ธรรมชาติของเสียง
เสียงและการได้ยิน
ธรรมชาติของเสียง
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุ
เสียงเป็นพลังงานรูปหน่ึงท่ีทำให้ประสาทหูเกิดความรู้สึกได้
การเคล่ือนท่ีของเสียงจากตัวก่อกาเนิดเสียงต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงนั้น
ไปยังสิ่งต่าง ๆ
การเกิดคล่ืนเสียงเคล่ือนท่ีจากที่หน่ึงไปยังอีกท่ีหน่ึงได้จะต้องประกอบไปด้วย
1. มีแหล่งกำเนิดเสียง
2. มีการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง
3. มีตัวกลางให้คล่ืนเสียงเคล่ือนท่ีผ่าน
การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง
เสียงต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ลักษณะทั่วๆไปของเสียงเป็นดังน้ี
1. เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุมีผลใหอนุภาคของตัวกลางที่เสียงเคล่ือนที่ผ่านเกิดการสั่นในลักษณะของการอัดและขยายไปถึงหูจึงเกิดการได้ยิน
2.เสียงเป็นคลื่นเพราะมีคุณสมบัติของคลื่นครบถ้วนคือมีการสะท้อนการหักเหการแทรกสอด และการเล้ียวเบน
3. เสียงเป็นคล่ืนตามยาว เพราะอนุภาคของตัวกลางสั่นในทิศทางเดียวกับทิศทางของการเคลื่อนท่ีของคลื่น
4. ช่วงอัดเป็นช่วงท่ีเกิดจากการที่โมเลกุลของอากาศอัดตัวกันทำให้บริเวณนั้น เป็นช่วงที่มีความดันสูงกว่าปกติ
5. ช่วงขยายเป็นช่วงท่ีเกิดจากการท่ีโมเลกุลของอากาศแยกห่างจากกันทำให้บริเวณนั้นเป็นช่วงที่มีความดันต่ำกว่าปกติ
ความเข้มเสียงและการได้ยิน
ความเข้มเสียง
แหล่งกำเนิดท่ีมีช่วงกว้างของการสั่น (amplitude) กว้างมากจะเกิดเสียงดังกว่าเสียงที่มีamplitudeน้อย ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกความดังของเสียงว่า ความเข้มของเสียง การวัดความเข้มของเสียงวัดได้จากพลังงานของเสียงท่ีตกตั้งฉากบน 1 หน่วยพ้ืนท่ีใน 1 หน่วยเวลา มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร ( Watt/m2 ) และหาได้จากสมการดังต่อไปน้ี
เม่ือ I คือ ความเข้มของเสียงที่จุดใดจุดหน่ึง ( Watt/m2 )
P คือ กำลังของเสียงจากแหล่งกาเนิด ( Watt )
R คือ ระยะระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับจุดท่ีพิจารณา ( m )
A คือ พ้ืนท่ีของเสียงที่ตกตั้งฉากกับแหล่งกำเนิด
S คือ จุดกำเนิดคลื่นเสียงที่มีหน้าคลื่นเป็นรูปทรงกลม
ความเข้มเสียงสูงสุดท่ีมนุษย์ได้ยิน (เสียงดัง) 1 watt/m2
ความเข้มเสียงต่ำสุดที่มนุษยได้ยิน (เสียงเบา) 10-12 watt/m2
ระดับความเข้มของเสียง
เม่ือหาอัตราส่วนระหว่างความเข้มเสียงท่ีดังที่สุดท่ีมนุษย์ทนฟังได้กับความเข้มเสียงเบาที่สุดท่ีมนุษย์ได้ยิน มีค่ามากถึง1012
ดังนั้นเพ่ือความสะดวกในทางปฏิบัติจึงนิยมใช้ระดับความเข้มเสียงเป็นปริมาณที่บอกความดังของเสียงแทนความเข้มเสียง และเป็นเกียรติแก่ อเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบล ระดับความเข้มของเสียงและมีหน่วย เรียกว่า เบล แต่เนื่องจากเบลเป็นหน่วยท่ีใหญ่เกินไป ไม่สามารถบอกความละเอียดที่จะบอกค่าความดังของเสียงต่างๆ ได้จึงแบ่งเป็นหน่วยย่อยลงไปเรียกว่า เดซิเบล(dB)
มนุษย์สามารถได้ยินเสียงท่ีมีความดังท่ีระดับความเข้มของเสียงตั้งแต่ 0 – 120 เดซิเบล เสียงที่ดังมากเกินไปอาจทำให้หูหนวกได้ เช่น เสียงฟ้าผ่าใกล้ๆ ตัวที่มีค่าความดังเกิน 120 dB เป็นต้น เสียงท่ีมีความดังไม่มาก แต่ได้ยินเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ก็อาจเป็นอันตรายได้ เช่น เสียงเคร่ืองจักรในโรงงานอุตสาหกรรม (มลภาวะทางเสียง ) องค์การอนามัยโลกจึงกำหนดว่า เสียงที่ปลอดภัยต้องมีความเข้มไม่เกิน 85 dB เม่ือต้องได้ยินติดต่อกันวันละ 8 ชั่วโมงข้ึนไป เสียงที่ดังไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายกับหู แต่อาจมีผลกระทบทางด้านจิตใจได้ เช่น ทำให้เกิดความเครียด ไม่มีสมาธิ เป็นต้น
เราสามารถหาระดบัความเขม้ของเสียงไดด้งัน้ี
เมื่อ คือระดับความเข้มของเสียงที่จุดพิจารณา (dB,เดซิเบล)I คือ ความเข้มของเสียงขณะใดขณะหน่ึงที่จุดพิจารณา ( watt/m2 )
I0 คือความเข้มของเสียงต่ำสุดท่ีมนุษย์ได้ยิน =10-12watt/m2
ตารางแสดงระดับความเข้มเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างๆ
มลภาวะของเสียง
เมื่อเราอยู่ใกล้บริเวณที่กำลังมีการตอกเสาเข็ม หรือมีการขุดเจาะถนนดว้ยเครื่องเจาะหรือบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมท่ีมีเคร่ืองจักรขนาดใหญ่หรือแม้แต่ในบริเวณสนามบินเสียงท่ีเกิดข้ึนในบริเวณเหล่าน้ีจะเป็นเสียงท่ีมีระดับความเข้มเสียงสูงถ้าหูรับฟังเสียงเหล่าน้ีติดต่อกันนานๆ จะทำให้สภาพหูและสภาพจิตใจของผู้ฟังผิดปกติได้ ดังนั้นผู้ที่ทำงานในบริเวณท่ีมีระดับความเข้มสูงจึงต้องมีจุกอุด หูหรือท่ีครอบหูหรือวัสดุเก็บเสียงอื่นๆเพ่ือช่วยลดระดับความเข้มเสียงให้หูปลอดภัย
เน่ืองจากเสียงที่มีระดัับความเข้มเสียงสูงเป็นอันตรายต่อผู้ฟังที่อยู่ใกล้กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกประกาศเก่ียวกับความปลอดภัยในการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดังโดยมีเกณฑ์ ดังแสดงในตาราง
ตาราง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยเก่ียวกับเสียง
เสียงที่มีระดับความเข้มเสียงสูง และเสียงที่ทำความราคาญแก่หูผู้ฟัง คือ มลภาวะของเสียง การปรับปรุงหรือแก้ไขแหล่งกำเนิดเสียงใหม่กำลังเสียงลดลง จะทำให้ระดับความเข้มของเสียงลดลงด้วย จึงจัดเป็นการลดมลภาวะของเสียงวิธีหน่ึง ในกรณีที่เราไม่สามารถแก้ไขความดังของเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงได้ การป้องกันโดยวิธีอื่นๆ เช่น การใช้จุกอุดหู หรือท่ีครอบหู หรือการติดตั้งวัสดุเก็บเสียง จะสามารถช่วยลดมลภาวะ ของเสียงได้
หูกับการได้ยิน
หูเป็นอวัยวะสําคัญในการรับเสียงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. หูส่วนนอก ( external ear ) ประกอบด้วยใบหู รูหูหรือช่องหู จนถึงแก้วหูทำหน้าที่รับเสียงจากภายนอก คล่ืนเสียงเดินทางไปทาง รูหูโดยมีช่องหูทำหน้าท่ีรวมเสียงไปสู่แก้วหู
2. หูส่วนกลาง ( middle ear ) อยู่ถัดจากแก้วหูเข้าไปมีลักษณะเป็นโพรงอากาศภายในมีกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อนอยู่ชิดแนบกับแก้วหู กระดูกโกลนมีฐานวางปิดช่องที่ต่อไปยังหูชั้นใน และกระดูกทั่งทำหน้าท่ีส่งต่อแรงสั่นสะเทือนของเสียงไปยังหูส่วนใน และหูส่วนกลาง นอกจากน้ียังทำหน้าท่ีปรับความดันอากาศภายในให้เท่ากับความดันอากาศภายนอก โดยอาศัยท่อที่ติดต่อกับโพรงอากาศ หากความดันไม่เท่ากันจะทาให้หูอ้ือได้ยินเสียงไม่ชัดเจน
3. หูส่วนใน ( inner ear ) ประกอบด้วยส่วนสๆคัญ 2 ส่วน
ส่วนแรก คือคอเคลีย(cochlea) เป็นท่อขดคล้ายรูปหอยโข่งภายในมีของเหลวมีเซลล์รับความสั่นสะเทือนของของเหลวภายในคอเคลีย ทำหน้าที่รับคลื่นเสียงและแปลงเป็นคลื่นไฟฟ้า ไปตามประสาทได้ยินไป ยังสมองเพื่อรับรู้การได้ยินและแปลความหมายโดยสมองส่วนที่สอง คือ ท่อคร่ึงวงกลม 3 ท่อ ตั้งฉากซ่ึงกันและกันทำหน้าท่ีรับการทรงตัวของร่างกายและการเคลื่อนไหวของศีรษะ
คุณภาพเสียง
คุณภาพของเสียง (Quality) หมายถึงความไพเราะของเสียงข้ึนอยู่กับจำนวนโอเวอร์โทนของเสียง ถ้าจำนวนโอเวอร์โทนมากเสียงจะนุ่มนวลถ้าจำนวนโอเวอร์โทนน้อยความนุ่มนวลของเสียงจะน้อยลง
เสียงดนตรี
เสียงดนตรีเป็นจะเป็นเสียงที่น่าฟังหรือไม่ต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปน้ี
– ระดับเสียง ข้ึนอยู่กับความถี่ ความถ่ีสูงเสียงจะแหลมความถ่ีต่ำเสียงจะทุ้ม
– ความดัง ข้ึนอยู่กับความเข้มของเสียงหรือแอมพลิจูด แอมพลิจูดมากเสียงจะดัง แอมพลิจูดน้อยจะมีเสียงค่อย
– คุณภาพของเสียง ข้ึนอยู่กับ ค่าความเข้มของเสียง(I) และความถ่ีของเสียง(f) คุณภาพของเสียง ทำให้เราแยกได้ว่าเสียงดังกล่าวมาจากเครื่องดนตรีชนิดใด