ฟังก์ชันคอมโพสิท (ฟังก์ชันประกอบ)
เป็นการกระทำกันระหว่างฟังก์ชันตั้งแต่ 2 ฟังก์ชันขึ้นไป
ให้ f และ g เป็นฟังก์ชัน สำหรับฟังก์ชันที่เป็นเซตแบบแจกแจงเช่น
f = {(1,3),(2,4),(3,5)}
g = {(5,1),(3,2),(4,3)}
เราสามารถสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ เรียกว่า gof (จีโอเอฟ) แต่ผมมักจะเรียกไปเลยว่า ก็อฟ
gof เป็นฟังก์ชันจาก f ไปยัง g
จะได้ gof = {(1,2),(2,4),(3,1)}
(gof)(1) = g(f(1)) = g(3) = 2
(gof)(2) = g(f(2)) = g(4) = 3
(gof)(3) = g(f(3)) = g(5) = 1
นิยาม ให้ f และ g เป็นฟังก์ชัน และ R f ∩ Dg ฟังก์ชันคอมโพสิทของ f และ g
เขียนแทนด้วย gof กำหนด (gof)(x) = g(f(x)) ซึ่ง f(x) ∈ Dg
ตัวอย่างที่ 1 กำหนด f = {(1,2),(3,4),(5,6),(7,8)}
g = {(2,a),(4,b),(7,c),(8,d)}
จงหา (gof)(1) , (gof)(3) , (gof)(7) พร้อมทั้งหา gof และ fog
วิธีทำ gof เป็นฟังก์ชัน จาก f ไป g
R f = {2,4,6,8} , Dg = {2,4,7,8}
R f ∩ Dg = {2,4,8} ≠ Ø แสดงว่าหา gof ได้
(gof)(1) = g(f(1)) = g(2) = a
(gof)(3) = g(f(3)) = g(4) = b
(gof)(7) = g(f(7)) = g(8) = d
ดังนั้นจะได้ gof = {(1,a),(3,b),(7,d)}
fog เป็นฟังก์ชันจาก g ไป f
Rg = {a,b,c,d} , Df = {1,3,5,7}
Rg ∩ Df = Ø
แสดงว่าหา fog ไม่ได้
ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ f(x) = 3x-5 , g(x) = 1/x-3
จงหา gof , fog , (gof)(3) , (fog)(2)
วิธีทำ 1.) หา gof
R f = R
Dg = R – {3}
R f ∩ Dg ≠ Ø แสดงว่าหา gof ได้
(gof)(x) = g(f(x))
= g(3x-5)
= 1/(3x-5)-3 = 1/3x-8
ดังนั้น gof = {(x,y) | y = 1/3x-8}
(gof)(3) = g(f(3)) = g(4) = 1
2.) หา fog
Rg ≠ 0
Df = R
Rg ∩ Df ≠ Ø แสดงว่าหา fog ได้
(fog)(x) = f(g(x)) = f(1/x-3)
= 3(1/x-3)-5 = (3/x-3)-5
(fog)(x) = 18-5x/x-3
fog = {(x,y) | y = 18-5x/x-3}
(fog)(2) = 18-5(2)/2-3 = 18-10/-1
= -8
ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปยังอีกเซตหนึ่ง
กำหนดให้ A และ B เป็นเซต
f จะเป็นฟังก์ชันจาก A ไป B (function from A to B) ก็ต่อเมื่อ
1) f เป็นฟังก์ชัน
2) Df = A
3) Rf ε B
สัญลักษณ์ f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B จะเขียนแทนด้วย f : A → B อ่านว่า f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B
ฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B
f จะเป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B (function from A onto B) ก็เต่อเมื่อ
1) f เป็นฟังก์ชัน
2) Df = A
3) Rf = B
สัญลักษณ์ f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B จะเขียนแทนด้วย f : A→B หรือ
f : A→B อ่านว่า f เป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B
ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไป B
ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไปทั่วถึง B
ฟังก์ชันเชิงเส้น (Linear Funtion)
ฟังก์ชันพหุนาม (Polynomial Function)
ฟังก์ชันขั้นบันได (Step Function)
ฟังก์ชันเอกซโพเนนเชียล (Exponential Function)
ฟังก์ชันลอการิทึม (Logarithm Function)
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometry Function)
ฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์ (Absolute Value Function)
คู่อันดับและผลคูณคาร์ทีเซียน
คู่อันดับ (Order Pair) เป็นการจับคู่สิ่งของโดยถือลำดับเป็นสำคัญ เช่น คู่อันดับ a, b จะเขียนแทนด้วย (a, b) เรียก a ว่าเป็นสมาชิกตัวหน้า และเรียก b ว่าเป็นสมาชิกตัวหลัง
(การเท่ากับของคู่อันดับ) (a, b) = (c, d) ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
ผลคูณคาร์ทีเชียน (Cartesian Product) ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B คือ เซตของคู่อันดับ (a, b) ทั้งหมด โดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B
สัญลักษณ์ ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B เขียนแทนด้วย A x B
หรือ เขียนในรูปเซตแบบบอกเงื่อนไขจะได้ว่า