ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าพิจารณาจากค่าของเงิน เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหาก เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งนี้จึงจ าเป็นต้องมีหน่วยงานท าหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ
1. กระทรวงพาณิชย์ และ
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. กระทรวงพาณิชย์
ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอา เปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังท าหน้าที่ติดตาม
รวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจ าทุกวันจากตลาดและแหล่งจ าหน่าย ต่างๆทั่วประเทศ น ามาค านวณจัดท าเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้
ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัด นี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ดาม เนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อ ให้อยู่ในระดับต่ าและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และ ความกินดีอยู่ดีของประชาช
ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)เกิดจากอะไร
สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ
1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand – Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ท าให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost – Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถ แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
สาเหตุสำคัญของภาวะ Hyperinflation นี้ แรกเริ่มเกิดจากปริมาณเงินที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากและรวดเร็ว โดยที่ผลผลิตในระบบเศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวเร็วได้เท่า หรือกล่าวในภาษาเศรษฐศาสตร์คือ อุปสงค์และอุปทานของเงินไม่อยู่ในภาวะที่เหมาะสมกัน (Imbalance) ยังผลให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเงินที่มีอยู่ (เนื่องจากเงินมีมากในระบบฯ ใครๆก็สามารถถือเงินได้) แม้ในปัจจุบัน ที่กฎหมายได้กำหนดให้มีสินทรัพย์ค้ำประกันเงินตราที่ออกสู่ระบบ กฎหมายดังกล่าวกำหนดได้เพียง “เงินที่ถูกพิมพ์” เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดถึงการหมุนเวียนของเงินตรานั้นๆ นั่นคือ แม้ “เงินที่ถูกพิมพ์” จะไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่หากเงินดังกล่าวหมุนเวียนในระบบอย่างรวดเร็วเกินกว่าการขยายตัวของผลผลิตอย่างมากแล้ว ภาวะ Hyperinflation ก็ยังอาจเกิดขึ้นได้
นัยยะในภาคการเงิน
ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์การเงิน เงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์หนึ่งทางการเงิน เพราะต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อนั้นมาจากการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตมาให้ผู้บริโภคจับจ่าย ผลที่ตามมาคือ เงินจำนวนที่มากกว่าไล่ซื้อสินค้าที่มีน้อยกว่า กลไกราคาในตลาดจึงเกิดการปรับตัว เพื่อให้อุปสงค์กับอุปทานอยู่ในภาวะที่เหมาะสมในระบบ นั่นคือราคาสินค้าจะปรับสูงขึ้นตามการหมุนเวียนของปริมาณเงินในที่สุด
งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะ Hyperinflation ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นหลักฐานที่ยืนยันความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างราคาและปริมาณเงินได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างที่ถูกยกขึ้นมามากที่สุดคือกรณีประเทศเยอรมนี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้สงคราม (ปี 1918) รัฐบาลเยอรมนีจำเป็นต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามกับประเทศผู้ชนะสงคราม อย่างอังกฤษ และฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาแวร์ซายน์ (ค่าปฏิกรรมสงครามที่เยอรมนีต้องชดใช้ในสมัยนั้นคือ ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผลของการชดใช้ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลเยอรมนีจำต้องใช้นโยบายพิมพ์เงินขนานใหญ่เพื่อนำมาชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินมาร์กตั้งแต่ปี 1922-1925 ทำให้ระดับราคาสินค้าเฉลี่ยภายในเยอรมนีเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยในปี 1923 อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีอยู่ที่ร้อยละ 3.25 x 10^6 ต่อเดือน (ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกๆ 2 วัน) กล่าวกันว่า ร้านอาหารต่าง ๆ ในเยอรมันจะมีพนักงานคอยบอกราคาใหม่ทุก ๆ 30 นาที เลยทีเดียว