ทำหน้าที่อะไร?
สำหรับตำแหน่ง ผู้ว่าฯกทม. มีผู้ดำรงตำแหน่งมาแล้วกว่า 16 คน ตลอด 49 ปี โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป งานด้านการเจ้าหน้าที่ งานการเงิน บัญชี และพัสดุ งานดูแลสถานที่ห้องประชุม ศูนย์ปฏิบัติการและยานพาหนะ การต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และงานพิธีการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
2. กลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบ กรองงาน สรุปข้อเท็จจริง การเสนอข้อคิดเห็น และความถูกต้องของข้อกฎหมาย ระเบียบ การนัดหมายงานและการจัดวาระงาน การประสานงาน การติดตามผล และการสรุปรายงาน งานด้านเลขานุการ การอำนวยการและการอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์สถานการณ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยว
3. กลุ่มงานเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการตรวจราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
4. ฝ่ายการเมืองและประสานนโยบาย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานงาน เกี่ยวกับการประชุม และการตรวจราชการของคณะผู้บริหาร การประสานงานกับสภากรุงเทพมหานคร รัฐสภา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การจัดระบบข้อมูล และการรวบรวมสถิติข้อมูล มติผู้บริหาร มติคณะรัฐมนตรี บันทึกสั่งการ และคำสั่งต่างๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร การจัดทำคำสั่งของผู้บริหาร จัดทำคำขวัญ คำกล่าว คำปราศรัย และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมนโยบาย แจ้งนโยบาย การติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานตามนโยบายของผู้บริหารและสรุปรายงาน การติดตาม ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร เสนอผู้บริหารทราบ งานกิจการมวลชน องค์การเอกชน และองค์การนิติบุคคลต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
5. ฝ่ายตรวจสอบเรื่องราว มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานครเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเร่งรัด ตรวจสอบติดจามผล การชี้แจงตามความเข้าใจ การอำนวยความสะดวกกับผู้ร้องเรียนและกลุ่มชุมชนต่างๆ การประชุม การประสานงาน การจัดทำรายงานกรณี การแก้ไขปัญหาของกลุ่มชุมชนผู้ร้อง การตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน การสรุปรายงาน การสรุปรายงานให้ผู้บริหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการทราบ การลงบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน การจัดส่ง และรับข้อมูลจากหน่วยงานโดยทางคอมพิวเตอร์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูล https://apps.bangkok.go.th/