ระบบหน่วยระหว่างชาติ (International System of Units)
หน่วยฐานเอสไอ – การขึ้นต่อการของนิยามในหน่วยฐานเอสไอทั้งเจ็ด
หน่วยฐานเอสไอ (อังกฤษ: SI base unit) เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน โดยหน่วย เอสไอ อื่นๆที่เรียกว่าหน่วยอนุพันธ์เอสไอ จะเกิดจากการนำหน่วยฐานเอสไอมาประกอบกันทั้งหมด หน่วยฐานเอสไอมีทั้งหมด 7 หน่วยได้แก่
- เมตรสำหรับวัดความยาว
- กิโลกรัมสำหรับวัดมวล
- วินาทีสำหรับวัดเวลา
- แอมแปร์สำหรับวัดกระแสไฟฟ้า
- เคลวินสำหรับวัดอุณหภูมิอุณหพลวัติ
- แคนเดลาสำหรับวัดความเข้มของการส่องสว่าง
- โมลสำหรับวัดปริมาณของสาร
นิยามของหน่วยฐานเอสไอ
ชื่อหน่วย | สัญลักษณ์ | ปริมาณ | นิยามเอสไอ | นิยามดั้งเดิม |
---|---|---|---|---|
เมตร | m | ความยาว | “หนึ่งเมตรคือความยาวที่แสงเดินทางได้ใน สุญญากาศ ในช่วง เวลา 1/299 792 458 วินาที”
17th CGPM (1983, Resolution 1, CR, 97) |
1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้น ศูนย์สูตร ของโลก ไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวง ที่ผ่านเมืองปารีส |
กิโลกรัม | kg | มวล | “หนึ่งกิโลกรัมคือมวลที่เท่ากับมวลต้นแบบ กิโล กรัมสากล (ทรงกระบอกแพลทินัม-อิริเดียม) เก็บไว้ที่ Bureau International des Poids et Mesures (BIPM), Sèvres, Paris” (1st CGPM (1889), CR 34-38) |
มวลของน้ำหนึ่งลิตรที่อุณหภูมิ 4 °C |
วินาที | s | เวลา | “หนึ่งวินาทีคือช่วงเวลา 9 192 631 770 เท่าของ คาบการแผ่รังสีที่เกิดจา กการเปลี่ยนสถานะระดับ ไฮเพอร์ไฟน์ของ สถานะพื้นของอะตอม ซีเซียม-133 ที่สถานะพื้น (ground state)”
(13th CGPM (1967-1968) Resolution 1, CR 103) |
นิยามมาจากหนึ่งวันแบ่งออกเป็น 24 ชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง แบ่งออกเป็น 60 นาที และหนึ่งนาทีแบ่งออกเป็น 60 วินาที ดังนั้นหนึ่งวินาทีจึงเท่ากับ 1/(24 × 60 × 60) ของหนึ่งวัน |
แอมแปร์ | A | กระแส ไฟฟ้า |
“หนึ่งแอมแปร์เท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่คงที่ ที่ให้กับลวดตัวนำตรงและขนานกัน 2 เส้น ที่มี ความ ยาวไม่จำกัดและมีพื้นที่หน้าตัดน้อยจน ไม่ต้อง คำนึงถึง และวางห่างกัน 1 เมตรในสุญญา กาศแล้ว จะมีแรงระหว่างตัวนำทั้งสองเท่ากับ 2×10 −7 นิวตัน ต่อความยาว 1 เมตร”
(9th CGPM (1948) Resolution 7, CR 70) |
เดิมหนึ่งแอมแปร์ถูกนิยามจากไฟฟ้าเคมี ซึ่งเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เกิดโลหะเงิน จำนวน 1.118 มิลลิกรัมต่อวินาที จากสาร ละลายซิวเวอร์ไนเตรต ซึ่งแตกต่าง จากแอม แปร์ตามนิยามของเอสไออยู่ ประมาณ 0.015% |
เคลวิน | K | อุณหภูมิ อุณหพลวัติ |
หน่วยของอุณหภูมิอุณหพลวัติ (หรืออุณหภูมิสัมบูรณ์) มีค่าเท่ากับ 1/273.16 องอุณหภูมิอุณหพลวัติ ของจุด ร่วมสามสถานะของน้ำ
13th CGPM (1967/68, Resolution 4; CR, 104) “โดย |
เคลวินนำการวัดอุณหภูมิแบบองศาเซล เซียสมาประยุกต์ใช้โดยเพิ่มเติมให้ 0 เคลวิน เท่ากับศูนย์อง ศาสัมบูรณ์ โดย ใช้สเกลเดียว กับองศาเซลเซียส
ข้อสังเกต: เคลวินเป็นหน่วยวัด |
โมล | mol | ปริมาณ ของสาร |
“1. หนึ่งโมลเท่ากับปริมาณของสารซึ่งประกอบ ด้วยองค์ประกอบมูลฐาน ที่มีจำนวนเท่ากับจำนวน ของอะตอมคาร์บอน-12 ปริมาณ 0.012 กิโลกรัม / 2. เมื่อใช้หน่วยโมล ต้องระบุชนิดองค์ประกอบมูลฐาน ซึ่งอาจเป็น อะตอม, โมเลกุล, ไอออน, อิเล็กตรอน, หรือ อนุภาคอื่นๆ”
(14th CGPM (1971) Resolution 3, CR 78)“โดย นิยามดังกล่าวให้หมายถึงอะตอม คาร์บอน-12 ที่เป็น อิสระ อยู่ในสถานะพื้น และหยุดนิ่ง (เพิ่มเติมใน CIPM ปี 1980) |
หนึ่งโมลหมายถึงปริมาณของสารที่มีมวล (ในหน่วยกรัม) เท่ากับมวลอะตอม หรือมวล โมเลกุลพอดี มีค่าประมาณ 6.02214199× 1023 หน่วย (ดูเพิ่มที่ เลขอาโวกาโดร) |
แคนเดลา | cd | ความเข้ม ของการ ส่องสว่าง |
“หนึ่งแคนเดลาเท่ากับความเข้มส่องสว่างในทิศ ที่กำหนดของแหล่งกำเนิด ที่แผ่รังสีของแสง ความถี่ เดียวที่มีความถี่ 540×1012 เฮิรตซ์ และ มีความเข้ม ของการแผ่รังสีในทิศทางนั้นเท่ากับ 1/683 วัตต์ต่อ สเตอเรเดียน” 16th CGPM (1979, Resolution 3; CR, 100) |
แคนเดลามาจากคำว่าแรงเทียน (Candle Power) ซึ่งประมาณความสว่างของ เทียน หนึ่งเล่ม |
การปรับปรุงนิยามในอนาคต
ตั้งแต่ปีการประชุมระบบเมตริกในปี 1875 เป็นต้นมามีการปรับปรุงนิยามของเอสไอและเพิ่มจำนวนหน่วยฐานเอสไอ หลายครั้ง หลังจากที่มีการเปลี่ยนนิยามหน่วยเมตรใหม่ในปี 1960 หน่วยกิโลกรัม จึงเป็นหน่วยเดียวที่นิยามจากสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้น ทั้งๆ ที่หน่วยอื่นๆ จะนิยามจากคุณสมบัติทางธรรมชาติ แต่ว่าหน่วยโมล แอมแปร์ และ แคนเดลา ก็มีนิยามที่ขึ้นต่อ หน่วยกิโลกรัมด้วย ทำให้นักมาตรวิทยาหลายคนพยายามหาวิธีการนิยามหน่วยกิโลกรัมใหม่จากค่าคงที่พื้นฐานในธรรมชาติ เช่นเดียวกับการ ที่หน่วยเมตร ถูกนิยามโดยผูกติดกับความเร็วของแสง
ในการประชุม CGMP ครั้งที่ 21 ในปี 1999 ได้พยายามค้นหาวิธีการในการนิยามหน่วยกิโลกรัมนี้ โดยแนะนำให้ผูกนิยาม ของกิโลกรัมติดกับค่าคงที่พื้นฐานทางธรรมชาติ ซึ่งน่าจะเป็นค่าคงที่ของพลังค์หรือค่าคงที่อาโวกราโดร
ในปี 2005 การประชุม CIPM ครั้งที่ 94 ได้รับรองการเตรียมการนิยามหน่วยกิโลกรัม แอมแปร์และเคลวินใหม่ และบันทึก การนิยามโมลในรูปแบบของเลขอโวกราโดร ในการประชุม CGPM ครั้งที่ 23 ในปี 2007 ตัดสินว่าให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไปจนถึงการประชุมครั้งถัดไปในปี 2011
เขียนโดยใช้คำ “อุปสรรค (prefix)”
คำอุปสรรค คือ คำที่ใช้เติมหน้าหน่วย SI เพื่อทำให้หน่วย SI ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ที่มา – th.wikipedia.org/wiki/หน่วยฐานเอสไอ