ไบโอเมตริกซ์ เป็นการผสมผสานเทคโนโลยี ทางด้านชีวภาพ และทางการแพทย์ กับเทคโนโลยีทาง
คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการตรวจวัด คุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และ ลักษณะทาง พฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของแต่ละคน มาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้น ๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้น มาเปรียบเทียบกับ คุณลักษณะ ที่ได้มีการบันทึกไว้ใน ฐานข้อมูล ก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะ บุคคลนั้นจากบุคคลอื่น ๆ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเทคโนโลยีที่สำหรับยืนยัน ตัวบุคคลด้วยการเปรียบเทียบ Pattern ของ Physical หรือ พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ด้วย คอมพิวเตอร์
ไบโอเมตริกซ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
คือ การใช้ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) และการใช้ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics) ในการระบุตัวบุคคล
ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics)
o ลายนิ้วมือ Fingerprint
o ลักษณะใบหน้า Facial Recognition
o ลักษณะของมือ Hand Geometry
o ลักษณะของนิ้วมือ Finger Geometry
o ลักษณะใบหู Ear Shape
o Iris และ Retina ภายในดวงตา
o กลิ่น Human Scent
ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics)
o การพิมพ์ Keystroke Dynamics
o การเดิน Gait Recognition
o เสียง Voice Recognition
o การเซ็นชื่อ Signature
กระบวนการในการตรวจสอบ หรือระบุตัวบุคคลด้ว ยไบโอเมตริกซ์ไม่ว่าจะเป็น การใช้ลักษณะเฉพาะแบบใดก็ตาม จะมีขั้นตอนเหมือนกันดังต่อไปนี้
1. ผู้ใช้ระบบต้องทำการให้ตัวอย่าง (Samples) ของลักษณะทางไบโอเมตริกซ์ ที่จะใช้ หรือเป็นการลงทะเบียนเริ่มต้นก่อนที่จะทำการใช้ระบบ
2. ตัวอย่างทางไบโอเมตริกซ์ที่ถูกเก็บมาในขั้นตอนแรก จะถูกทำการแปลงและจัดเก็บ ให้เป็นแม่แบบ (Template) ที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ
3. เมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะใช้ระบบ ก็จะถูกตรวจสอบ หรือระบุผู้ใช้ โดยทำการเก็บตัวอย่างทาง ไบโอเมตริกซ์ ของผู้ใช้และทำการเปรียบเทียบกับ แม่แบบ (Template) ที่เก็บไว้ แล้วทำการตรวจสอบความเหมือนของตัวอย่างกับแม่แบบ จากนั้นก็จะทำการอนุญาต หรือปฏิเสธ การเข้ามาใช้งานระบบของผู้ใช้
เราเรียกขั้นตอนที่ 1 และ 2 ว่าเป็นขั้นตอนของการลงทะเบียน (Enrolment) ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ก่อนการที่จะเริ่มใช้งาน ส่วนขั้นตอนที่ 3 เป็นกระบวนการตรวจสอบ (Authentication) หรือ ระบุตัวผู้ใช้ (Identification) ซึ่งผลของการตรวจสอบหรือระบุตัวผู้ใช้นี้มีผลออกมาได้ 4 กรณีดังนี้
1. Correct Accept : อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิใช้ระบบ เข้าใช้ระบบ
2. Correct Reject : ปฏิเสธผู้ที่ไม่มีสิทธิใช้ระบบ
3. False Accept : อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ เข้าใช้ระบบ จำนวนของ False Accept ถ้าคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จะเรียกว่า อัตราการอนุญาตผิดพลาด (False Accept Rate หรือ FAR)
4. False Reject : ปฏิเสธผู้ใช้ที่มีสิทธิใช้ระบบ ไม่ให้เข้าใช้ระบบ จำนวนของ False Reject ถ้าคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จะเรียกว่า อัตราการปฏิเสธผิดพลาด (False Reject Rate หรือ FRR)
ระบบสแกนลายนิ้วมือปัจจุบันมีการใช้เช่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Tablet ส่วนระบบสแกนฝ่ามือจะปลอมได้ยากกว่าการสแกนลายนิ้วมือ และระบบสแกนฝ่ามือจะมีการตรวจอุณหภูมิ ตรวจระยะความยาวของนิ้วเป็นการเช็คข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น ส่วนระบบสแกนรูม่านตานั้น ปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก แต่ระบบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นคือระบบสแกนหน้า โดยใช้กล้องวีดีโอถ่ายภาพหน้าคน(Face Recognition) ที่จะเดินผ่านประตูแล้วบันทึกรูปหน้าลงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่ข้อมูลระยะห่างระหว่างดวงตา ความลึกของเบ้าตา ความกว้าง ความยาว ของจมูก ลักษณะของโหนกแก้ม และ โครงหน้า รูปร่างของปาก กราม และ คาง
ไบโอเมตริกซ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การใช้ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) และการใช้ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics) ในการระบุตัวบุคคล
1. ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) ลายนิ้วมือ Fingerprint ลักษณะใบหน้า Facial Recognition ลักษณะของมือHand Geometry ลักษณะของนิ้วมือ Finger Geometry ลักษณะใบหู Ear Shape Iris และ Retina ภายในดวงตา กลิ่น Human Scent
2. ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics)การพิมพ์ Keystroke Dynamics การเดิน Gait Recognition เสียง Voice Recognition การเซ็นชื่อ Signature
เทคโนโลยีไบโอเมตริก (Biometric)
ไบโอเมตริก (Biometric) เป็น เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพและทางการแพทย์ กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors)ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนมาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้นๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่ได้มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งคุณลักษณะทางกายภาพของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในขณะที่พฤติกรรมของมนุษย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าจะเป็น เสียงพูด การลงลายมือชื่อ การใช้แป้นพิมพ์ ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลโดยการใช้ลักษณะทางกายภาพนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ Biometric ประเภทนี้ก็คือ ใช้ง่าย เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา)ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล Biometrics
คำว่า ไบโอเมตริก (Biometric) ประกอบขึ้นจากคำว่า ไบโอ (Bio) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต และคำว่า เมตริก (metrics) ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะที่สามารถถูกวัดค่า หรือประเมินจำนวนได้ เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมาตีความรวมกัน ไบโอเมตริกก็เลยหมายถึงเทคโนโลยี ในการใช้คุณลักษณะหรือพฤติกรรมบางอย่างในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถเทียบวัดหรือนับจำนวนได้มาผนวกเข้ากับหลักการทางสถิติ เพื่อการแยกแยะ หรือจดจำแต่ละบุคคล สำหรับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำงานด้วยหลักการ ของไบโอเมตริก ถูกผลิตออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน โดยเป็นอุปกรณ์วัดความยาวของนิ้วมือ ซึ่งถูกติดตั้งไว้เพื่อบันทึกเวลาเข้าทำงาน ของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในย่านวอลสตรีท
คุณลักษณะหรือพฤติกรรมบางอย่าง ที่ถูกใช้ในการแยกแยะบุคคลด้วยวิธีการทางไบโอเมตริก หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า ข้อมูลทางไบโอเมตริก สามารถได้มาด้วยหลายวิธีการ เช่น จากลายนิ้วมือ,ใบหน้า, จอตา, ม่านตา, รูปทรงของฝ่ามือ, เสียงพูด, ลายมือเขียน เป็นต้น
การทำงานของระบบอยู่บนพื้นฐานเดียวกับการทำงานของสมอง ที่สามารถจะจำแนกความแตกต่าง ของแต่ละบุคคลออกจากกัน จุดนี้เองที่เป็นความน่าสนใจ ของเทคโนโลยีไบโอเมตริก เพราะด้วยวิธีการดังกล่าว สามารถช่วยให้การระบุตัวบุคคล สามารถทำได้อย่างแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องใช้รหัสผ่าน, สมาร์ตการ์ด, บัตรแถบแม่เหล็ก หรือว่าลูกกุญแจ เหมือนอย่างวิธีการแบบเดิม ที่เคยเป็นมาไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะพบว่า ในปัจจุบันไบโอเมตริกได้ถูกนำไปใช้ร่วมกับระบบต่างๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับระบบที่ต้องการความปลอดภัยมากๆ เช่น การควบคุมการผ่านเข้าออก พื้นที่พิเศษ, ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์, การชำระค่าสินค้าบริการ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนั้นการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี แบบออนไลน์มากขึ้น และความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกับคนหมู่มาก ที่กลายเป็นเรื่อง ที่ไม่สามารถจะหลบเลี่ยงได้ ก็ทำให้นับวันบทบาทของเทคโนโลยีไบโอเมตริก ก็ดูจะทวีความสำคัญ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ไบโอเมตริกซ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การใช้ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) และการใช้ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioral Biometrics) ในการระบุตัวบุคคล
1. ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics)
ได้แก่ การระบุตัวผู้ใช้ (Identification) หรือการจับคู่เปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อจำนวนมากกว่า (1: N) โดยการนำตัวอย่างๆ หนึ่งไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้ ส่วนการทำงานอีกแบบคือ การตรวจพิสูจน์ตัวผู้ใช้ (Verification) หรือการจับคู่เปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) โดยระบบจะตรวจสอบตัวอย่างๆ หนึ่งว่าตรงกันกับข้อมูลที่ได้ถูกเก็บไว้ก่อนหน้าหรือไม่ สำหรับการใช้งานในลักษณะแรก หรือการระบุตัวผู้ใช้นั้น ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลทางไบโอเมตริก ของตนเอง (เช่น จากการวางนิ้วมือลงยังเครื่องอ่านลายนิ้วมือ, การถ่ายภาพใบหน้า) ให้กับระบบเสียก่อน หลังจากนั้น ระบบจะทำการจับคู่ข้อมูล ที่ได้รับมากับข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล เพื่อระบุว่า ผู้ที่ส่งข้อมูลมาเป็นใคร แน่นอนกระบวนการที่ว่านี้จะค่อนข้างใช้เวลานาน เพราะระบบต้องมีการเปรียบเทียบข้อมูลเป็นจำนวนมากนั่นเอง
1) ลายนิ้วมือ Fingerprint
2) ลักษณะใบหน้า Facial Recognition
3) ลักษณะของมือ Hand Geometry
4) ลักษณะของนิ้วมือ Finger Geometry
5) ลักษณะใบหู Ear Shape
6) Iris และ Retina ภายในดวงตา
7) กลิ่น Human Scent
2. ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics)
ส่วนการใช้งานในลักษณที่สอง หรือการตรวจพิสูจน์ตัวผู้ใช้ ผู้ใช้จะต้องการป้อนรหัสประจำตัวหรือ PIN (Personal Identification Number) ที่ระบุถึงตัวผู้ใช้เองก่อน แล้วจึงค่อยส่งข้อมูล ทางไบโอเมตริกของตนเองให้กับระบบ หลังจากนั้นระบบจะตรวจดูว่าข้อมูล ที่ได้รับมาตรงกับ ข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ โดยจะเป็นการตรวจสอบ แบบข้อมูลแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กระบวนที่ใช้โดยทั่วไปจึงกินเวลาไม่มาก เพราะข้อมูลที่ต้องเปรียบเทียบไม่มาก เหมือนอย่างกรณีของ กระบวนการระบุตัวผู้ใช้ ความแม่นยำของระบบไบโอเมตริกสามารถจะถูกเทียบวัดจาก ค่า FRR (False Rejection Rate) ซึ่งหมายถึงค่าอัตราการหลุดรอด ของผู้แปลกปลอม จากการตรวจจับ และ ค่าFAR (False Acceptance Rate) ซึ่งหมายถึง ค่าอัตราการปฏิเสธการผ่าน แก่ผู้ใช้ที่ถูกต้อง โดยทั่วไปค่า FRR จะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 0.1% ส่วนค่า FAR นั้นจะมีค่าอยู่ที่ ประมาณ 0.001% ทั้งนี้ค่า FRRและ FAR เป็นค่าที่ค้านซึ่งกันและกันอยู่ เพราะเมื่อ FAR มีค่าสูง FRR ก็จะมีค่าต่ำไปโดยอัตโนมัติ ในระบบรักษาความปลอดภัยด้วยไบโอเมตริก ค่า FRR และ FAR จะเป็นค่าที่สามารถถูกปรับตั้งได้ ตามความต้องการของผู้ติดตั้งระบบ ว่าต้องการให้มีระดับความปลอดภัยอยู่มากน้อยเพียงใด
1) การพิมพ์ Keystroke Dynamics
2) การเดิน Gait Recognition
3) เสียง Voice Recognition
4) การเซ็นชื่อ Signatureการนำเอา Biometrics มาประยุกต์ใช้งาน
การนำเอา Biometrics มาประยุกต์ใช้งานนั้น ส่วนใหญ่เป็นงานที่มีความจำเป็นในการตรวจสอบ และระบุตัวบุคคล อีกนัยหนึ่งคือเป็นงานที่ต้องมีความมั่นใจว่าบุคคลที่เข้ามาใช้งานนั้นเป็นบุคคลที่ผู้นั้นระบุว่าตนเองเป็น รวมถึงงานที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการระบุตัวผู้ใช้
การประยุกต์ใช้งาน Biometrics นั้นเหมาะสมทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ ตัวอย่างของหน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถนำมาเอา Biometrics มาช่วยในการดำเนินงานได้ เช่น
1. Biometrics กับการควบคุม
การเข้าออกสถานที่ / หรือการใช้ตรวจสอบเวลาทำงานการเข้าออกสถานที่หวงห้ามในปัจจุบัน มักจะใช้บัตรผ่าน หรือใช้รหัสผ่าน หรือแม้แต่การใช้ยามเฝ้า ซึ่งการป้องกันแบบนี้สามารถถูกลักลอบได้ง่าย เช่นบัตรผ่าน หรือรหัสผ่าน อาจหาย ลืม หรือแม้แต่ให้คนอื่นยืมใช้ได้ ส่วนยามเฝ้าก็ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของยามแต่ละคน ความบกพร่องของระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจึงมีอยู่มาก การนำเอา ไบโอเมตริกซ์มาช่วยเช่น การผ่านเข้าออกโดยใช้ลายนิ้วมือ, ใช้การตรวจสอบรูปหน้า,หรือแม้แต่การใช้การตรวจสอบลักษณะของเรตินาภายในดวงตา จึงเป็นทางออกที่ดีกว่าการใช้งานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. Biometrics กับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Notebook หลายๆรุ่น มีการนำเอาเทคโนโลยี Biometrics ประเภทลายนิ้วมือเพื่อมาช่วย Authentication การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่อนข้างมีประโยชน์มากสำหรับบุคคลที่ต้องการความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพราะถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกขโมย แต่ผู้ที่ขโมยไปก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยการใช้ลายนิ้วมือมาช่วยมีอยู่หลักๆสองประเภท คือเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ที่มีตัวตรวจจับลายนิ้วมืออยู่ในตัวเครื่องอยู่แล้ว และ ประเภทที่ใช้ PC Card ที่มีตัวตรวจจับลายนิ้วมืออยู่ ใส่เข้าไปในช่อง PC Card ของเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebookโดยที่ลายนิ้วมือจะเป็นการใช้ทดแทนการใช้รหัสผ่าน (Password) นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย จะต้องให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่านก่อนการใช้งานทุกครั้ง แต่เนื่องจากรหัสผ่านสามารถถูกคาดเดา หรือขโมย หรือ ถูกยืมไปใช้ได้ง่าย ดังนั้นการใช้ Biometrics มาเป็นตัวเข้ารหัสการใช้งานของผู้ใช้ระบบเครือข่าย จึงเป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้อย่างแท้จริงว่า ผู้ที่ใช้ระบบเครือข่ายอยู่คือผู้ที่มีสิทธิในการใช้งานได้จริง
3. Biometrics กับการใช้งานของสถาบันการเงิน
ในปัจจุบันการตรวจสอบตัวบุคคล เป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำธุรกิจของสถาบันทางการเงิน การใช้การตรวจสอบลายเซ็น ลายนิ้วมือ บัตรประจำตัว หรือแม้แต่รหัสผ่าน ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการปลอมแปลง และเป็นปัญหาที่สถาบันการเงินต้องพบเจอกับกลโกงต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีทางด้านไบโอเมตริกซ์มาเป็นสิ่งประกอบเพิ่มเติมในการตรวจสอบตัวบุคคล จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสถาบันทางการเงิน ทั้งทางด้านการช่วยในการเบิกถอนเงินทั้งที่ผ่านทางเคาเตอร์ และทั้งที่ผ่านทางเครื่อง ATM นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ในการตรวจสอบผู้ใช้บัตรเครดิต ก็จะเป็นการช่วยลดการปลอมแปลง หรือการลักลอบใช้บัตรเครดิตของผู้อื่น และในทางกลับกันก็ยังช่วยลดการปฏิเสธความรับผิดชอบของผู้ใช้งานเอง เพราะมีหลักฐานที่แน่นอนในการระบุตัวบุคคลที่เชื่อถือได้
4. Biometrics กับการใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร
การระบุตัวอาชญากรที่ทำการตรวจสอบลายนิ้วมือ หรือการชี้ตัวโดยพยาน ซึ่งสามารถนำเอาBiometrics มาช่วยในการตรวจสอบลายนิ้วมือโดยอัตโนมัติ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) ระบบนี้นอกจากจะให้ทางตำรวจตรวจลายนิ้วมือที่พบในที่เกิดเหตุกับฐานข้อมูลลายนิ้วมืออาชญากรที่มีอยู่แล้ว ระบบ AFIS ยังสามารถเป็นแหล่งข้อมูลให้กับทางองค์กรทางเอกชน ในการค้นหาประวัติการทำผิดกฏหมายของผู้สมัครงานหรือบุคคลากรภายในองค์กรได้อีกด้วย
5. Biometrics กับงานทะเบียนราษฎร์
จะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้มีการพัฒนางานทะเบียนราษฎร์ให้มีความทันสมัยและมีความสะดวกสบายและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งก็ได้มีการนำเทคโนโลยีBiometrics ร่วมกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เพื่อมาใช้กับการระบุยืนยันตัวบุคคลในการมาติดต่องานทะเบียนราษฎร์ ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ในการต่ออายุบัตรประชาชนก็สามารถทำแบบออนไลน์ได้ที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ใดก็ได้ เนื่องจากจะมีการยืนยันตัวบุคคลและเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายเดียวกันทั้งประเทศ เป็นต้น
ดังนั้น จากประโยชน์และการประยุกต์ใช้งานของเทคโนโลยีทางด้านไบโอเมตริกซ์ที่กล่าวมาข้างต้น จึงถูกมองว่าจะสามารถนำมาใช้ประยุกต์เพื่อให้การทำธุรกิจ หรือทางการค้ามีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้เช่นกัน พร้อมทั้งในอนาคตอันใกล้ นี้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ก็จะเข้ามาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปอีกด้วยการตรวจสอบลายนิ้วมือเทคโนโลยีที่ใช้กันแต่โบราณ
ในบรรดาเทคโนโลยีไบโอเมตริกที่ใช้กันในปัจจุบัน การตรวจสอบลายนิ้วมือ ดูจะเป็นวิธีการ ที่ถูกเลือกใช้ มากที่สุด (และเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ในโครงงานนี้ด้วย) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ การตรวจสอบลายนิ้วมือ และเป็นรูปแบบที่ถูกใช้มาเป็นเวลานาน โดยมีหลักฐานเชื่อมโยงที่แสดงว่า การตรวจสอบลายนิ้วมือถูกเริ่มใช้ มาตั้งแต่ในยุคสมัยของชาวจีนโบราณ เมื่อหลายพันปีก่อน การใช้งานที่มีมาอย่างยาวนานนี้เอง ทำให้เกิดข้อสรุปที่ชัดเจนว่าลายนิ้วมือ เป็นลักษณะเฉพาะที่ แตกต่างไปในแต่ละคน และลายนิ้วมือของแต่ละคน ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าวันเวลาจะผ่านไป คุณสมับติทั้ง 2 ข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ลายนิ้วมือ เหมาะสำหรับการเป็นกุญแจ ผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนได้ นอกจากนั้นในแง่ของความเหมาะสม และความสะดวกใช้งาน รวมทั้งราคาฟิงเกอร์พรินต์เซนเซอร์ ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ตามเวลาและการแข่งขันของตลาด ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ระบบไบโอเมตริกรูปแบบนี้ มีความโดดเด่นตามไปด้วย
โครงสร้างของระบบตรวจสอบลายนิ้วมือแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อยู่ 2ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยหน้าที่หลักของฮาร์ดแวร์ก็คือ การจับภาพลายนิ้วมือ และแปลงภาพที่ได้ไป อยู่ในรูปข้อมูลแบบดิจิตอลเสียก่อน จากนั้นซอฟต์แวร์ก็จะมารับหน้าที่ต่อ ในการตรวจสอบ และตีความข้อมูล ตามระดับของการยอมรับที่ได้ถูกกำหนดไว้ ขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นใช้งาน ระบบไบโอเมตริกก็คือการลงทะเบียน การลงทะเบียนที่ว่านี้ หมายถึงการที่ผู้ใช้แต่ละราย จะต้องส่งตัวอย่างลายนิ้วมือ ไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลางของระบบก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง หลังจากลงทะเบียนแล้ว เมื่อผู้ใช้เข้าระบบในครั้งต่อไประบบก็จะเปรียบเทียบว่า ลายนิ้วมือที่ได้มา กับข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลกลางตรงกันหรือไม่ ซึ่งข้อมูลทั้งคู่ จะต้องตรงกันเท่านั้นผู้ใช้จึงผ่านเข้าไปยังระบบได้
กระบวนการในการตรวจสอบ หรือระบุตัวบุคคลด้วย Biometrics ไม่ว่าจะเป็นการใช้ลักษณะเฉพาะแบบใดก็ตาม จะมีขั้นตอนเหมือนกันดังต่อไปนี้
ผู้ใช้ระบบต้องทำการให้ตัวอย่าง (Samples) ของลักษณะทางไบโอเมตริกซ์ ที่จะใช้ หรือเป็นการลงทะเบียนเริ่มต้นก่อนที่จะทำการใช้ระบบ ตัวอย่างทางไบโอเมตริกซ์ที่ถูกเก็บมาในขั้นตอนแรก จะถูกทำการแปลงและจัดเก็บ ให้เป็นแม่แบบ (Template) ที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ เมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะใช้ระบบ ก็จะถูกตรวจสอบ หรือระบุผู้ใช้ โดยทำการเก็บตัวอย่างทาง ไบโอเมตริกซ์ ของผู้ใช้และทำการเปรียบเทียบกับ แม่แบบ (Template) ที่เก็บไว้ แล้วทำการตรวจสอบความเหมือนของตัวอย่างกับแม่แบบ จากนั้นก็จะทำการอนุญาต หรือปฏิเสธ การเข้ามาใช้งานระบบของผู้ใช้
เราเรียกขั้นตอนที่ 1 และ 2 ว่าเป็นขั้นตอนของการลงทะเบียน (Enrolment) ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ก่อนการที่จะเริ่มใช้งาน ส่วนขั้นตอนที่ 3 เป็นกระบวนการตรวจสอบ (Authentication) หรือ ระบุตัวผู้ใช้ (Identification) ซึ่งผลของการตรวจสอบหรือระบุตัวผู้ใช้นี้มีผลออกมาได้ 4 กรณีดังนี้
1) Correct Accept : อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิใช้ระบบ เข้าใช้ระบบ
2) Correct Reject : ปฏิเสธผู้ที่ไม่มีสิทธิใช้ระบบ
3) False Accept : อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ เข้าใช้ระบบ จำนวนของ False Accept ถ้าคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จะเรียกว่า อัตราการอนุญาตผิดพลาด (False Accept Rate หรือ FAR)
4) False Reject : ปฏิเสธผู้ใช้ที่มีสิทธิใช้ระบบ ไม่ให้เข้าใช้ระบบ จำนวนของ False Reject ถ้าคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จะเรียกว่า อัตราการปฏิเสธผิดพลาด (False Reject Rate หรือ FRR)ข้อดีของการนำเอาไบโอเมตริกซ์ มาใช้ในการตรวจสอบหรือ ระบุตัวบุคคลคือ
Ø การใช้ไบโอเมตริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องใช้ความจำ หรือจำเป็นต้องถือบัตรผ่านใดๆ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพกบัตร และต้องจำรหัสผ่าน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัย และป้องกันการสูญหายของบัตรผ่าน หรือการลักลอบนำเอารหัสผ่านไปใช้
Ø ไบโอเมตริกซ์ ยากต่อการปลอมแปลง และยากต่อการลักลอบนำไปใช้
Ø การใช้ไบโอเมตริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เช่นในกรณีของการใช้รหัสผ่าน หรือบัตรผ่าน เจ้าของบัตรอาจอ้างได้ว่ารหัสผ่านหรือบัตรถูกผู้อื่นลักลอบนำไปใช้ แต่ถ้าใช้ การใช้การตรวจสอบหรือระบุตัวบุคคลด้วยไบโอเมตริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้
Ø ช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น ช่วยในการป้องกันพนักงานลงเวลาแทนกัน(Buddy Punching) โลกใบใหม่ของไบโอเมตริกซ์
ขณะนี้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ได้ริเริ่มแผนการรักษาความปลอดภัยที่จะเป็นหนทางนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ได้ทั่วโลก สำนักงานของ ICAO ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออลมีหน้าที่วางแนวทางและมาตรฐานให้กับพาสปอร์ตและเอกสารการเดินทางทั่วโลกกำลังผลักดันให้ประเทศสมาชิกทั้ง 189 ประเทศใช้พาสปอร์ตแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เครื่องอ่านให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2010
ไบโอเมตริกซ์คือการวัดค่าเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับรูปพรรณของแต่ละบุคคลโดยจดจำลักษณะต่างๆ บนใบหน้า น้ำเสียง ลายนิ้วมือ และดวงตา โดย ICAO สนับสนุนให้ใช้ไบโอเมตริกซ์กับพาสปอร์ตที่ออกใหม่ทุกเล่ม แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าต้องใช้ในส่วนของเอกสารการเดินทางจะมีการใส่ชิปอิเล็กทรอนิกส์ชนิดไม่ต้องสัมผัสเครื่องอ่าน (contact-less) ซึ่งจดจำเฉพาะใบหน้าเจ้าของพาสปอร์ต “ICAO แนะนำให้ใช้การจดจำใบหน้าในพาสปอร์ตอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีทางเลือกอีกอันเป็นการใช้ฟังก์ชันไบโอเมตริกซ์ซึ่งคือการพิมพ์ลายนิ้วมือและการสแกนม่านตา แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศด้วยว่าจะเลือกใช้หรือไม่ก็ได้” Denis Chagnon โฆษกของ ICAO กล่าว
อีกด้านหนึ่ง Passport Canada ปฏิเสธอย่างแข็งขันเกี่ยวกับรายงานเรื่องอีพาสปอร์ตแบบใหม่ของประเทศที่จะใส่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ลงไป เช่นเดียวกับชิปชนิดไม่ต้องสัมผัสเครื่องอ่านก็จะไม่มีการใช้เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุเพื่อระบุลักษณะ (RFID) ในการสื่อสารกับเครื่องอ่านอีพาสปอร์ต
“เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์นี้กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ” Joel Shaw หัวหน้าฝ่ายวางแผนของ Crypto Metrics Canada บริษัทในเครือของ Crypto Metrics Inc. ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงออตตาวากล่าว “เราจะเห็นการใช้ไบโอเมตริกซ์มากขึ้นในที่สาธารณะเมื่อประเทศต่างๆ เริ่มหันไปใช้อีพาสปอร์ต” ด้าน ICAO ก็จะจัดประชุมเรื่องเอกสารการเดินทางแบบใช้เครื่องอ่านและการนำไบโอเมตริกซ์มาใช้ที่สำนักงานใหญ่วันที่ 29 และ 30 กันยายนนี้ ตามที่ Chagnon กล่าวประเทศที่ได้รับการละเว้นวีซาเข้าสหรัฐอเมริกา 27 ประเทศตกลงจะใช้อีพาสปอร์ตภายในเดือนตุลาคมปีค.ศ. 2006และกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศก็จะใช้อีพาสปอร์ตภายในเดือนกันยายนปีหน้าเช่นกัน
Passport Canada ซึ่งเป็นหน่วยงานพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศแคนาดายืนยันว่าแผนการต่างๆ อยู่ในช่วงดำเนินการเพื่อจัดทำโครงการนำร่องที่จะใช้อีพาสปอร์ตในปีหน้า
“โครงการนี้ยังอยู่ในช่วงแรกของการพัฒนา” Lynn Brunette เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ Passport Canada เปิดเผย เธอกล่าวว่าแม้รายละเอียดต่างๆ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์แต่เป้าหมายของโครงการคือการเพิ่มชิปอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในพาสปอร์ตซึ่งชิปนี้จะบรรจุข้อมูลที่มีอยู่แล้วในพาสปอร์ต เช่น ชื่อ สถานที่เกิด สถานที่ออกพาสปอร์ต และรูปถ่ายดิจิตอลของผู้ถือพาสปอร์ต
“แต่จะไม่มีข้อมูลไบโอเมตริกซ์อยู่ในอีพาสปอร์ต ด้านเอกสารต่างๆ จะเป็นแบบใช้เครื่องอ่านตามมาตรฐานของ ICAO ส่วนตัวชิปก็จะไม่ใช้เทคโนโลยี RFID และไม่ใช่ RFID แบบที่เรารู้จัก ซึ่งชิปชนิดที่ไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านจะอ่านได้กับเครื่องสแกนเนอร์ในระยะใกล้เท่านั้นประมาณ 10เซนติเมตรหรือน้อยกว่านั้น”
“ตอนนี้ทาง Passport Canada กำลังศึกษาเรื่องการจดจำใบหน้า” เธอกล่าว “การใช้ไบโอเมตริกซ์ในการจดจำใบหน้าต้องอาศัยกล้องถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงสแกนใบหน้าและใช้สูตรอัลกอริธึม(การคำนวณ) เพื่อวัดจุดของอวัยวะต่างๆ บนใบหน้าเป็นขนาดพิกเซล”
Carmi Levy นักวิจัยอาวุโสของ Info Tech ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองอุตสาหกรรมลอนดอนในออนตาริโอ กล่าวว่าการใช้อีพาสปอร์ตเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ารัฐบาลแคนาดาพยายามจะควบคุมการฉ้อโกงและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ตามเขาเป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ต้องป้องกันอย่างจริงจัง “แคนาดามีชื่อเสียงไม่ดีในเรื่องพาสปอร์ตที่ปลอมแปลงได้ง่าย ใน 3-4ปีที่ผ่านมามีตัวอย่างของพาสปอร์ตแคนาดาปลอมเป็นจำนวนมาก” เขากล่าว “เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์โดยเฉพาะการสแกนม่านตาหรือลายนิ้วมือจะทำให้พาสปอร์ตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”
“แต่ด้วยเทคโนโลยีแบบไมต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านข้อมูลในพาสปอร์ตจะถูกล็อกไว้ในระบบและเก็บเข้าระบบเครือข่าย ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลลับและส่วนตัวจากบุคคลที่สามซึ่งต้องดูแลอย่างจริงจัง เทคโนโลยี RFID ก็คุกคามความเป็นส่วนบุคคลได้เช่นกัน ใครก็ตามที่มีเครื่องอ่านสามารถเดินผ่านคุณ สแกนข้อมูลของคุณ แล้วเอาไปใช้ทำอะไรก็ได้หรือยิ่งกว่านั้นใช้ก่ออาชญากรรมก็ยังได้” Levy กล่าวทิ้งท้าย
นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิจัยของบีที (บริติช เทเลคอม) กำลังทำงานในโครงการความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ ของการนำระบบการจำม่านตามาใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อการพิสูจน์ และรับรู้บุคคลอัตโนมัติ บีทีได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ที่กำลังมาแรงนี้ภายใต้ความร่วมมือกับไอริสสแกน ซึ่งเป็นบริษัท พัฒนาเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน และผู้คิดค้นเทคโนโลยีคือ ดร.จอห์น ดักแมน แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ การจำม่านตาเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีไบโอเมตริกล่าสุด ที่ถือกำเนิดขึ้นในโลก ซึ่งพอออกมาได้ไม่นานก็เข้าตาบีที ที่มองเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ที่จะมีประโยชน์มหาศาล ตัวระบบจะใช้ลักษณะเฉพาะของดวงตาในการตรวจสอบ เอกลักษณ์ของบุคคล
ด้วยเหตุที่ม่านตาของคนเรามีเอกลักษณ์มากกว่ารอยพิมพ์นิ้วมือ กว่าสิบเท่า จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือพิสูจน์บุคคลได้อย่างชนิด รับประกันความผิดพลาด โอกาสที่ม่านตาของคนหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะกว่า 250 รายการจะซ้อนกันสนิท กับม่านตาของอีกคนหนึ่งแทบจะมีค่าเป็นศูนย์เลยทีเดียว การจำม่านตาจะพิสูจน์ว่าผู้ใช้บัตรเป็นเจ้าของบัตรตัวจริงมาเอง นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบเหนือระบบไบโอเมตริกในปัจจุบัน เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือหรือการจำเสียง เพราะมีความแน่นอนสูง มีอัตราการรับหรือต่อต้านแบบผิดๆ ต่ำมาก ระบบจำม่านตาจะทำหน้าที่ระบุผู้ใช้ไม่ใช่แค่ตรวจสอบว่า มีการใช้บัตรหรือเครื่องรูดบัตรจริง เทคนิคนี้ไม่ต้องอาศัยการสัมผัส และใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะผู้ใช้เพียงแค่มองเข้าไป ในกล้องวีดีโอธรรมดาเท่านั้น ขณะนี้ทีมงามประจำศูนย์วิจัยของบีที กำลังศึกษาภาพของเทคโนโลยี ดังกล่าวสำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารโทรคมนาคม อาทิ
Ø การใช้บัตรเครดิต การจับทุจริตบัตรเครดิต ณ จุดขาย จะหมดไปในอนาคต เมื่อมีการใช้ฐานข้อมูลจำม่านตาส่วนกลาง ต้นทุนในการบริหารใบเสร็จบัตรเครดิตจะลดลงอย่างมาก เนื่องจากการทำธุรกรรมทุกอย่างสามารถจะตรวจสอบความถูกต้องได้ ณ จุดขาย โดยอาศัยการระบุตัวลูกค้า จากม่านตา
Ø การเข้าใช้คอมพิวเตอร์ เปิดโอกาสให้เจ้าของแฟ้มข้อมูล สามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูล ของตนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้ภายในองค์กร เดียวกันหรือจากที่บ้าน อีเมล์ก็จะสามารถเปิดอ่านได้ด้วยวิธีการเดียวกัน โดยความลับไม่รั่วไหลแม้จะไม่ใช้รหัสผ่าน
Ø โทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคโนโลยีจำม่านตาทำให้คนร้าย ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ที่ขโมยไปได้ Ø ในกรณีที่นำไปใช้กับรีโมตทีวี เทคโนโลยีก็ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการ ปิดเข้าสู่รายการเปย์เปอร์วิว รวมทั้งสามารถควบคุมการเปิดดูรายการไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก
Ø การรักษาความปลอดภัยของอาคารและยานพาหนะ เทคโนโลยีจะป้องกันบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในบ้าน หรืออาคารธุรกิจและป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้ยานพาหนะโดยไม่ได้รับอนุญาต
Ø ความปลอดภัยของรถยนต์ จะทำให้การสตาร์ทรถยนต์ สามารถทำให้ได้โดยเพียงแต่กดปุ่ม
Ø งานตรวจคนเข้าเมือง และหนังสือเดินทางตามจุดเข้าประเทศ ก็สามารถจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจำม่านตาได้ เช่น อาจจะมีการจัดช่องฟาสต์เลนสำหรับบุคคลที่ลงทะเบียน ไว้โดยคนเหล่านี้จะถูกตรวจสอบเอกลักษณ์เทียบจากฐานข้อมูลส่วนกลาง จะผ่านเข้าออกจุดตรวจได้อย่างรวดเร็วโดยไม่เสียเวลา
Ø ประโยชน์และศักยภาพในการใช้งานของระบบจำม่านตามีขอบข่ายกว้างขวาง เช่นธุรกิจสามารถจะตรวจสอบลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ บริการส่วนบุคคลใหม่ๆ ที่ต้องให้ผู้ใช้บริการแสดงตัว ก็จะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ในขณะที่ธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ก็สามารถจะทำได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
Ø การนำระบบจำม่านตามาใช้จะทำให้คนเรามีเครื่องมือ ระบุตัวบุคคลไปทุกสถานที่ตลอดเวลา ไม่มีการทำหายหรือลืมไว้ที่บ้าน
Mega Matcher, Scalable AFIS Technology
เอกลักษณ์ซึ่งเป็นที่ดึงดูดใจนักพัฒนาระบบไบโอเมตริกซ์ขนาดใหญ่คือ
Ø ความน่าเชื่อถือ Neurotechnologija ได้พัฒนา algorithmใหม่ที่สมบูรณ์สำหรับระบบ Mega Matcher โดย Algorithmนี้ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงเมื่อใช้ในแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ Receiver Operating Curves (ROCs) ซึ่งได้จากการทดสอบด้วยฐานข้อมูลของเครื่องอ่านลายนิ้วมือCross Match Verifier 300 และ Identix DFR 2090 แสดงการเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของระบบMega Matcher (สีแดง) กับระบบ Veri Finger 4.2 (สีเขียว) ภายใต้สภาวะเงื่อนไขเดียวกัน เส้นโค้งROCs เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าระบบ Mega Matcher ให้ผลลัพธ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงสำหรับระบบAFIS ขนาดใหญ่
Ø ความเร็วในการยืนยัน ระบบ Mega Matcher สามารถทำการยืนยนได้ 9,000 ถึง 60,000 ลายนิ้วมือต่อวินาทีเมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ความเร็วในการยืนยันนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างมากโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องช่วยกันทำการประมวลผล (PC Cluster) (ดูแผนภาพด้านล่าง)
Ø Mega Matcher ประกอบด้วยซอฟท์แวร์ AFIS Cluster สำหรับทำการยืนยันแบบขนาน(Parallel Matching) ซึ่งทำให้มีความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานสูง
Ø ความเร็วในการยืนยันเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเพิ่ม-ลดจำนวนได้ตามความต้องการของระบบ ตัวอย่างเช่น ระบบ AFIS ที่มีคอมพิวเตอร์ 10 เครื่องสามารถทำการยืนยันได้มากถึง 600,000 ลายนิ้วมือต่อวินาที ในขณะที่ถ้ามีคอมพิวเตอร์อยู่ 100 เครื่องจะสามารถยืนยันได้ถึง 6,000,000 ลายนิ้วมือต่อวินาที โครงสร้างที่สามารถเพิ่ม-ลดขนาดได้นี้ทำให้การตอบสนองของระบบ AFIS รวดเร็วขึ้นเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถใช้ได้เมื่อมีความต้องการในการยืนยันจำนวนมาก เช่นเมื่อมีลายนิ้วมือ 10 ล้านลายในฐานข้อมูลและมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 100เครื่อง (ความเร็ว 3GHz) ระบบ AFIS จะสามารถประมวลผลได้ตั้งแต่ 8,000 ถึง 50,000 ความต้องการต่อวันขึ้นอยู่กับประเภทของปัญหา ประมวลผลเร็ว โครงสร้างที่สามารถเพิ่ม-ลดขนาดได้ของระบบ AFIS นี้ทำให้สามารถประมวลผลได้ทันที (Real-time Processing) Cluster สามารถรองรับฐานข้อมูลที่มีขนาดไม่จำกัดได้ สามารถรองรับความผิดพลาดได้ ในกรณีที่มีส่วนประกอบใดของ cluster เกิดทำงานต่อไปได้โดยไม่ถูกรบกวน
Ø Mega Matcher รองรับมาตรฐานไบโอเมตริกซ์ ANSI/NIST ITL-1-2000 และ ANSI/INCIST 378 2004 ดังนั้น template ลายนิ้วมือของระบบ Mega Matcher จะสามารถถูกส่งไปยังระบบยืนยันตัวบุคคลระบบอื่นได้และในกรณีตรงกันข้ามลายนิ้วมือจากระบบอื่นก็สามารถถูกนำมาใช้ยืนยันตัวใน Mega Matcher ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ระบบยังรองรับรูปแบบการเก็บภาพลายนิ้วมือแบบWSQ อีกด้วย
Ø เทคโนโลยีนี้ทำให้สามารถทำการยืนยันระหว่างลายนิ้วมือแบบหมุนทั้งนิ้วกับแบบบริเวณส่วนกลางของนิ้วได้ โดยทั่วไปแล้วการยืนยันระหว่างลายนิ้วมือแบบหมุนทั้งนิ้วกับแบบบริเวณส่วนกลางของนิ้วโดยใช้ algorithm ของการยืนยันลายนิ้วมือแบบบริเวณส่วนกลางของนิ้วจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า เนื่องจากการเสียรูป (Deformation) ของลายนิ้วมือแบบหมุนทั้งนิ้ว ระบบ Mega Matcher จะทำการยืนยันลายนิ้วมือแบบบริเวณส่วนกลางของนิ้ว-แบบบริเวณส่วนกลางของนิ้ว แบบบริเวณส่วนกลางของนิ้ว-แบบหมุนทั้งนิ้ว หรือ แบบหมุนทั้งนิ้ว-แบบหมุนทั้งนิ้วได้ด้วยความน่าเชื่อถือสูง
Ø Mega Matcher สามารถทำงานผ่านเครือข่ายได้ เนื่องจากระบบ Mega Matcher ถูกออกแบบให้กระจายส่วนการทำงานต่างไปบนระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ø ได้รับการประเมินผลการทำงานของระบบจากหน่วยงานอิสระ หนึ่งในวิธีการทำงานของระบบ MegaMatcher คือใช้ algorithm ซึ่งได้รับการทดสอบในการประกวด FpVTE 2003 หลังการประกวดนี้ algorithm ใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าถูกพัฒนาขึ้นและรวมเข้ากับชุดพัฒนาMegaMatcher เพื่อใช้เป็น algorithm หลัก
Ø เป็นระบบที่มีอัตราส่วนระหว่างราคา/สมรรถภาพ ที่ดีเยี่ยม ระบบ MegaMatcher สามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์และทำงานร่วมกับ Windows และ Linux OS ได้ ด้วยองค์ประกอบนี้ทำให้ได้หน่วยการคำนวณที่มีสัดส่วนระหว่างราคา/สมรรถภาพที่ได้ประสิทธิผลมากที่สุดสำหรับระบบ ดังนั้นเมื่อพัฒนาด้วยชุดพัฒนา MegaMatcher ราคารวมของระบบ AFIS จะค่อนข้างต่ำทั้งในส่วนซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์
ข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีลายนิ้วมือ
ข้อดี
1) มีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะลายนิ้วมือนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถให้ใครได้ ไม่สามารถทำการเลียนแบบได้ อีกทั้งลายนิ้วมือยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
2) ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นเพราะลายนิ้วมือเป็นสิ่งที่ติดตัวเราตลอดเวลา
3) เทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเทคโนโลยีไบโอเมตริกในด้านอื่น ๆ
4) แนวคิดของเทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้เป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ง่าย จึงประหยัดเวลาในการที่จะเรียนรู้ของผู้ใช้งาน
5) เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีขนาดเล็ก จึงทำให้ประหยัดไฟ และสามารถนำเครื่องสแกนนั้นไปประยุกต์ใช้บนสิ่งต่าง ๆ ได้สะดวก เช่น แลปทอป โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และแฮนดี้ไดร์ฟเป็นต้น
6) เทคโนโลยีลายนิ้วมือเป็นเทคโนโลยีที่มีมานาน จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จึงทำให้ผู้ผลิตเลือกที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้ จึงสามารถสร้างทางเลือกให้กับลูกค้าได้มาก
ข้อเสีย
1) ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีลายนิ้วมือนี้จะสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ แต่ก็ยังเป็นที่หงุดหงิดรำคาญใจของผู้ใช้งานที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ในทุก ๆ วัน
2) นิ้วมือเป็นส่วนที่ได้รับความสกปรกง่ายกว่าส่วนอื่นของร่างกาย เมื่อเรานำนิ้วไปสแกนอาจทำให้เครื่องนั้นไม่สามารถอ่านได้ นอกจากนั้นยังทำให้เครื่องได้รับความสกปรก ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องสแกนลายนิ้วมือนั้นเสื่อมประสิทธิภาพลงด้วย
3) เทคโนโลยีลายนิ้วมือนั้นยังไม่มีความน่าเชื่อถือได้ 100% จึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ร่วมกับสิ่งที่สามารถระบุตัวตนอื่น ๆ เช่นรหัสผ่าน หรือ หมายเลยพิน
4) คนบางกลุ่มยังมีความเชื่อว่า การใช้ลายนิ้วมือในการระบุตัวบุคคลนั้น เหมือนตนเป็นอาชญากร จึงทำให้คนกลุ่มดังกล่าวนั้นไม่อยากที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ ส่งผลให้เทคโนโลยีลายนิ้วมือนั้น ไม่เป็นที่แพร่หลายให้บางพื้นที่ บางประเทศ
5) เนื่องจากเทคโนโลยีลายนิ้วมือนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว จึงทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีลายนิ้วมือออกมาอย่างหลากหลาย จึงทำให้เกิดความไม่เข้ากันของเทคโนโลยีลายนิ้วมือ