ไหลตาย คืออะไร?
อาการไหลตาย เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะอย่างกะทันหัน ทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการที่มีลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจกะทันหัน จนทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน หรือเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นการสืบทอดมาจากพันธุกรรมในครอบครัวนั่นเอง
กลุ่มเสี่ยงอาการไหลตาย
อาการไหลตายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนอายุ 30-50 ปี นอกจากนี้ยังอาจเกิดกับคนที่เคยมีประวัติเกิดภาวะหัวใจเต้นระริกไม่มีการบีบตัว ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือภาวะกระแสไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ รวมทั้งอาการหายใจ
ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการไหลตาย
- มีไข้สูง และไม่รีบรักษาให้ไข้ลดลงอย่างเร่งด่วน
- ดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยานอนหลับ
- ใช้สารเสพติด
- ทานอาหารประเภทแป้งมากเกินไป รวมถึงอาหารรสเค็มจัด ทำให้ขาดโพแทสเซียม ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ
-
การป้องกันภาวะไหลตาย
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะไหลตายที่ได้ผล อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไหลตาย ทำได้ดังนี้
- ควรรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล หากมีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ เช่น มีอาการท้องเสีย ควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และอาจดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียไป
- ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ ผู้ที่ทราบว่าตนเองเสี่ยงเกิดภาวะไหลตายควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับประทานยาทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งละมาก ๆ
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวเสียชีวิตจากภาวะไหลตายหรือมีอาการเข้าข่ายเป็นภาวะนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการวินิจฉัยเพิ่มเติมและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ขอบคุณข้อมูล https://www.pobpad.com/ และ https://www.sanook.com/health/