังบุรพบท by วางไว้สุดประโยคทุกครั้งไป เมื่อต้องการแสดงว่าประธานผู้นั้นกระทำกิจนั้นโดยลำพังคนเดียว เช่น Pranee makes her dress by herself.
- 8. Distributive Pronounวิภาคสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการแบ่งหรือจำแนกออกเป็นครึ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง, หรือตัวหนึ่ง วิภาคสรรพนามที่นิยมใช้กันมากคือ
each แต่ละ, either คนใดคนหนึ่ง, neither ไม่ใช่ทั้งสอง หรือไม่ใช่ทั้งสอง เช่น
There are ten boy each has one hundred bath. มีเด็กอยู่ 10 คน แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ 100 บาท.
* ข้อสังเกต วิภาคสรรพนามถ้าใช้ลอยๆเป็นสรรพนาม แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังจะเป็นคุณศัพท์
Article
Article คือ คำที่ใช้นำหน้านาม คือคำนามในภาษาอังกฤษทุกตัว เวลาพูด-เขียนจะต้องมี Article นำหน้าทั้งสิ้น(ยกเว้นบางตัวที่จะกล่าวต่อไป)
Article มีอยู่ 2 ชนิดคือ
- Indefinite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายทั่วไป อันได้แก่ A , An.
- Definite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายชี้เฉพาะ ได้แก่ The .
หลักทั่วไปของการใช้ A
คือเมื่อ A นำหน้านามใดนามนั้นต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ อันได้แก่
- เป็นนามเอกพจน์
- เป็นนามนับได้
- เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ
- เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป เช่นa book, a man, a bus, a pen
* ข้อยกเว้น ห้ามใช้ A นำหน้า คือนามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แต่อ่านออกเสียงสระที่อยู่ถัดไป นามตัวนั้นให้ใช้ AN นำหน้าแทน (มี H เท่านั้น)
หลักทั่วไปของการใช้ AN
คือเมื่อ AN นำหน้านามใด นามนั้นจะต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ คือ
- เป็นนามเอกพจน์
- เป็นนามนับได้
- เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ A , E , I , O , U.
- เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป
* ข้อยกเว้น ห้ามใช้ AN นำหน้าคือ นามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยสระ แต่อ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะ”ย” นามตัวนั้นให้ใช้ A นำหน้าแทน (มี U และ E เท่านั้น).
นามต่อไปนี้ห้ามใช้ทั้ง A และ AN นำหน้าเด็ดขาด
- นามที่นับไม่ได้ทุกชนิด
- นามพหูพจน์ทุกชนิด
หลักทั่วไปของการใช้ THE
คำว่า The แปลว่า นั้น,นี้ คือเป็นการชี้เฉพาะถึงสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่ง The ใช้นำหน้านามได้ทุกชนิด ทุกประเภท นั่นคือ
- เป็นนามเอกพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้
- เป็นนามพหูพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้
- เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็ใช้ The นำหน้าได้
- เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ ก็ใช้ The นำหน้าได้ (แต่ให้อ่านว่า ดิ )
- เป็นนามที่นับได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้
- เป็นนามที่นับไม่ได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้
- แต่นามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะต้องมีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่น.
The water in the bottle is very poor. น้ำที่อยู่ในขวดนี้เย็นมาก.
นามต่อไปนี้ห้ามใช้ the นำหน้า
- นามที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ
- นามที่ระบุไว้ในหัวข้อว่าห้ามใช้ the นำหน้า (ซึ่งมีข้อห้ามมากมายแต่จะไม่กล่าวถึง เช่น อาการนาม,ชื่อเฉพาะของคน,ชื่อถนน ,ชื่อวัน, เดือน, ปี, ลัทธิ,ศาสนา เป็นต้นซึ่ง ห้ามใช้ ทั้ง a, an,และthe นำหน้า)
* อนึ่งแม้ลักษณะของประโยคจะไม่มีคำบ่งชี้เฉพาะเอาไว้ แต่ถ้านามนั้นเป็นที่รู้จักกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ก็ให้ใช้ the นำหน้าได้ เช่น
When you go out, don’t forget to close a door. เมื่อคุณออกไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานไหนก็ได้)นะ.
When you go out, don’t forget to close the door. เมื่อคุณไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานนั้น)นะ.
การใช้ a, an, the แบบระคน
– ถ้านามนั้นไม่มีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมาขยายอยู่ข้างหลังให้ใช้ a, an ทันที เช่น
A boy like to see monkey. เด็กชอบดูลิง.
– ถ้านามนั้นมีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมา ขยายอยู่ข้างหลัง ให้ใช้ the ทันที เช่น
The man in this room is our teacher. ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้เป็นครูของเรา.
* มีหลักพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ นามใดก็ตามที่เป็นเอกพจน์นับได้ ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เติม a , an ทันที แต่ถ้านามนั้นถูกยกขึ้นมากล่าวอีกเป็นครั้งที่ 2 ให้เติม the ทันทีเช่น
A black cat, the cat is fat. แมวตัวหนึ่งสีดำ แมวตัวนั้นอ้วน
* อนึ่งยังมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับคำนามบางตัวว่านามตัวใดใช้เฉพาะ a, an และนามตัวใดใช้เฉพาะ the ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง