ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
1) รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 – 3เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
2) ท่อนำไข่ (Fallopian Tube) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร
3) มดลูก (Uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4) ช่องคลอด (Vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
การตกไข่
การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1) ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2) ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จากนั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 – 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย
การตกไข่
การตั้งครรภ์และการคลอด
การตั้งครรภ์จะเริ่มต้นเมื่อตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ตอนปลายใกล้กับรังไข่ โดยปกติ ไข่ 1 ใบจะถูกผสมด้วยอสุจิเพียง 1 ตัวเท่านั้น เพราะเมื่อมีตัวอสุจิตัวหนึ่งเข้าผสมแล้วเยื่อหุ้มเซลล์ของไข่จะหนาขึ้นจนทำให้อสุติตัวอื่นไม่สามารถเข้าผสมได้อีก หลังจากไข่ได้รับการผสมแล้วภายในเวลาประมาณ 10 – 12 ชั่วโมง นิวเคลียสของตัวอสุจิจะเข้าผสมกับนิวเคลียสของไข่ซึ่งเรียกว่าเกิดการปฏิสนธิ ภายหลังการปฏิสนธิประมาณ 30 – 37 ชั่วโมง ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะแบ่งเซลล์จาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ เป็น 4 เซลล์และแบ่งต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้กลุ่มเซลล์ เรียกว่า เอ็มบริโอ จากนั้นเอ็มบริโอจะเคลื่อนตัวไปฝังที่ผนังมดลูกต่อไป
หลังจากที่เอ็มบริโอฝังตัวกับผนังมดลูกจะมีการสร้างเยื่อบางๆขึ้น เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ ห่อหุ้มทารก ซึ่งภายในมีของเหลวไว้ป้องกันการกระทบกระเทือน ส่วนเอ็มบริโอก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งอายุประมาณ 8 สัปดาห์ จึงมีลักษณะต่างๆเหมือนทารก จากนั้นอวัยวะต่างๆทั้งอวัยวะภายในและภายนอกจะเจริญต่อไป เพื่อให้สมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะทำงาน สำหรับทารกในครรภ์จะได้รับอาหารและแก๊สรวมทั้งการกำจัดของเสียในร่างกายโดยผ่านทางรก รกเป็นส่วนที่ติดต่อกับมดลูกของแม่เชื่อมต่อถึงตัวทารกทางสายสะดือ จะมีเส้นเลือดจากตัวแม่มาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดั่งนั้นการเจริญเติบโต ของทารกในครรภ์จึงขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาสุขภาพของมารดาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ทารกจะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งครบกำหนดคลอด โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 9 เดือน หรือ 38 สัปดาห์ หรือ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของมารดา เมื่อครบกำหนดคลอดต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมากระตุ้นให้มดลูกบีบตัว ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อท้องจะหดตัวทำให้ปากมดลูกเปิดออก ทารกในครรภ์จึงถูกดันให้ออกมาทางช่องคลอดได้
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
1) อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 cm หนาประมาณ 2-3 cm หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น เสียงห้าว มีหนวดเครา
2) หลอดสร้างตัวอสุจิ (Semimiferous tubules) และท่อนำตัวอสุจิ (vas deferens)
หลอดสร้างตัวอสุจิเป็นหลอดที่หน้าที่ผลิตตัวอสุจิจะประกอบด้วยกลุ่มเชลล์spermatogonium และ sertoli cell ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิและปล่อยออกมาทาง rete testis เข้าไปอยู่ในหลอดเก็บตัวอสุจิ
3) ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)
ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส วิตามินซี และโปรตีนโกบุลิน
4) ต่อมลูกหมาก (prostate gland)
อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่เป็นเบสอย่างอ่อนและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว
5) ต่อมคาวเปอร์ (cowper gland)
มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดดารกระตุ้นทางเพศ
6) องคชาต (penis)
เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมาก ภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิก่อนจะถูกลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการหลั่งออกสู่ภายนอก ต่อมลูกหมากจะหลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับตัวอสุจิก่อนที่จะหลั่งน้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะ
โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 12 – 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350 – 500ล้านตัว สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 – 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 – 48ชั่วโมง
น้ำอสุจิ แต่ละครั้งที่หลั่งออกมาประกอบด้วยตัวอะสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่างๆประมาณครั้งละ 3 ลบ . ซม . จำนวนอสุจิประมาณ 300-500 ล้านตัว ตัวอสุจิ มีขนาดเล็กมากมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนหางดังรูป มีอายุ 48 ชั่วโมงเมื่อเข้าไปในมดลูก
ตัวอสุจิ
ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์
การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง
ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)
ระบบสืบพันธุ์ ( Reproductive System )
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป มี 2 แบบคือ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ(sexual reproduction) คือ ทำให้ลูกที่เกิดมามีความแปรผันทางพันธุกรรม
– Fertilization หรือการปฏิสนธิ มีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เกิดเป็นzygote แบ่งออกเป็นการปฎิสนธิภายในกับการปฎิสนธิภายนอก – Conjugation หรือการถ่ายโอน DNA พบในแบคทีเรีย พารามีเซียม สาหร่ายและฟังไจบางชนิด
การปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย รวมกับเซลล์ของเพศหญิง ทำให่เกิดเซลล์ใหม่
การตกไข่ คือ การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน ถ้านับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ วันที่ 13-15
เมื่อไข่ได้รับการผสม จะมีการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันจะเคลื่อนที่จากท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวที่
ผนังมดลูก ซึ่งผนังมดลูกมีลักษณะที่หนามากขึ้นเพื่อเตรียมตัวสำหรับรับไข่ที่ได้รับการผสม
เมื่อเอ็มบริโอฝังตัวกับผนังมดลุกแล้วนั้น ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่ง มีอายุได้ 8 สัปดาห์
เอ็มบริโอจะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับคน และกระดูกในร่างกายจะเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มมีหัวใจ สมอง และกระดูกไขสันหลัง
อายุ 4 สัปดาห์ เริ่มมี ตา ปุ่มแขน และปุ่มขา
อายุ 5 สัปดาห์ ปุ่มแขนและปุ่มขาขยาายขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ
อายุ 6 สัปดาห์ เริ่มมีหู
อายุ 7 สัปดาห์ เริ่มมีแผดานในช่องปาก
อายุ 8 สัปดาห์ เริ่มปรากฏอวัยวะเพศภายนอก กนะดูกในช่องปากเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดุกแข็ง
และมีทุกอย่างเหมือนคน หลังจากนั้นเป็นการเจริยเติบโตของอวัยวะต่างๆทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้สมบูรณ์
และพร้อมที่จะทำงานได้
อายุ 38 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน คลอดออกมาเป็นทารก
Fertilization
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(asexual reproduction) คือ ลูกที่เกิดมาไม่มีความแปรผันทางพันธุกรรมลักษณะเหมือนพ่อ แม่ทุกประการ
– Binary fission คือการแบ่งเซลล์ออกเปนสอง
– Multi fission คือแบ่งนิวเคลียสหลายๆที แล้วค่อยแบ่ง cytoplasm
– Sporulation หรือการสร้างสปอร์
– Parthenogenesis พบในผึ้ง ต่อ แตน โดยไข่ (n) ที่ไม่ได้รับการผสมจะเจริญกลายเป็นตัวผู้
ความก้าวหน้าเทคโนโลยี
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
In Vitro Fertilization หรือ IVF เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด คือ การปล่อยให้มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ โดยอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นจึงจะสามารถทำการปฏิสนธิกับไข่ได้ วิธีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งในการทำเด็กหลอดแก้ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากที่ไม่รุนแรงนัก
ขั้นตอนในการทำ IVF
หลังจากฝ่ายหญิงได้รับการกระตุ้นไข่เพื่อให้ได้ไข่จำนวนหลายใบ และมีคุณภาพที่ดีแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการเจาะเก็บไข่ออกมา จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนจะทำการตรวจหาไข่ โดยไข่ที่ได้จะถูกย้ายไปใส่ในน้ำยาเลี้ยงและเก็บไว้ในตู้อบสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ซี่งมีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นปริมาณก๊าซต่างๆ ให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ไข่ได้มีการเจริญเติบโตต่อไปอีกระยะหนึ่ง
หลังจากปล่อยให้ไข่ได้เจริญเติบโตต่อจนถึงระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว ทางห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนจะนำไข่เหล่านั้นมาผสมกับอสุจิที่ผ่านการเตรียมและคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์ไว้แล้ว โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อสุจิ จากนั้นนำมาเก็บไว้ในตู้อบสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อปล่อยให้อสุจิได้ทำการปฏิสนธิกับไข่ หลังจากนั้นจะทำการล้างอสุจิส่วนเกินออก และนำมาตรวจผลการปฏิสนธิหลังจากนั้นประมาณ 16-18 ชั่วโมง
คู่สมรสที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธี IVFได้แก่
ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง
ฝ่ายหญิงมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก และรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล
ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และรักษาภาวะนี้แล้วด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
เชื้ออสุจิฝ่ายชายคุณภาพไม่ดี ซึ่งรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
ผลสำเร็จในการรักษาด้วยวิธี IVFผลสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IVF นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิเช่น อายุของฝ่ายหญิง คุณภาพของไข่ จำนวนของอสุจิ โดยทั่วไปจะมีโอกาสตั้งครรภ์อยู่ที่ร้อยละ 15-35 ทารกที่เกิดมานั้นอาจมีโอกาสเกิดความพิการไม่แตกต่างจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติ
การทำกิ๊ฟท์ (GIFT)
กิฟท์ (GIFT) คือ การนำเอาไข่และตัวอสุจิไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิหรือรวมตัวกันตามธรรมชาติ หลังจากนั้นหากไข่และอสุจิ
สามารถปฏิสนธิกันได้ก็จะมีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและเดินทางมาฝังตัวในโพรงมดลูก และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด ดังนั้น GIFT จึงเป็น
หนึ่งในวิธีการรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ค่อนข้างสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลาต่างๆ สำหรับการรักษามาก นอกจากนั้น อาจเกิด
ภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วยถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยก็ตาม
หลักการทำกิฟท์
คือการนำไข่และอสุจิมารวมกัน แล้วฉีดเข้าท่อนำไข่ โดยผ่านทางปลาย
ของท่อให้มีการปฏิสนธิ การแบ่งตัวของตัวอ่อนและการฝังตัวเกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ
ขั้นตอนการทำกิฟท์
1. การกระตุ้นรังไข่ จะเริ่มทำเมื่อมีรอบเดือนมาโดยให้ยากระตุ้น ซึ่งอาจเป็นชนิดรับประทาน ฉีด หรือพ่นเข้าจมูก และอื่นๆ โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ระยะที่ให้ยากระตุ้นรังไข่นั้น ส่วนมากนาน
ประมาณ 7 ถึง 10 วัน และสามารถตรวจดูการตอบสนองของรังไข่ได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นหลัก รวมทั้งการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนร่วมด้วย จนเมื่อได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากพอแล้วจะ
กระตุ้นการตกไข่โดยการฉีด hCG จนผ่านไปประมาณ 34-36 ชั่วโมงก็จะทำการเจาะไข่
2. การเจาะไข่ ทำได้โดยใช้เข็มเจาะถุงไข่แล้วดูดเอาไข่ภายในถุง
ออกมา วิธีที่นิยมในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ
2.1 การเจาะผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยการอาศัยกล้องตรวจช่องท้อง ซึ่งสามารถเห็นรังไข่ได้ชัดเจน แล้วใช้เข็มเจาะดูดไข่โดยตรง
2.2 การเจาะผ่านผนังช่องคลอด โดยการอาศัยเครื่องอัลตร้าซาวด์ ซึ่งมีเข็มเจาะและดูดไข่ติดอยู่ที่หัวตรวจทางช่องคลอด
3. การย้ายเซลล์ไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่ ส่วนใหญ่มักใช้การส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) เป็นวิธีหลัก โดยไข่ที่ถูกเลือกไว้แล้วจะถูกดูดเข้ามาในสายยางที่ใช้สำหรับการย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าท่อนำ
ไข่ รวมกับเชื้ออสุจิที่เตรียมไว้ สำหรับวิธีการอื่นๆ อาจทำโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องเป็นแผลเล็กๆ แล้วนำท่อนำไข่ขึ้นมา จากนั้นจึงฉีดไข่และอสุจิที่เตรียมไว้เข้าท่อนำไข่โดยตรง แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน
4. การให้ฮอร์โมนในระยะหลังการทำกิฟท์ โดยแพทย์จะให้ฮอร์โมนช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
5. การทดสอบการตั้งครรภ์ โดยการตรวจระดับ hCG ในกระแสเลือดประมาณ 12 วันหลังจากการทำกิฟท์
* หมายเหตุ : ปัจจุบันศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเจตนินไม่ได้ให้บริการในส่วนนี้แล้ว
การทำซิ๊ฟ (ZIFT)
การทำซิฟท์ (ZIFT) คือ การรักษาภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสที่ไข่และอสุจิไม่สามารถพบกันเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ท่อนำไข่ ทำงานผิดปกติ มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่าปกติ หรือในบางรายที่หาสาเหตุไม่พบ วิธีการทำซิฟท์จะคล้ายกับการทำกิ๊ฟร่วมกับการทำเด็กหลอดแก้ว คือ มีการเจาะเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิกับอสุจิภายนอกร่างกาย แล้วเลี้ยงตัวอ่อน อีก 1-2 วันจากนั้นแพทย์จะทำการนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่โดยการเจาะผ่านทางหน้าท้อง ดังนั้นฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่ปกติอย่าง น้อย 1 ข้าง ข้อดีของการทำซิฟท์ คือ สามารถแน่ใจได้ว่าไข่และอสุจิมีการปฏิสนธิกันแล้ว อัตราความสำเร็จของวิธีนี้ประมาณ 30-40% ต่อ รอบการรักษา
ขั้นตอนการทำซิฟท์
1. ใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้มีการเจริญของไข่ครั้งละหลายๆ ใบ
2. ควบคุมการสุกของไข่ ควรได้อย่างน้อย 3-4 ใบ
3. ทำการเก็บไข่ที่สุกแล้ว โดยใช้เข็มดูดผ่านทางผนังช่องคลอด
4. นำอสุจิที่เตรียมแล้วผสมกับไข่
5. เก็บไว้ในตู้เลี้ยงตัวอ่อนนาน 16-18 ชั่วโมง ดูผลการปฏิสนธิ
6. 48-72 ชั่วโมงหลังเก็บไข่ ตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัว และพร้อมที่จะใส่กลับเข้าไปทางท่อนำไข่ เพื่อรอการฝังตัว
7. หลังจากการที่ย้ายตัวอ่อนแล้วจะมีการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยในการฝังตัว
8. ประมาณ 2 สัปดาห์จากที่ย้ายตัวอ่อนจะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการตั้งครรภ์
ข้อบ่งชี้ในการทำซิฟท์
1. ในฝ่ายหญิงนั้นมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับท่อนำไข่ แต่ควรมีข้างที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง
2. ฝ่ายหญิงมีภาวะที่เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
3. ฝ่ายหญิงมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก และอาจรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล
4. ฝ่ายหญิงมีภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิในมูกของปากมดลูก หรือในกระแสเลือด
5. ฝ่ายชายมีตัวอสุจิน้อย หรือเคลื่อนไหวช้า
6. ทั้งคู่สามีภรรยา มีบุตรยากมาแล้วนานกว่า 2 ปี โดยไม่ทราบ