สำหรับประเทศยูเครน นั้น อยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ติดกับทะเลดำ อยู่ระหว่างโปแลนด์ กับรัสเซีย ทิศเหนือจรดพรมแดนรัสเซียและเบลารุส ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อรัสเซีย ทิศตะวันตกจรดพรมแดนโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทิศใต้ติดทะเลดำและทะเล Azov ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดพรมแดนโรมาเนีย และมอลโดวา
พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ มีเทือกเขา Carpathian ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีแม่น้ำสำคัญๆ ของทวีปยุโรปไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำดนีเปอร์ แม่น้ำดนีสเตอร์ และแม่น้ำดานูบ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลดำ
ยูเครน เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.2 ซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในทวีปยุโรปทั้งหมด
พื้นที่ประเทศยูเครนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมสลาฟตะวันออกในยุคกลาง ซึ่งส่งผลให้เกิดรัฐที่มีอำนาจในแถบนั้นในชื่อ เคียฟรุส อีกหลายศตวรรษหลังจากนั้นจึงถูกแบ่งไประหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ โดยเฉพาะรัสเซีย โปแลนด์ และจักรวรรดิออตโตมัน โดยมีเอกราชระยะสั้น ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2460-2464 อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย จากนั้นได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2465 ชายแดนในปัจจุบันเพิ่งได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ยูเครนเป็นเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534
ยูเครนมีประชากร 44.6 ล้านคน 77.8% เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ยูเครน โดยมีชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์รัสเซีย (17%) เบลารุสและโรมาเนียพอสมควร ภาษายูเครนเป็นภาษาราชการ ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่สอง ศาสนาหลักของประเทศ คือ ศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปัตยกรรม วรรณกรรมและดนตรียูเครน
สมัยประวัติศาสตร์
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาว Nomad โดยเฉพาะชาว Scythian เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส (Rus) ที่มาจากสแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาอาณาจักร Kievan Rus ขึ้นในศตวรรษที่ 6 และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่างๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 11 แต่ในศตวรรษที่ 12 อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่างๆ อาทิ ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสโตร – ฮังกาเรียน และรัสเซีย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1918 แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น หลังจากนั้น ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับโปแลนด์ ในขณะที่ดินแดนตอนกลางและตะวันออกถูกผนวกรวมกับรัสเซียในฐานะ Ukrainian Soviet Socialist Republic ในปีค.ศ.1922 ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียต ชาวยูเครนถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1932-1933 ประธานาธิบดีสตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ยังได้ใช้มาตรการ “ Holodomor” (Famine) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระบบนารวมของสหภาพโซเวียตกับชาวยูเครน อันส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและการขาดแคลนอาหารขึ้นทั่วประเทศ และชาวยูเครนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตลง ชาวนาและปัญญาชนที่ต่อต้านระบบดังกล่าวถูกกวาดล้างหรือเนรเทศไปยังไซบีเรีย
นช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยูเครนให้การสนับสนุนกองทัพของนาซีเยอรมัน เพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพเยอรมันปกครองอย่างกดขี่และทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารหมู่และ กรุงเคียฟ ถูกเผาทำลาย แต่หลังจากที่กองทัพนาซีบุกโปแลนด์ในปีค.ศ.1939 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียต
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู Chernobyl ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปีค.ศ.1986
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู Chernobyl ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปีค.ศ.1986 และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่างๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1991 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1991 ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
เมื่อประธานาธิบดี “กอร์บาชอฟ” ดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่างๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ค.ศ. 1991 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ค.ศ.1991 ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ขอบคุณข้อมูล https://www.pptvhd36.com/ และ
ที่มา : www.tiewrussia.com , wikipedia