ภาวะสมองล้าคืออะไร
ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปเป็นเวลานานจนส่งผลต่อสมองในส่วนของสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาททำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนกับการมีหมอกมาบดบังการทำงานของสมองเป็นที่มาของชื่อ “Brain Fog Syndrome” ถึงแม้อาการจะไม่อันตรายแต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา และสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
สาเหตุของภาวะสมองล้า
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยทั้งจากการทำงานในแต่ละวัน และภาวะร่างกาย ได้แก่
- มีสภาวะความเครียดมากเกินไปส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดเสี่ยงภาวะสมองล้า
- พักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และขาดการออกกำลังกาย
- รับคลื่นแม่เหล็กจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์มากเกินไป
- เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
- โรคเรื้อรังบางชนิดจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองล้าได้เช่นกัน
- เกิดจากสารพิษในร่างกาย เช่น สารโลหะหนัก การปนเปื้อนในอาหาร หรือมลพิษ เป็นต้น
นอกจากนี้ภาวะสมองล้ายังสามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะขาดสารอาหารบางประเภท เช่น วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน หรือสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งหาได้จากผักผลไม้เป็นหลัก
เป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปเป็นเวลานานจนส่งผลต่อสมองในส่วนของสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาททำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนกับการมีหมอกมาบดบังการทำงานของสมองเป็นที่มาของชื่อ “Brain Fog Syndrome” ถึงแม้อาการจะไม่อันตรายแต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา และสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
แนะนำกัน ให้สมองกลับมาสดใส พร้อมเติมความรู้เข้าสู่ห้องสอบอีกครั้ง
- วางหนังสือลง แล้วเปลี่ยนบรรยากาศไปทำอย่างอื่นก่อน การจดจ่ออยู่กับการอ่านหนังสือนานๆ จนหัวตื้อ สมองไม่แล่น เป็นสัญญาณสื่อว่าร่างกายกำลังอยู่ในภาวะเครียดและกดดันอยู่ ยิ่งฝืนอ่านหนังสือต่อไปความรู้ก็ไม่เข้าหัวอยู่ดี หากรู้สึกอ่านหนังสือไม่เข้าหัวแล้ว ให้วางหนังสือลง เทให้หมดทุกอย่าง แล้วออกไปเดินเล่น เปลี่ยนอิริยาบถชั่วคราว ให้สมองได้พักสักนิด แล้วค่อยกลับมาลุยอ่านใหม่
- ไปออกกำลังกาย ไปเจอสายลมแสงแดด ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ขยับไปไหนก็รู้สึกคล่องแคล่ว ทั้งยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น สมองก็รู้สึกสดชื่นตามไปด้วย ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศไปในตัวไม่ให้รู้สึกเบื่อหน่าย รีเฟรชตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยธรรมชาติ
- ดื่มน้ำเยอะๆ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำกว่าร้อยละ 70 การที่ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ จะทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น สมองจึงรู้สึกเฟรช นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ เนื่องจากกาแฟนั้นทำให้ร่างกายขับปัสสาวะบ่อย จึงทำให้ร่างกายขาดน้ำได้นั่นเอง
- 4. เติมพลังก่อนอ่านหนังสือ ด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น นมถั่วเหลืองรสจืด ถั่วลิสง อัลมอนด์ วอลนัท พิตาชิโอรสธรรมชาติ แบบอบไม่ทอด ไม่มีเกลือผสม รวมถึงวิตามินรวมที่มีวิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนและไขมันที่ดี และวิตามินรวมยังช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทำให้รู้สึกเฟรชขึ้นได้อีกด้วย
- ไม่ไหวก็อย่าฝืน นอนหลับสักพัก ตื่นมาค่อยลุกขึ้นมาอ่านหนังสือใหม่ ช่วงใกล้สอบมักเป็นช่วงเวลาที่กดดัน อาจทำให้ต้องเร่งอ่านเพื่อให้ทันกับการสอบ แต่สมองของคนเราก็มีขีดจำกัด การฝืนอ่านในเวลาที่สมองไม่พร้อมรับนั้นนอกจากความรู้จะไม่เข้าหัวแล้วยังเสียเวลาอีกด้วย หากไม่ไหวจริงๆ ก็ควรไปนอนพักให้เต็มอิ่ม แล้วตื่นขึ้นมาอ่านทบทวนใหม่ เพราะสมองและร่างกายก็ต้องการพักผ่อนเช่นเดียวกัน
ในช่วงสอบที่ต้องอ่านหนังสือหนักแบบนี้ ลองนำเทคนิคต่างๆ ข้างต้นไปใช้ ช่วยให้สมองสดใส พร้อมรับความรู้เต็มที่ เข้าสู่ห้องสอบได้อย่างมั่นใจ และผ่านพ้นไปได้ดีอย่างแน่นอน
ไปดูวิธีที่พี่เคฟเวอร์นำมาฝากกันเลยดีกว่าคร้าบบ
1.นวดบริเวณศีรษะ: พี่เคฟเวอร์แนะนำว่าให้กดเบาๆ บริเวณศีรษะเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อที่แข็งตึง จะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย
ช่วยได้มากเลยทีเดียว
2. ทำสมาธิ: น้องๆ ลองหลับตาลงแล้วหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ โดยให้ลมหายใจเข้ายาวกว่าลมหายใจออกและมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ
การทำสมาธิจะทำให้น้องๆ ได้พักสมอง สงบมากขึ้น และไม่ฟุ้งซ่าน
3. ออกไปเดินเล่น: เวลาน้องๆ รู้สึกเหนื่อยล้าจากการอ่านหนังสือ ลองหยุดพัก อาจจะไปเดินในสวนหรือที่ๆ เราคิดว่าสบายใจ เดินเล่นสักพัก
จะช่วยให้สมองปลอดโปร่งมากขึ้น แต่ก็แนะนำว่าอย่าเดินไปไกลนะคร้าบ เดินบริเวณใกล้ๆ บ้านก็พอ เวลาเดินกลับมาอ่านหนังสือต่อจะได้ไม่รู้สึกเหนื่อยเกินไป
4. ยืดเส้นยืดสาย: ให้น้องๆ เงยหน้า เอนศีรษะไปด้านหลังแล้วค้างไว้สักพัก นอกจากเพื่อคลายกล้ามเนื้อแล้ว
ยังเป็นการกระตุ้นเยื้อหุ้มมัดกล้ามเนื้อที่ช่วยการนอนหลับอีกด้วย
5. หาของว่างทานระหว่างอ่านหนังสือ: การกินของว่างที่ชอบพอประมาณ เช่น ช็อกโกแลต เค้ก หรือคุกกี้ กับน้ำชาหรือนม จะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นนะคะ
แต่ก็ควบคุมปริมาณกันนิดนึง เดี๋ยวกินเพลินเกินแล้วน้ำหนักขึ้นแบบไม่รู้ตัว อาจจะต้องมาเครียดทีหลังก็ได้นะคร้าบ
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://marketeer.co.th/
ด้วยความปรารถนาดีจาก
Interpharma Thailand
ข้อมูลอ้างอิงจาก Interpharma