เซต คืออะไร
เซต คือ กลุ่มของสมาชิก (element) ของสิ่งที่สนใจ เช่น เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ หมายถึง กลุ่มของวันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งคำว่าเซตนั้นมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้องสามารถระบุได้ว่า อะไรอยู่ในเซต อะไรไม่อยู่ในเซต โดยเราสามารถเขียนเซตได้
แผนภาพของเวนน์–ออยเลอร์ และการดำเนินการของเซต
แผนภาพของเวนน์–ออยเลอร์ (Venn-Euler Diagram)
เป็นแผนภาพที่นิยมใช้เขียนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเซต เพื่อให้ดูง่ายและชัดเจนมากขึ้น ปกติจะกำหนดเอกภพสัมพัทธ์ด้วยกรอบสี่เหลี่ยมมุมฉาก ภายในนั้นมีเซตซึ่งอาจเขียนเป็นวงกลม วงรี หรือรูปปิดอื่นๆ
สมมติเรามีเซตต่างๆ ดังภาพต่อไปนี้
การพิจารณาเกี่ยวกับเซตจะง่ายขึ้น ถ้าเราใช้แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ เข้ามาช่วย หลักการเขียนแผนภาพมีดังนี้
1. ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนเอกภพสัมพัทธ์
2. ใช้วงกลมหรือวงรีหรือรูปปิดใด ๆ แทนเซตต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของ และเขียนภายในสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ถ้ากำหนดให้ U = {1,2,3,4,5,6,7,8,9,10} A = {1,2,3} , B = {1,2,3,4,5} , C = {3,5,6,7}
เราจะเขียนแผนภาพเวนน์–ออยเลอร์ แสดงเอกภพสัมพัทธ์ U และเซตย่อยต่าง ๆ ดังแผนภาพต่อไปนี้
การใช้แผนภาพเวนน์–ออยเลอร์ ในการตรวจสอบความสมเหตุสมผล
เราจะวาดแผนภาพตามสมมติฐานที่เป็นไปได้ แล้วพิจารณาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่สรุปไว้หรือไม่ ถ้าทุกกรณีแสดงผลตามที่กหนด แสดงว่าสมเหตุสมผล ถ้ามีแผนภาพที่ไม่แสดงผลตามที่สรุปไว้ การสรุปนั้นไม่สมเหตุสมผล โดยจะใช้การอ้างเหตุผลโดยตรรกบทของตรรกศาสตร์เข้ามาตรวจสอบ
ในการใช้แผนภาพเพื่อตรวจสอบความสมเหตุสมผล จะต้องวาดแผนภาพตามเหตุผลหรือสมมติฐานทุกกรณีที่เป็นไปได้ ถ้าทุกกรณีแสดงผลตามที่กำหนด จะได้ว่าข้อสรุปนั้น สมเหตุสมผล แต่ถ้ามีบางกรณีที่ไม่สอดคล้องกับผลสรุปแล้ว ผลสรุปนั้นจะไม่สมเหตุผมผล …
ภาพจาก Mayitutoryou
มาดูแผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ เป็นแผนภาพที่ใช้แสดงความเกี่ยวข้องของเซต เพื่อช่วยในการคิดคำนวณหรือแก้ปัญหา ซึ่งตัวชื่อแผนภาพตามชื่อของนักคณิตศาสตร์คือ เวนน์และออยเลอร์ การเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ มีวิธีการเขียนดังนี้
ให้ เอกภพสัมพทธ์ U แทนด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปปิดใด ๆ
เซต A, B, C, . . . ซึ่งเป็นสับเซตของ U แทนด้วยวงกลม วงรี หรือรูปปิดอื่น ๆ โดยให้เซต A, B, C, . . . อยู่ใน U ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 กำหนด U = {1, 2, 3, . . .} , A = {1, 2, 3, 4, 5} และ B = {2, 4, 6, 8}
จงเขียนแผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์แทนเซต
วิธีทำ เซต A และเซต B มีสมาชิกร่วมกันคือ 2 และ 4 ซึ่งสามารถเขียนแผนภาพ
แทนเซต A และ B ได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 กำหนด U = {a, b, c, . . . , z} , A = {a, b, c, d} , B = {e, f, g}
และ C = {h, i, j, k} จงเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
วิธีทำ เขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ แทน A, B และ C ได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 3 กำหนด U = {x | x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่า 20}
A = {x | x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่า 10}
B = {x | x เป็นจำนวนคี่บวกที่น้อยกว่า 7}
จงเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
วิธีทำ U = {x | x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่า 20}
\ U = {1, 2, 3, . . . , 19}
A = {x | x เป็นจำนวนนับที่น้อยกว่า 10}
\ A = {1, 2, 3, . . . , 9}
B = {x | x เป็นจำนวนคี่บวกที่น้อยกว่า 7}
\ B = {1, 3, 5}
เขียนแผนภาพแทน A และ B ได้ดังนี้
ชนิดของเซท
- เซตว่าง (Empty Set หรือ Null Set) หมายถึง เซทที่ไม่มีสมาชิกหรืออาจะกล่าวได้ว่าเซตว่างมีสมาชิก 0 สมาชิก โยสัญลักษณ์ที่ใช้ คือ { }
- เซตจำกัด (Finite Set) หมายถึง เซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ครบถ้วน สามารถบอกได้ว่ามีจำนวนสมาชิกเท่าใด เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์
- เซตอนันต์ (Infinite Set) หมายถึง เซตที่มีจำนวนสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน ไม่สามารถบอกได้ว่ามีจำนวนเท่าใด
- เซตเท่ากัน (Equal Set) หมายถึง เมื่อ A และ B เป็นเซตใดๆ A จะเรียกว่าเท่ากับ B ก็ต่อเมื่อเซตทั้งสองมีจำนวนสมาชิกเท่ากันและเหมือนกันทุกสมาชิก ซึ่งจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A – B หรืออาจกล่าวได้ว่าเซตสองเซตใดๆ จะเท่ากันก็ต่อเมื่อสมาชิกของ A ทุกสมาชิกเป็นสมาชิกของ B และสมาชิกทุกสมาชิกของ B เป็นสมาชิกของ A นั่นคือ A = B ก็ต่อเมื่อ ถ้า x ϵ A แล้ว X ϵ B และ ถ้า X ϵ B แล้ว X ϵ A
- เซตเสมอเหมือนกัน (Equivalent Set) คือ เซต 2 เซตใดๆ ที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากันแต่ไม่เหมือนกันทุกตัว เรียกว่า เซตเสมอ ฃเหมือน A เสมอเหมือน B จะเขียนแทนด้วย A ≡ B นั่นคือเซต 2 เซตที่เท่ากันเสมอเหมือนกัน แต่เซต 2 เซตที่เสมอเหมือนกันอาจจะเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้
- สับเซต (Sub Set) กำหนด A และ B เป็นเซตใดๆ A จะเรียกเป็นสับเซตของ B ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A C Bก็ต่อเมื่อ X ϵ A แล้ว X ϵ B
- พาวเวอร์เซท (Power Set) คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A เมื่อ A เป็นเซตจำกัด เพาเวอร์เซตของเซต A เขียนแทนด้วย P(A)
การนับจำนวนสมาชิกในเซต
- จำนวนสมาชิกของเซต A เขียนแทนด้วย n(A)
- ถ้าสมาชิกในเซตซ้ำกันให้เขียนเพียงครั้งเดียว
ชนิดของเซต
- เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถบอกได้ว่ามีสมาชิกทั้งหมดกี่ตัว
- เซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีสมาชิกทั้งหมดกี่ตัว
- เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกในเซตเลย หรือเขียนแทนด้วย ∅
เอกภพสัมพัทธ์ (U) คือ เซตที่กำหนดขอบเขตสิ่งที่เรากำลังพิจารณา
ความสัมพันธ์ระหว่างเซต
- เซตที่เท่ากัน คือ เซตที่สมาชิกทุกตัวเหมือนกัน ถ้าเซต A เท่ากับเซต B จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A = B
- เซตที่เทียบเท่ากัน คือ เซตที่จำนวนสมาชิกเท่ากัน
สมบัติของสับเซต
- ถ้า A⊂B และ A ≠ B จะเรียก A ว่าเป็นสับเซตแท้ของ B
- ถ้า A เป็นเซตจำกัด จะมีสมาชิก n ตัว แล้ว A มีสับเซตทั้งหมด 2n สับเซต
- ถ้า A เป็นเซตจำกัด จะมีสมาชิก n ตัว แล้ว A มีสับเซตแท้ทั้งหมด 2n -1 สับเซต
- Φ ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตทุกเซต)
- A ⊂ A (ตัวเองก็เป็นสับเซตของตัวเอง)
- ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C
- A ⊂ B และ B ⊂ A ก็ต่อเมื่อ A = B
หมายเหตุ : Φ ( เซตว่าง ) ไม่มีสับเซต
ซับเซตและเพาเวอร์เซต ( subset & power set)
การหาสับเซตทั้งหมดของA
จำนวนสับเซตทั้งหมดหาได้จาก 2n เมื่อ n = จำนวนสมาชิกในเซต
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A เมื่อ A = {2, 4, 6, 8}
A จะมีสับเซตทั้งหมด 24 =16 สับเซต เมื่อแจกแจงสับเซตทั้งหมดจะได้ดังนี้
Ø
{2} {4} {6} {8}
{2, 4} {2, 6} {2, 8} {4, 6} {4, 8} {6, 8}
{2, 4, 6} {2, 6, 8} {2, 4, 8} {4, 6, 8}
{2, 4, 6, 8}
ความหมายของสับเซตแท้
สับเซตแท้ คือ สับเซตทั้งหมดที่ไม่ใช่ตัวมันเอง มี 2n – 1 สับเซต (เซตว่างไม่มีสับเซตแท้)
นิยาม A เป็นสับเซตแท้ของ B ก็ต่อเมื่อ A⊂B และ A ≠ B
ซึ่งจะได้รูปดังภาพ
การหาจำนวนสับเซตทั้งหมดของ A
หลักในการเขียนสับเซตทั้งหมดของเซตๆหนึ่งที่โจทย์กำหนดมาทำโดย เริ่มเขียนตั้งแต่เซตว่าง แล้วตามด้วยเซตที่มีสมาชิก 1 ตัว, 2 ตัว ไปเรื่อยๆ จนมีสมาชิกเท่ากับเซตที่โจทย์กำหนดมา (ตัวมันเอง) โดยสมาชิกที่นำมาใช้เขียนต้องเป็นสมาชิกของเซตที่โจทย์กำหนดมาด้วย
ตัวอย่าง จงเขียนสับเซตทั้งหมดของเซตต่อไปนี้
1. A = Ø สับเซตทั้งหมดของ A มี 1 สับเซต คือ Ø
2. B = {1} สับเซตทั้งหมดของ B มี 2 สับเซต คือ 1) Ø 2) {1}
3. C = {1,3} สับเซตทั้งหมดของ C มี 4สับเซต คือ 1) Ø 2) {1} 3) {3} 4) {1,3}
4. D = {1,3,5} สับเซตทั้งหมดของ D มี 4 สับเซต คือ1) Ø 2) {1} 3) {3} 4) {5} 5) {1,3} 6)
{1,5} 7) {3,5} 8) { 1,3,5}
เซต | จำนวนสมาชิกของเซต | จำนวนสับเซตทั้งหมด |
1. A = Ø
2. B = { 1 } 3. C = { 1 , 3 } 4. D = { 1 , 3 , 5 } |
0
1 2 3 |
20 = 1
21 = 2 22 = 4 23 = 8 |
จากตาราง พิจารณาความสัมพันธ์ของสมาชิกของเซตกับจำนวนสับเซตทั้งหมดจะได้ว่า
จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A = 2n(A)
จำนวนสับเซตแท้ทั้งหมดของ A และตัวอย่าง
นิยาม : สับเซตแท้ (proper set) ของ A คือ สับเซตทั้งหมดของเซต A ยกเว้น ตัวมันเอง (ยกเว้น A)
1.มีเซตอะไรไหมที่ไม่มีสับเซตแท้
ตอบ มี เซตดังกล่าวคือเซตว่าง เพราะว่าสับเซตของ Ø ก็คือ Ø เพียงตัวเดียว ดังนั้น เซตว่างจึงไม่มีสับเซต
แท้
2. จำนวนสับเซตแท้ของเซต A = 2n(A) -1 สับเซต
โจทย์ประยุกต์ เรื่อง สับเซต
ข้อ1. ถ้า A={a, b,c,d,e,f} และ B={a,b} แล้วจำนวนเซต X ซึ่ง B⊂X⊂A เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
1.4 2.15 3.16 4.32
เฉลย.
B⊂Xแปลว่า a, b ต้องอยู่ใน X ซึ่ง X⊂Aแปลว่า c, d, e, f อยู่ใน X กี่ตัวก็ได้
∴จำนวนแบบที่เป็นไปได้ของ X ก็คือจำนวนสับเซตทุกแบบของ {c, d, e, f}
นั่นคือ 2^4=16 แบบ
ข้อ2. ถ้า A={5, 6, 7, …,20} และ B={1, 2, 3,…,15} แล้ว จำนวนสมาชิกในเซต {X | X เป็นสับเซตของ A และ X ไม่เป็นสับเซตของ B}
1. (7×2)^10 2. (31×2)^11
3. (31×2)^10 4. (63×2)^11
เฉลย.
คิดโดยวิธีลบออก คือ จำนวนสับเซตของ A ทุกแบบ ลบออกด้วยแบบที่เป็นสับเซตของ B ด้วย
จะได้เท่ากับ 2^16-2^11=31×2^11
ข้อ3. กำหนดให้ S={1, 2, 3, 4, 5} , A={1} , B={5} และ A⊂X⊂S , B⊂Y⊂S จงหาว่า X∪Y มีทั้งหมดกี่เซตที่แตกต่างกัน
1.8 2.16 3.32 4.64
เฉลย.
แบบต่างๆของ X คือ
{1, สับเซตทุกแบบของ 2,3, 4,5}
มีอยู่ 2^4=16 แบบ
แบบต่างๆของ Y คือ
{5, สับเซตทุกแบบของ 1, 2, 3, 4}
มีอยู่ 2^4=16 แบบ
แต่แบบต่างๆของ X∪Y จะต้องมีทั้ง 1 และ 5 อยู่ในนั้น คือ {1, 5, สับเซตทุกเเบบของ 2, 3, 4}
ดังนั้นจึงมีอยู่ 2^13= 8 แบบ
เรื่องพาวเวอร์เซต และตัวอย่าง
หมายถึง เซตของสับเซต จะเขียนแทนเพาเวอร์เซตของเซต A ด้วย P(A)
วิธีหาเพาเวอร์เซต จะต้องหาสับเซตทั้งหมดให้ได้ก่อน จากนั้นจึงใส่เซตครอบลงไป
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A = {2, 4, 6, 8}
ขั้นแรก : หาสับเซตก่อน ได้แก่
Ø , {2} , {4} , {6} , {8} , {2, 4} , {2, 6} , {2, 8} , {4, 6} , {4, 8} , {6, 8} , {2, 4, 6} , {2, 6, 8} , {2, 4, 8} , {4, 6, 8} , {2, 4, 6, 8}
ดังนั้น P(A) = {Ø, {2},{4},{6},{8},{2, 4},{2, 6},{2, 8},{4, 6},{4, 8},{6, 8}, {2, 4, 6}, {2, 6, 8},{2, 4, 8},{4, 6, 8},{2, 4, 6, 8}
กำหนดให้ A เป็นเซตจำกัด ถ้าเซต A มีจำนวนสมาชิก ตัวแล้วจำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซต A จะเท่ากับ 2nตัว
ตัวอย่าง
1. ถ้า P(P(A)) มีสมาชิก 256 ตัว แล้วเซต A จะมีสมาชิกกี่ตัว
วิธีทำ
P(P(A)) = 256 = 2^8
P(A) = 8= 2^3
n(A) = 3
2. ถ้า n(P(A)) – n(P(B)) = 63 และn(P(A∩B)) + n(P(A∪B)) = n(P(C∩B)) + n(P(C∪B)) แล้ว จงหาค่าของ n(A) + n(B) + n(C)
วิธีทำ
2^(n(A)) – 2^(n(B)) = 2^6 – 2^0
∴n(A) = 6 , n(B) = 0จะได้ว่า B =∅
แทนค่าได้
n(P(A∩∅)) + n(P(A∪∅)) = n(P(C∩∅)) + n(P(C∪∅))
n(P(∅)) + n(P(A)) = n(P(∅)) + n(P(C))
2^n(A) = 2^n(C)
∴n(A) = n(C) = 6
∴n(A) + n(B) + n(C) = 6+0+6 = 12