มารู้จักตัวคันจิ ในภาษาญี่ปุ่น เบื้องต้น
ตัวคันจิ「漢字かんじ」เป็นตัวอักษรที่ยืมมาจากภาษาจีน การเรียกรู้ตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่นนั้น จำเป็นต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างสูง เนื่องจากมีวิธีอ่านหลายแบบ สำหรับตัวคันเกิดจากการวาดภาพตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา, แม่น้ำ, ต้นไม้, พระอาทิตย์ และ พระจันทร์ เป็นต้น ต่อมาพัฒนาจนกลายเป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน
หากไม่มีตัวคันจิ หรือ ภาษาที่ยืมจากต่างประเทศมาใช้แบบทับศัพท์เลย คนญี่ปุ่นต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นแบบแท้ๆที่จะต้องออกเสียงยาวมาก และ สื่อความหมายได้ยาก เช่น
※便利性べんりせいを徹底的てっていてきに追及ついきゅう
べんりせいをてっていてきについきゅう
※調整ちょうせい、新車しんしゃ、海水かいすい、
しらべ+ととのえ、あたら・しい+くるま、うみ+みず
ความสำคัญของตัวคันจิ
ตัวคันจิ คือ ตัวอักษรที่สื่อความหมายในตัวของมันเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาสะกด และช่วยประหยัดพื้นที่ในการเขียนเรียงความ ภาษาทางการ ซึ่งพื้นที่ใช้สอยมีจำกัด ตัวคันจิบางประเภท เช่น ชื่อคน ชื่อสัตว์ ชื่อพืช ชื่อสถานที่ หรือ ตัวที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่เป็นคำประสมในภาษาญี่ปุ่น ล้วนแต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากไม่เคยรู้คำอ่าน ไม่เคยใช้จริงมาก่อน หรือเป็นตัวคันจิที่มีความซับซ้อนมาก เขียนยาก จะไม่นิยมใช้(ในภาษาญี่ปุ่นจะเขียนเป็นตัวคาตาคานะแทน) เนื่องจากตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่น อ่านได้หลายแบบ มีความหมายแฝงแล้วแต่คนเขียนจะสื่อ เราจึงสังเกตได้ในบางครั้งว่า ด้านบนตัวคันจิจะมีตัว ฮิรางานะ หรือ คาตาคานะ กำกับไว้ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น หรือ ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายแฝงนั้นๆ ขอยกตัวอย่างคันจิที่อ่านยากๆ และต้องมีตัว ฟุริงานะ หรือ รูบี้ กำกับ
1) 濱保はまやす = ชื่อคน
2) 海豚いるか = ปลาโลมา
3) 薔薇ばら = ดอกกุหลาบ
4) 猪苗代いなわしろ = อินาวาชิโระ(ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว)
5) 順風満帆じゅんぷうまんぱん = ดำเนินการได้อย่างราบรื่น
ตัวอย่างวิธีการจำคันจิ
หากต้องการเขียนคำว่า 家 ที่แปลว่า “บ้าน” หากเราคัดไปเฉยๆจะจำได้ ด้วยสมองและความเคยชิน โดยขาด จินตนาการ! ก่อนเขียน ”บ้าน” เราต้องเริ่มเขียนจากหลังคาก่อน ซึ่งหลังคาตัวนี้เองมีที่มาจาก ตัว ウ ในคาตาคานะ
โครงสร้างของอักษรคันจิ
อักษรคันจิได้ถูกนำมาใช้ใน ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ประมาณ คริสตศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ สมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน นั่นเป็นเหตุให้อักษรคันจิมีความหมายว่า “อักษรของชาวฮั่น” (ถึงแม้ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว อักษรคันจิถูกประดิษฐ์ขึ้นก่อนยุคราชวงศ์ฮั่นก็ตาม) ในยุคนั้น ญี่ปุ่นยังไม่ปรากฎภาษาเขียน มีแต่เพียงภาษาพูดเท่านั้น การนำอักษรคันจิมาใช้จึงทำให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาภาษาเขียนขึ้นได้ นอกจากนั้นยังทำให้ภาษาญี่ปุ่นมีความหลากหลายมากขึ้น เปรียบเทียบได้กับที่ ภาษาอังกฤษยืมภาษาลาตินมาใช้ หรือ ภาษาไทย ยืมภาษาสันกฤตมาใช้นั่นเอง
จำนวนอักษรคันจิ
เมื่อปี 1972 สมาคมมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (Japan Industrial Standard) ได้ประมวลอักษรคันจิที่ควรรู้ไว้กว่า 6,000 ตัว ซึ่งถือเป็นความรู้ระดับสูง ส่วนคันจิที่ใช้ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆนั้น นับได้ประมาณ 3,000 ตัว
ในปี 1982 กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ได้ กำหนด ชุดของอักษรคันจิที่เรียกว่า อักษรคันจิที่ใช้ประจำ (Permanent Use Kanji 常用漢字 “โจโยคันจิ“) ไว้มีจำนวน 1,954 ตัว โดยแบ่งเป็น คันจิในระดับประถม 996 ตัว ตาม ความยากง่ายดังนี้ ประถม1=76 ตัว ประถม2=145 ตัวประถม 3=195 ตัว ประถม4=195 ตัว ประถม5=195 ตัว และ ประถม6=190 ตัว ส่วนที่เหลืออีก 949 ตัว เป็นระดับมัธยม
เราจะพบ “โจโยคันจิ” 1,954 ตัว นี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากเป็นอักษรคันจิที่ใช้บ่อย กล่าวกันว่า หากรู้จักมากถึง 1,000 ตัวแรก ก็จะครอบคลุมคันจิที่ใช้ในหนังสือพิมพ์ได้ถึง 90% ทีเดียว
เมื่อเริ่มแรกที่มีการผลิตพจนานุกรม ภาษาจีนขึ้นเมื่อ คริสตศตวรรษที่ 2 อักษรคันจิแบ่งออกได้เป็น 6 แบบ คือ
- อักษรรูปภาพ (Pictograph 象形文字 โชเคโมจิ) เป็นอักษรที่แสดง สถาพทางกายภาพของวัตถุอย่าง ง่ายๆ เช่น อักษร ต้นไม้ 木
,แม่น้ำ 川 ,ภูเขา 山 , ปาก 口
- อักษรแสดงสัญญลักษณ์ (Symbolic 指示文字 ชิจิโมจิ) เป็นอักษรที่ใช้แทนการบรรยาย สภาพสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างง่าย เช่น อักษร
ขี้น 上 , ลง 下 ,การหมุน 回
- อักษรความหมาย (Ideographs 会意文字 ไคอิโมจิ )เป็นอักษรที่ใช้ในการแทนความหมาย มักเกิดขึ้นจากการนำเอาอักษรภาพสองตัวขึ้นไปมาผสมกัน แล้วเกิดเป็นอักษรใหม่ เช่น
ต้นไม้ 木+ต้นไม้木 =林 ป่าโปร่ง
ดวงอาทิตย์日+ ดวงจันทร์月 = 明 สว่าง
คน イ+ ต้นไม้木 = 休 การพักผ่อน
ภูเขา山 + ขึ้น上 +ลง下 =峠 ช่องเขา
4.อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย (Phonetic-Ideograph or Semasio-Phonetic 形声文字 เคเซโมจิ) เป็นอักษรที่ประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่สื่อความหมาย ส่วนหนึ่ง และ ส่วนที่แสดงเสียง อีกส่วนหนึ่ง ประกอบกันขึ้นเป็นอักษรใหม่ เป็นอักษรประเภทที่มีจำนวนมากที่สุด กว่า 85% ของอักษรคันจิ จัดเป็นอักษรประเภทนี้ ซึ่งยุ่งยาก น่าปวดหัวมากที่สุด
ตัวอย่างเช่น
- อักษร การริน 注 (อ่านว่า “จู”) เกิดจากการผสม ระหว่าง ส่วนที่สื่อความหมาย น้ำหรือของเหลว 氵 กับ ส่วนที่พ้องเสียง 主 (อ่านว่า “จู” เหมือนกัน)
จะเห็นได้ว่า ส่วนแรกคือน้ำ 氵 ใช้สื่อความหมาย ของสิ่งที่เป็นของเหลว เพราะคำว่าริน เราใช้กับของเหลวเท่านั้น ส่วนที่สอง คือ 主 “จู” เป็นส่วนที่ใช้แทนเสียง
- อักษร ยุง 蚊 (อ่านว่า “บุง”) เกิดจากการผสมระหว่าง ส่วนที่สื่อความหมาย แมลง 虫 กับ ส่วนที่พ้องเสียง 文 (อ่านว่า “บุง” เหมือนกัน)
- จะเห็นได้ว่า ส่วนแรกคือแมลง 虫 ใช้สื่อความหมาย ของคำว่ายุง เพราะว่ายุงจัดเป็นแมลงประเภทหนึ่ง ส่วนที่สอง คือ 文 “บุง” เป็นส่วนที่ใช้แทนเสียง
5.อักษรที่ยืมความหมายมาใช้ (Characters of borrowed meaning and pronunciation 転注文字 เทนจูโมจิ) เป็นอักษรที่ความหมาย หรือการออกเสียง ถูกยืมมาใช้ เช่น อักษร การถือครอง 占 ในความหมายเดิมหมายถึงการทำนายทายทัก
6.อักษรยืมเสียง (Phonetically borrowed characters 仮借文字 คะชาคึโมจิ) เป็นอักษร ที่เสียงถูกยืมมาใช้เพื่อประกอบเป็นความหมายใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมายดั้งเดิมแต่อย่างใด เช่น อเมริกา 亜米利加 ( อะ เมะ ริ คะ A-me-ri-ka)
ปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ
ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า คำว่า “คันจิ” แปลว่า “อักษรของชาวฮั่น (ซึ่งก็คือชาวจีนนั่นเอง)” เป็นตัวอักษรที่ญี่ปุ่นยืมมาจากจีน ที่ว่ายืมนั้น เป็นการยืมมาทั้ง 1 รูปแบบตัวอักษร, 2 ความหมาย และ 3 เสียงอ่าน
- ในส่วนของ 1 และ 2 คือการยืม รูปแบบตัวอักษร และความหมาย มาใช้นั้น ยังคงเหมือนภาษาดังเดิม คือ ภาษาจีน ดังนั้น ถ้าเรานำตัวอักษรคันจิให้คนจีน หรือ คนไต้หวันดู เขาจะรู้ความหมายเข้าใจตรงกับ คนญี่ปุ่น ได้โดยไม่ยาก
- ที่พิสดารน่าปวดหัวคือข้อที่ 3 เสียงอ่าน… ส่วนของเสียงอ่านที่ญี่ปุ่นยืมมานั้น เป็นเสียงอ่านแบบ ภาษาจีนกลาง หรือก็คือ ภาษาแมนดาริน ซึ่งถ้ายืมมาใช้ตรงๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร.. แต่ที่ทำให้ปวดหัวมีอยู่สองถึงสามประเด็นคือ
- ญี่ปุ่นออกเสียงภาษาจีนกลาง ที่ยืมมานั้น ตรงๆ ไม่ได้…จึงได้ทำการดัดแปลงเสียงอ่านภาษาจีนกลางนั้นให้เข้ากันได้กับลิ้นของตนเอง ในทางภาษาศาสตร์ เรียกเสียงอ่านแบบนี่ว่า “เสียงอ่านแบบจีน (On-yomi 音読み)” ซึ่งถ้าพูดอย่างเคร่งครัดก็ต้องเรียกว่า “เสียงอ่านแบบจีน-สำเนียงเป็นญี่ปุ่น” ซึ่งพจนานุกรมจะแสดงด้วยอักษรคาตาคานะ อาจกล่าวได้ว่า อักษรคันจิทั้งหมดเข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับเสียงอ่านตามภาษาจีนกลาง ที่ผิดเพื้ยนไปจาก เสียงอ่านเดิม เนื่องจากถูกปรับให้เข้ากับระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น
- อักษรคันจิหลาย ๆตัวมี “เสียงอ่านแบบจีน (On-yomi 音読み)” มากกว่า 1 เสียง คือเขียนเหมือนกันแต่อ่านได้ 2 หรือ 3 อย่าง ทั้งนี้เป็นเพราะเสียงอ่านแต่ละเสียง เข้ามาในญี่ปุ่นต่างยุคสมัย ต่างวิธีการ และมาจากต่างภูมิภาคของจีน นอกจากนี้ บางคำยังแตกความหมายออกไป ทำให้เกิดเสียงใหม่ด้วย
- ญี่ปุ่นมีการออกเสียงดั้งเดิมของตนเองอยู่ก่อนแล้ว… ก่อนที่จะยืมเสียงอ่านของจีนมาดัดแปลงใช้ ซึ่งเสียงดั้งเดิมนั้นทิ้งไปก็ไม่ได้ เสียงใหม่ก็รับเข้ามา จึงเกิดมีความซับซ้อนขึ้นมา เสียงอ่านแบบดั้งเดิมนั้นในทางภาษาศาสตร์ เรียกว่า “เสียงอ่านแบบญี่ปุ่น (Kun yomi 訓読み) ซึ่งพจนานุกรมจะแสดงด้วยอักษรฮิราคานะ
เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ
จาการสำรวจพบว่า ส่วนที่พ้องเสียงของ อักษรคันจิ ประเภท ที่ 4 คือ อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย (Phonetic-Ideograph or Semasio-Phonetic 形声文字 เคเซโมจิ) นั้น แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
- a) อักษรคันจิ ที่มี ส่วนที่พ้องเสียง เหมือนกัน และมีเสียงอ่าน แบบ 音読み องโยมิ เหมือนกัน เช่น
時、持、寺 อ่านว่า “จิ” เหมือนกันหมด อักษรประเภทนี้ มีอยู่ประมาณ 58%
- b) อักษรคันจิ ที่มี ส่วนที่พ้องเสียง เหมือนกัน แต่มีเสียงอ่าน แบบ 音読み องโยมิ คล้ายกัน เช่น
อักษร 古 อ่านว่า “โคะ” ส่วนอักษร 苦 อ่านว่า “คึ” อักษรประเภทนี้ มีอยู่ประมาณ 33%
- c) อักษรคันจิ ที่มี ส่วนที่พ้องเสียง เหมือนกับ จะมีเสียงอ่าน แบบ 音読み องโยมิ ต่างกัน เช่น
อักษร 十 อ่านว่า “จู” แต่ อักษร 針 อ่านว่า “ชิน” อักษรประเภทนี้ มีอยู่ประมาณ 9%
โครงสร้างของอักษรคันจิ
ถึงแม้ว่าอักษรคันจิ จะมีบางประเภท ที่เข้าใจง่าย เช่น อักษรรูปภาพ หรือ อักษรสัญญลักษณ์ ดังได้กล่าวข้างต้น แต่อักษร เหล่านี้จัดเป็นพวกชนกลุ่มน้อย ซึ่งมีอยู่ไม่ถึง หนึ่งร้อยตัว ดังนั้น ถ้ามีผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น มาบอกท่านว่า อักษรคันจินั้นง่ายมาก ๆ ก็ขอให้รู้ไว้ว่า จริงเป็นบางส่วนเท่านั้น
(อักษรที่ว่าง่ายนั้นจริงๆแล้ว คืออักษร คันจิ ประถมหนึ่ง ซึ่งมีอยู่เพียง 76 ตัวเท่านั้น)
อักษรคันจิที่เหลือ กว่า 95% จะประกอบด้วยสองส่วนขึ้นไป หนึ่งในสองส่วนนี้ มีส่วนที่เป็นองค์ประกอบหลัก หรือ รากของคันจิ เรียกว่า “บุชุ ー部首 bushu”
“บุชุ” หมายถึงส่วนของคันจิ ที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมายคร่าว ๆของอักษรนั้น ๆ ซึ่งอาจปรากฎอยู่ ข้างซ้าย ข้างขวา บนหรือ ล่าง ของตัวอักษรก็ได้ทั้งสิ้น อักษรคันจิบางตัว เป็น “ราก” หรือ “บุชุ” ด้วยตัวของมันเอง มีการแบ่งกลุ่ม “บุชุ” ของคันจิ มากว่า 3 ศตวรรษแล้ว
การวางตำแหน่งของ “บุชุ” โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 10 แบบ คือ
1.ทางซ้าย (เรียกว่า เฮน หรือ เบน)
เช่น ตัว イ อยู่ทางซ้ายของ 伊、位、依
- ทางขวา(เรียกว่า ทสึคุริ หรือ ทซึคุริ)
เช่น ตัว リ อยู่ทางขวาของ 利、 莉、 割
- ข้างบน(เรียกว่า คัมมุริ)
เช่น ตัว 宀 อยู่บน 家、寡、字
4. ข้างใต้ (เรียกว่า อาชิ หรือ ชิตะ)
เช่น ตัว 貝 อยู่ใต้ 買、貿、資
- แขวนอยู่ทางซ้าย(เรียกว่า ทาเระ หรือ ดาเระ)
เช่นตัว 广 แขวนอยู่ทางซ้ายของ 店、庄、床
6.ครอบคว่ำ (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่น ตัว 冂 ครอบอยู่บนตัว 円、同、
7.สอดอยู่ทางซ้าย (เรียกว่า เงียว)
เช่น ตัว 之 สอดอยู่ทางซ้ายของ 進、遠、
8.ครอบทางซ้าย (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 匚 ครอบทางซ้ายของ 区、医
9.ประกบสองข้าง (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 行 ประกบสองข้าง ของ 術、衛
10.ล้อมรอบ (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 口 ล้อมรอบ 回、因
ความหมายของ “บุชุ” 218 ประเภท
ดังได้กล่าวแล้วว่า องค์ประกอบที่สำคัญของอักษรคันจิ หรือ รากของคันจิ คือ “บุชุ” ซึ่งแบ่งออกได้ เป็น 218 ประเภท แต่ละประเภท เรียงลำดับตาม จำนวนเส้นที่ประกอบเป็น “บุชุ” มีตั้งแต่ 1 ขีด ไปจนถึง 14 ขีด ดังนั้น การที่เรารู้ความหมายของ “บุชุ” ก็จะทำให้เรา เรียนรู้ และ จดจำ ความหมาย ของ อักษรคันจิ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจาก “บุชุ” หมายถึงส่วนของคันจิ ที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมายคร่าว ๆของอักษรนั้น ๆ ดังนั้นการที่เรารู้ความหมายของ “บุชุ” ก็เท่ากับว่า เรารู้ความหมายของ อักษรคันจินั้น ๆ ได้โดยคร่าว ๆแล้ว
วิธีอ่านตาราง “บุชุ” ในที่นี้ ตางรางแต่ละช่อง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.อักษรสีฟ้าคือ ตัว “บุชุ” ถัดไปเป็น 2.คำอ่านภาษาญี่ปุ่นแสดงด้วยอักษรฮิราคานะ และท้ายสุดคือ 3.ความหมาย แปลเป็นภาษาไทย
1 ขีด2 ขีด3 ขีด4 ขีด5 ขีด6 ขีด7 ขีด8 ขีด9 ขีด10 ขีด11 ขีด12 ขีด13 ขีด14 ขีด
、てんจุด | 一いちหนึ่ง | l たてぼうขีดตั้งตรง | 乙おつตะขอ | |
二にสอง | 亠なべぶたฝาปิด | 人ひとคน | イにんべんคน | ルひとあしเด็ก |
入いるเข้า | 八はちแปด | 冂どうかまえครอบ | 冖わかんむりหมวก | 冫にすいน้ำแข็ง |
几つくえเก้าอี้ | 凵うけばこกล่อง | 刀かたなมีด | リりっとうมีด | 力ちからกำลัง |
勹つつみがまえกระเป๋า | 匚はこがまえ กล่อง | 匸かくしがまえ ซ่อน | 十じゅう สิบ | 卜うらないทำนาย |
卩わりふแผนก | 厂かんだれโรงงาน | ムむ รวบ | 又また มือขวา | |
口くち ปาก | 囗くにがまえเวียนล้อม | 土つちへん ดิน | 士さむらい นักรบ | 夊ふゆがしら ขาไขว้ |
夕ゆうべค่ำ | 大だいใหญ่ | 女おんなผู้หญิง | 子こへんเด็ก | 宀うかんむりหลังคา |
寸すんนิ้ว | 小しょうเล็ก | 尢おうใหญ่ | 尸しかばねซาก | 屮てつรากหญ้า |
山やまภูเขา | 川かわแม่น้ำ | 巛かわลำธาร | 工かくみへんงาน | 己おのれตนเอง |
巾はばへんผ้า | 干かんโล่ห์ | 幺ようเล็ก | 广まだれกว้าง | 廴えんにょうไกล |
廾こまぬきมือ | 弋よくเสา | 弓ゆみคันธนู | 彡さんづくりประดับ | 彳ぎょうにんべんคนคู่ |
廴しんにょうนั่งเรือ | ++くさかんむりหญ้า | 阝おおさとหมู่บ้าน | 氵さんすいน้ำ | 扌てへんมือ |
忄りっしんべんห้วใจ | ||||
心こころหัวใจ | 戈ほこหอก | 戸とかんむりบานประตู | 手てมือ | 扌てへんมือ |
支しにょうตี | 攵ほくづくりกระทำ | 文ぶんにょうหนังสือ | 斗とますถังข้าว | 斤おのづくりขวาน |
方かたへんจตุรัส | 日ひへんตะวัน | 曰いわくกระทำ | 月つきへんพระจันทร์ | 木きへんต้นไม้ |
欠かけるค้าง | 止とめへんหยุด | 歹いちたへんเลว | 殳るまたอาวุธ | 母ははのへんแม่ |
比くらべるเปรียบเทียบ | 毛けขน | 氏うじตระกูล | 气きがまえอากาศ | 水みずน้ำ |
火ひへんไฟ | 灬れっかไฟ | 爫つめเล็บ | 父ちちพ่อ | 片かたแผ่น |
牛うしวัว | 牜うしへんวัว | 犬いぬสุนัข | 示しめすแท่น | ネしますへんแท่น |
王おうจ้าว | 爪つめกรงเล็บ | |||
玄げんด้าย | 玉たまหยก | 瓦かわらกระเบื้อง | 甘あまいหวาน | 生うまれるเกิด |
用もちいるใช้ | 田たทุ่งนา | 疋ひきขา | 疒やまいだれป่วย | 癶はつかしらสองขา |
白しろขาว | 皮けがわหนัง | 皿さらอ่าง | 目めดวงตา | 矛ほこへんหอก |
矢やへんลูกศร | 石いしへんหิน | 示しめすแท่น | 禾のきへんธัญญาหาร | 穴あなかんむりถ้ำ |
立たつยืน | 罒あみめตาข่าย | 旡むにょうเขี้ยว | 衤ころもへんผ้า | 瓜うりแตง |
疋ひきあしพับผ้า | ||||
竹たけไผ่ | 米こめข้าว | 糸いとด้าย | 缶ほときแจกัน | 羊ひつじแกะ |
羽はねปีก | 老おいかんむりชรา | 而してเครา | 耒すきへんคันไถ | 耳みみはんหู |
筆ふでづくりพู่กัน | 肉にくเนื้อ | 自みずからตัวเอง | 至いたるถึง | 臼うすครก |
舌したลิ้น | 舟ふねเรือ | 艮こんづくりเด็ก | 色いろสี | 虎とらเสือ |
虫むしแมลง | 行ぎょうがまえเดิน | 衣ころもผ้า | 羊ひつじแกะ | 西にしตะวันตก |
見みるดู | 角かくเขาสัตว์ | 言ごんべんวจี | 谷たにหุบเขา | 豆まめถั่ว |
豕ぶたสุกร | 豸むじなへんสัตว์ | 貝かいเบี้ย | 赤あかแดง | 足あしขา |
身みร่างกาย | 車くるまรถ | 辛からいลำบาก | 辰しんのたつวาระ | 酉とりเหล้า |
釆のごめสีสรร | 里さとへんระยะทางลี้ | 臣しnขุนนาง | 舛まいあしขาเวที | 麦むぎข้าวสาลี |
走はしるวิ่ง | ||||
金かねへんทอง | 長ながいยาวนาน | 門もんがまえประตู | 隶れいづくりจับกุม | 隹ふるとりนกเขา |
雨あめฝน | 青あおเขียว | 非あらずไม่ใช่ | 斉せいบริสุทธิ์ | |
面めんหน้า | 革かわへんหนังสัตว์ | 音おとเสียง | 頁おおがいหน้าหนังสือ | 風かぜลม |
飛とぶบิน | 食しょくกิน | 首くびคอ | 香かおりหอม | 韋そむくหนังฟอก |
馬うまม้า | 骨ほねกระดูก | 高たかいสูง | 髟かみがしらขนยาว | 鬼おにผี |
竜りゅうมังกร | ||||
魚うおへんปลา | 鳥とりนก | 鹿しかกวาง | 麻あさปอ | 黄きเหลือง |
黒くろดำ | ||||
歯はฟัน | ||||
鼓つづみกลอง | ||||
鼻はなจมูก |
ความหมายขององค์ประกอบคันจิอื่น ๆ ที่ควรรู้
นอกเหนือจาก “บุชุ” แล้วอักษรคันจิ ยังมีองค์ประกอบ อื่น ที่เราจะพบซ้ำๆ แต่องค์ประกอบเหล่านี้ ไม่ได้จัดเข้าเป็น ประเภท “บุชุ” จึง ไม่มีชื่อเรียก และ ไม่มีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความหมาย และ มีนัย ควรค่าแก่การจดจำ
※ องค์ประกอบอื่น ไม่ใช่ “บุชุ” นี้ บางครั้ง อาจมีหน้าตา วิธีการเขียนเหมือน “บุชุ” ทุกประการ แต่ในกรณีนั้น ๆ มีความหมายต่างกัน และในกรณีนั้น ๆ
ไม่จัดเป็นรากของคันจิที่ใช้แสดงความหมาย จึงไม่เรียกว่า เป็น “บุชุ”
ลักษณะการผสมผสานของอักษรคันจิ
ถ้าเราแบ่งสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นสองประเภท คือ 1. รูปธรรม หมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ เห็นได้ด้วยตาเปล่า คือวัตถุต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ภูเขา อีกประเภทหนึ่ง คือ 2.นามธรรม หมายถึง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า คือ ความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ เป็นต้น แล้ว เราจะพบว่า อักษรคันจิ มีวิธีผสมผสาน ของ ตัว “บุชุ” และส่วนอื่นๆ แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
- รูปธรรม + รูปธรรม = รูปธรรม เช่น คน イ+ภูเขา 山 = ผู้วิเศษ หรือ เซียน 仙
- รูปธรรม + รูปธรรม = นามธรรม เช่น คน イ+ต้นไม้木 = การพักผ่อน 休
- นามธรรม + รูปธรรม = นามธรรม เช่น กำลัง 力+ ปาก 口 = บวก หรือ เพิ่ม加
- รูปธรรม + นามธรรม = รูปธรรม เช่น พระอาทิตย์ 日+การเกิด 生 = ดวงดาว 星
- นามธรรม + นามธรรม = นามธรรม เช่น งาน 工+กำลัง 力 = ผลงาน 功
- Note: นามธรรม +นามธรรม แล้วกลายเป็น รูปธรรม ยังไม่พบว่ามี
เคล็ดลับการจดจำอักษรคันจิ
- ต้องจำความหมายของ “บุชุ” ให้ได้เสียก่อนความหมายของ “บุชุ” 218 ประเภท
- ต้องรู้ว่า คันจิตัวนั้น ประกอบด้วย อะไรบ้างมีที่มาอย่างไร
- ต้องจำให้ได้ว่า เมื่อประกอบกันแล้ว หมายความว่าอะไร
ความหมายและที่มาของ “คันจิ 1,945 ตัว
ในที่นี้ให้คำอธิบายถึง ที่มาของตัวคันจิ โดยประกอบด้วย 1.ตัวคันจิ 2.ภาพที่มา 3. คำอ่าน 4.องค์ประกอบ 5.ความหมาย 6.ตัวช่วยจำ โดยไล่ไปตามลำดับ จาก คันจิ ประถม หนึ่งถึง มัธยม จากง่ายไปหายาก วิธีใช้ให้คลิ๊กไป ที่คันจิ แต่ละระดับ แนะนำให้เริ่มที่ คันจิประถมหนึ่ง สอง สาม ไปตามลำดับ จนถึง มัธยม อย่าข้ามขั้นตอน ที่สำคัญ ควรจำ “บุชุ” และองค์ประกอบอื่นๆ ให้ได้ก่อน จะทำให้การเรียนง่ายขึ้น
ขอบคุณข้อมูล www.รับแปลภาษาญี่ปุ่น.com และ http://web.archive.org/