– ลำดับจำกัด คือลำดับซึ่งมีจำนวนพจน์จำกัด เช่น 1,2,3,4,…,100
– ลำดับอนันต์ คือลำดับซึ่งมีจำนวนพจน์ไม่จำกัด เช่น 1,2,3,4,…
1.ลำดับเลขคณิต
ลำดับเลขคณิต เป็นลำดับซึ่งมีผลต่างระหว่างพจน์ที่ n + 1 กับ พจน์ที่ n มีค่าคงตัว ซึ่งค่าคงตัวนี้ เรียกว่า “ผลต่างรวม” เขียนแทนด้วย d
ให้ a1,a2,a3 , . . . เป็นลำดับเลขคณิต ผลต่างระหว่างพจน์ที่ n + 1 กับพจน์ที่ n ค่า d (d =a2 – a2) ดังนั้น
an = a1 + (n – 1)*d |
1) พิจาารณาลำดับ
1,3,5,7,9,…
จะเห็นว่า ถ้าเอา
3-1=2
5-3=2
7-5=2
9-7=2
นำพจน์ที่อยู่ข้างหลัง ลบ พจน์ที่อยู่ด้านหน้า จะได้ค่าค่าหนึ่งซึ่งคงที่ตลอดจากตัวอย่างคือ 2
ลำดับที่มีลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าลำดับ เลขคณิต(Arithmetic Sequence)
2) พิจารณาลำดับ
4,8,12,16,20,24,….
จะเห็นว่า ถ้าเอา
8-4=4
12-8=4
16-12=4
20-16=4
24-20=4
นำพจน์ที่อยู่ข้างหลัง ลบ พจน์ที่อยู่ด้านหน้า จะได้ค่าค่าหนึ่งซึ่งคงที่ตลอดจากตัวอย่างคือ 4
ลำดับที่มีลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าลำดับ เลขคณิต(Arithmetic Sequence)
จากตัวอย่างข้อ 1) และ 2)
ค่าที่เกิดจากการนำ พจน์ที่อยู่ด้านหลัง ลบ พจน์ที่อยู่ด้านหน้า ค่าๆนี้เรียนกว่า ผลต่างร่วม(common difference) เราจะแทนผลต่างร่วมด้วยตัว d
ดังนั้นจึงได้ว่า
ลำดับ 1,3,5,7,9,…
มีผลต่างร่วมหรือว่า d=2
และ
ลำดับ 4,8,12,16,20,24,….
มีผลต่างร่วมหรือ d=4
2.ลำดับเรขาคณิต
ลำดับเรขาคณิต ลำดับที่มีอัตราส่วนของพจน์ที่ n+1 ต่อพจน์ที่ n เป็นค่าคงที่ทุกค่าของจำนวนนับ n และเรียกค่าคงที่นี้ว่า“อัตราส่วนร่วม”เขียนแทนด้วย
ถ้า a1, a2, a3, …, an, an+1 เป็นลำดับเรขาคณิต แล้ว จะได้
an = a1*rn-1 |
การพิจารณาลิมิตของลำดับ
1. ถ้า n → ∞ แล้วทำให้ an เข้าใกล้หรือเท่ากับจำนวนจริง L เพียงจำนวนเดียวจะเรียกลำดับ นั้นว่า ลำดับคอน เวอร์เจนต์ (convergent sequence) และมีลิมิตเท่า กับค่า L หรือเรียกว่า ลำดับนั้นลู่เข้าสู่ค่า L
2. ถ้า n → ∞ แล้ว an ไม่เข้าใกล้หรือไม่เท่ากับจำนวนจริงใดๆจะ เรียกลำดับนั้นว่า ลำดับ ไดเวอร์เจนต์ (divergent sequence) และเป็นลำดับ ที่ไม่มีลิมิต หรือเรียกว่า ลำดับนั้นลู่ออก
ลำดับคอนเวอร์เจนต์ (Convergent Sequence)
ข้อสังเกตในการพิจารณาการลู่เข้าของลำดับ จะพิจารณาจากกราฟ ดังนี้
1. ลำดับอนันต์ที่มีค่า an = L เช่น
2. ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an = L โค้งเข้าสู่เส้นตรงค่าหนึ่ง
2.1 n → ∞ แล้วทำให้ an มีค่าน้อยลง
2.2 n → ∞ แล้วทำให้ an มีค่ามากขึ้น
3. ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an = L มีค่าแกว่งไปมาแต่ลู่เข้าสู่เส้นตรงค่าหนึ่ง
ลำดับไดเวอร์เจนต์ (Divergent Sequence)
ลำดับไดเวอร์เจนต์ เป็นลำดับที่ไม่มีมิลิต ฉะนั้น ลักษณะของกราฟจะไม่วิ่งเข้าหาเส้นตรงที่เป็นจำนวนจริงใดๆ ได้แก่
1.ลำดับ อนันต์ที่จุด n→ ∞ แล้ว an พุ่งขึ้นหรือพุ่งลงอย่างไม่มีขอบเขต
2.ลำดับอนันต์ที่จุด n → ∞ แล้ว an มีค่าแกว่งไปมาระหว่างจำนวนจริงมากกว่า 1 ค่า
ตัวอย่างที่ 1 จงพิจารณา ว่า ลำดับ an = (-1)3n เป็นลำดับ ที่มีลิมิตหรือไม่
วิธีทำ หาลำดับนี้ออกมาก่อน นั่นคือ –1, -1, -1, -1, …เขียนกราฟออกมา จะได้กราฟที่มีลักษณะ ดังนี้
เราจะเห็นว่า เมื่อ n มีค่ามากขึ้น พจน์ที่ n ยังมีค่าเท่าเดิม ฉะนั้น ลำดับนี้ เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์ที่ลู่เข้าสู่ –1
ตัวอย่างที่ 2 ลำดับ an = 3n-2 เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์
วิธีทำ ลำดับ นี้ คือ 1, 4, 7, 10, 13, 16, 19, 22, …
จากกราฟเราจะเห็นว่า พจน์ที่ n จะมีค่าที่พุ่งขึ้นอย่างไม่มีขอบเขต ฉะนั้น ลำดับนี้เป็นลำดับที่ไม่มีลิมิต หรือ ลำดับไดเวอร์เจนต์
การกระทำของพจน์
ซึ่งการกระทำของพจน์ใดๆ นั้น จะแบ่งออกเป็นการบวก ลบ คูณ และหารกันแบบพจน์ต่อพจน์ดังนี้
1. การบวก ลบ การบวกลบลำดับคอนเวอร์เจนต์ 2 ลำดับ จะได้ลำดับใหม่ ที่เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์และมีค่าลิมิตเท่ากับลิมิตของแต่ละลำดับ มาบวกลบกัน การบวกลบ ที่มีลำดับไดเวอร์เจนต์ร่วมด้วย อาจจะได้ลำดับที่เป็นคอนเวอร์เจนต์ หรือ ไดเวอร์เจนต์ก็ได้
2. การคูณ หาร การคูณ หาร ลำดับคอนเวอร์เจนต์ 2 ลำดับ จะได้ลำดับใหม่ที่เป็นลำดับ คอนเวอร์เจนต์การ คูณ หาร ที่มีลำดับไดเวอร์เจนต์ร่วม ด้วย อาจจะได้ลำดับใหม่ที่เป็นคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์
ตัวอย่างที่ 3 ลำดับที่เกิดจากการบวกและลบ ลำดับต่อไปนี้ เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์หรือไดเวอร์เจนต์
1, 3, 5, 7, 9, … และ 3, 5, 7, 9, 11, …
วิธีทำ จากการพิจารณาลำดับทั้งสอง จะพบว่า 1, 3, 5, 7, 9, … เป็นลำดับไดเวอร์เจนต์
3, 5, 7, 9, 11, … เป็นลำดับไดเวอร์เจนต์
เมื่อนำมาบวกกัน จะได้ 4, 8, 12, 16, … เป็นลำดับไดเวอร์เจนต์
เมื่อนำมาลบกัน จะได้ -2, –2, –2, –2, … เป็นลำดับคอนเวอร์เจนต์