อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet Of Things)
Internet of Things (IoT) พัฒนามาจากเทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Radio-frequency Identification (RFID) โดยพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างวัตถุสิ่งของ หรือโครงสร้างทางกายภาพ เข้ากับโครงสร้างด้านดิจิทัล หรือระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเซ็นเซอร์ เพื่อให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานและวัตถุในเครือข่าย กล่าวคือ ผู้ใช้งานสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานวัตถุสิ่งของในเครือข่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าผ่าน Smart Phone
ในปัจจุบัน วัตถุสิ่งของที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้นั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะ Smart Phone, Tablet หรือคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ไฮเทคที่ได้รับการติดตั้งสมองกล เช่น Smart Watch, Smart Glass หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ ระบบไฟส่องสว่าง เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยี IoT ถูกนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ จนถึงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Smart Home หรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในบ้านเข้าด้วยกัน และสั่งการจากส่วนกลาง และ Industrial Internet หรือการเชื่อมต่อระบบการผลิตในโรงงานเข้าด้วยกัน และควบคุมสั่งการจากส่วนกลาง โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT มีแนวโน้มในเชิงจำนวนและความหลากหลายมากขึ้น มีการคาดการณ์จากบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศว่า
IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูล
Google Glass เป็นแว่นตาที่คอมพิวเตอร์และหน้าจอติดตั้งอยู่กับตัวแว่น และมีกล้องติดอยู่ ขาแว่นรองรับการใช้งานระบบสัมผัส และรองรับการสั่งงานด้วยเสียง ปัญหาคือด้วยพื้นที่การแสดงผลที่มีจำกัด มันจะทำอะไรได้บ้าง คงเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัย เพราะราคาของมันในตอนนี้วางจำหน่ายอยู่ที่ $1,500 คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 49,000 บาท เราคงไม่เสียเงินครึ่งแสนกับแว่นตาที่ทำได้แค่ถ่ายรูปแน่ๆ ใช่ไหม
คำตอบก็คือ Google Glass ถ้าพูดไปมันก็ทำให้เราเหมือนมี Google ติดตัวเราตลอดเวลา มันสามารถแสดงข้อมูลจากสมาร์ท โฟนหรือ Google accounts บนหน้าจอของ Google Glass, รับสายที่โทรเข้ามา, ส่งข้อความ, ถ่ายรูปและวิดีโอ, แสดงแผนที่, แสดงผลการค้นหา และทีเด็ดที่สุด คือ รองรับ Google Now ด้วย
จากเทคโนโลยี RFID สู่โลกของ Internet of Things
ย้อนไปเมื่อปี 1999 นาย Kevin Ashton ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble หรือ P&G ที่เราคุ้นเคย ซึ่งการบรรยายในครั้งนั้นเขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า Auto-ID Center ซึ่งต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้นนาย Kevin Ashton ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกับกับระบบอินเตอร์เน็ตนั้นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น
ตู้ ATM ถือเป็นอุปกรณ์ Internet of Things ชิ้นแรก
จากคำนิยามที่นาย Kevin Ashton ได้บรรยายไว้ ก็ได้มีการยกตัวอย่างเจ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าข่ายถือเป็น Internet of Things ได้นั้นก็พบว่าเจ้าตู้ ATM ที่เราใช้กดเงินกันอยู่ทุกวันนี้นี่แหละถือเป็น Internet of Things ชิ้นแรกของโลก เพราะมันสามารถเชื่อมต่อสื่อสารหากันได้ผ่านเครือข่ายของธนาคารและสาขาต่างๆ ซึ่งเจ้า ATM นั้นถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1974 ก่อนที่จะมีการนิยามคำว่า Internet of Things เสียด้วยซ้ำ
ต่อมาหลังปี 2000 โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ smart device, smart grid,
smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่างๆเหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อ
กับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกันโดยอาศัยตัว
Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart devices ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์
ตัวอื่นได้ด้วย
ในปี 2020 จะมีรถยนต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตถึง 250,000 คัน
และเมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กๆที่เป็น Internet of Things สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ทำไม Things อย่างรถยนต์ทั้งหลาย
จะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเขาบ้างไม่ได้ ตัวอย่างรถยนต์ที่ว่านั้นก็คือรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla ที่เชื่อมต่อข้อมูลของตัวรถเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
และศูนย์ข้อมูลของ Tesla motor ในการอัพเดทข้อมูลสำคัญๆต่างๆให้กับตัวรถยนต์และผู้ขับขี่ หรืออย่างโครงการ Google’s Self-Driving
Car รถยนต์ไร้คนขับของกูเกิลที่นำระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาร่วมประมวลผลในการคำนวนเส้นทางต่าง (คล้ายกับที่เราเปิด Google Maps
เพื่อค้นหาเส้นทาง) โดยกูเกิลได้นำข้อมูลของรถยนต์กว่า 10,000คันไปประมวลผลในแต่ละสัปดาห์เพื่อหาวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยที่สุดให้กับรถยนต์
ไร้คนขับของกูเกิล และในปัจจุบันก็มีหลายค่ายรถยนต์ก็เริ่มพัฒนารถยนต์ให้มีความสามารถในลักษณะนี้เพิ่มขึ้น และอาจจะมีการต่อยอดแนวคิดนี้ขึ้นไป
อีก โดยอาจจะไปถึงขั้นที่ในอนาคตเราจะได้เห็นรถยนต์แต่ละคันตามท้องถนนสามารถสื่อสารกันแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพื่อนำไปประมวลผล
การเรื่องขับขี่ที่ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นเอง
ปัจจุบัน IoT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
- Industrial IoTs: แบ่งจาก Local Network มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor Nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้ จะเชื่อมต่อแบบ IP Network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
- Commercial IoTs: แบ่งจาก Local Communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (Wired Or Wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor Nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ Local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต
การที่เทคโนโลยีเป็นที่แพร่หลายนั้นไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว แต่เทคโนโลยีนั้นต้องส่งมอบประโยชน์ต่อชีวิตของผู้ใช้ด้วย ซึ่ง IoTs ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย
รับส่งข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล
IoTs มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลทางภายภาพให้อยู่ในรูปดิจิทัลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงนับเป็นประโยชน์อย่างมากในยุค Digital Transformation
ทำงานตรวจสอบในจุดที่คนเข้าไม่ถึง
เราสามารถออกแบบ Smart Device ให้มีขนาดเล็กและทนทาน เพื่อติดตั้งตามจุดที่คนเข้าถึงยากหรือในจุดที่มีอันตรายระหว่างดำเนินการได้ เช่น ภายในท่อส่งน้ำมัน บ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการเข้าพื้นที่อันตรายเป็นประจำได้
ลดภาระงานให้กับบุคลากร
ในอดีตการเก็บข้อมูลต้องใช้คนในการสอดส่องที่เครื่องมือเพื่อหาความผิดปกติ แต่ปัจจุบัน IoTs ไม่เพียงแต่สอดส่องให้เราผ่าน Dashboard เท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้และหาความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ อย่าง Artificial Intelligence เป็นต้น
แม่นยำ! และส่งข้อมูลได้แบบ Real-Time
ข้อมูลจาก IoT ไม่เพียงแต่เป็นดิจิทัลเท่านั้น ยังสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วระดับ Real-Time มีความแม่นยำ และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ทันที
จะเห็นได้ว่า IoTs มีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของเราและสังคมรอบข้างในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงยังเข้าไปมีความเกี่ยวข้องกับแวดวงต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจและสังคมมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง
Internet of Thing นั้นหากถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ จะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก ในแง่ของความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากในการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงมีข้อบกพร่อง ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
ปัญหาด้านการส่งข้อมูล : หัวใจหลักของแนวคิด Internet of Thing คือระบบเครือข่ายที่เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ และเครือข่ายที่สำคัญที่สุดคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายความว่าแนวคิดนี้จะต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากเครือข่ายดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว หรือเกิดการผิดพลาดทางการส่งข้อมูล ก็จะส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้
ปัญหาด้านความปลอดภัย : เมื่อทุกสิ่งถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน การรักษาความปลอดภัยยิ่งสามารถทำได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องจากหากสามารถเจาะเข้าอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครือข่ายนั้นได้ ก็จะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแนวความคิด Internet of Thing นั้นคือการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ดังนั้นอุปกรณ์ทุกชิ้นจึงเปรียบเสมือนอยู่ในเครือข่ายข้อมูลเดียวกัน เท่ากับว่าข้อมูลทุกชนิดที่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งได้รับ อุปกรณ์ชิ้นอื่นก็จะได้รับด้วย เนื่องจากต้องนำไปประมวลผลเพื่อทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อนที่แนวคิดนี้จะถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์คงต้องมีการพัฒนาด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเสียก่อน