บทสรุปฟิสิกส์กับการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
1.1การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
– ในสมัยโบราณ มนุษย์เชื่อว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติเกิดขึ้นจาก เทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ยังไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล
– ยุคต่อมาเริ่มมีการสังเกตุและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ศึกษา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาความรู้ของมนุษย์
– สรุปได้ว่า การพัฒนาความรู้ของมนุษย์ เกิดจากการสังเกตุ การบันทึกข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อสรุปเป็นความรู้และมองเห็นความสัมพันธ์ในเชิงคณิตศาสตร์ระหว่างสิ่งต่างๆและความสัมพันธ์ระหว่างเรื่อง
1.2 ฟิสิกส์
– ฟิสิกส์ เป็นวิชาที่ศึกษาหากฏเกณฑ์ต่างๆ สำหรับอธิบายปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน
– นักฟิสิกส์จะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แปลความหมายลงข้อสรุปเป็นหลักการและกฏเกณฑ์ต่างๆ
– ความรู้ในวิชาฟิสิกส์ ส่วนหนึ่งได้มาจากข้อมูลจากการสังเกตุและการวัดโดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
– ความรู้อีกส่วนหนึ่งได้มาจากแบบจำลองทางความคิด ซึ่งนำมาสู่การสร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
– ความรู้ทางฟิสิกส์เกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างๆ มากมาย รวมทั้งเป็นพื้นฐานให้เกิดเทคโนโลยี
– ความรู้ที่เป็นพื้นฐานฟิสิกส์ได้แก่ กลศาสตร์ ความร้อน แสง เสียง ไฟฟ้า แม่เหล็ก ฟิสิกส์อะตอม และ ฟิสิกส์นิวเคลียร์
1.3 ปริมาณกายภาพ และ หน่วย
– ปริมาณกายภาพ เป็น ปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือโดยอ้อม
– เป็นปริมาณที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง และ มีหน่วยกำกับจึงจะมีความหมายชัดเจน เช่น มวล หน่วยเป็น กิโลกรัม ความยาว หน่วยเป็น เมตร
– หน่วยมาตรฐานที่ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เรียกว่า “ระบบหน่วยระหว่างชาติ (The International System of Unit : SI Unit)
– หน่วยในระบบ เอสไอ ประกอบด้วย หน่วยฐาน และ หน่วยอนุพันธ์
-หน่วยฐาน มี 7 ปริมาณ ซึ่งมีหน่วยของปริมาณ และสัญญลักษณ์ของหน่วย ดังนี้
ปริมาณ | หน่วย | สัญญลักษณ์ |
ความยาว | เมตร | m |
มวล | กิโลกรัม | kg |
เวลา | วินาที | s |
กระแสไฟฟ้า | แอมแปร์ | A |
อุณหภูมิ | เคลวิน | K |
ความเข้มของการส่องสว่าง | แคนเดลา | cd |
ปริมาณของสาร | โมล | mol |
– หน่วยอนุพันธ์ เป็นหน่วยที่เกิดจากหน่วยฐานหลายหน่วย เช่นปริมาณ “แรง” มีหน่วยเป็น newton ใช้สัญญลักษณ์ N เกิดจากหน่วยฐาน ( Kg. m ) / s2
คำนำหน้าหน่วย
คำนำหน้าหน่วย เป็นคำที่เมื่อนำมาวางหน้าหน่วยแล้ว จะทำให้หน่วยใหญ่ขึ้น หรือ เล็กลง เช่น
K เมื่อนำมาวางหน่วย g —> จะทำให้หน่วย g เป็น Kg ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น 1000 เท่า ตามค่าของ K
m เมื่อนำมาวางหน่วย g —> จะทำให้หน่วย g เป็น mg ซึ่งมีขนาดเล็กลง 0.001 เท่าตามค่าของ m
คำนำหน้าหน่วย ที่สำคัญและใช้บ่อย มีดังนี้
คำอุปสรรค | สัญลักษณ์ | ตัวคูณ |
เทระ(tera) | T | 1012 |
จิกะ(giga) | G | 109 |
เมกะ(mega) | M | 106 |
กิโล(kilo) | k | 103 |
เฮกโต(hecto) | h | 102 |
เดคา(deca) | da | 101 |
เดซิ(deci) | d | 10-1 |
เซนติ(centi) | c | 10-2 |
มิลลิ(milli) | m | 10-3 |
ไมโคร(micro) | μ | 10-6 |
นาโน(nano) | n | 10-9 |
พิโค(pico) | p | 10-12 |
1.4 การทดลองในวิชาฟิสิกส์
การทดลองในวิชาฟิสิกส์ที่มีในบทเรียน เป็นการทดลองเพื่อตอบคำถาม หรือหาความจริงบางอย่าง ซึ่งวิธีทดลองได้ออกแบบตามเครื่องมือหรืออุปกรณ์ มีการนำเสนอข้อมูลจากการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลผล และลงข้อสรุป เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเรียนรู้ ตามจุดประสงค์ของการทดลองนั้นๆ
1.5 ความไม่แน่แน่นอนในการวัด
เพื่อให้ผลการวัด ได้ค่าที่เหมาะสมใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ผู้วัดจะต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด นอกจากนี้ประสบการณ์และความสามารถของผู้วัดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลการวัดมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดด้วย
ขอบคุณข้อมูล https://www.iclass-study.com/