วิธีการเขียนเซต แบบง่ายๆ
ต้องเข้าใจสัญลักษณ์
ในการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข เรานิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ แทนด้วยชื่อของเซต แล้วบรรยายคุณสมบัติหรือเงื่อนไข ตามตัวอย่าง เซตของจำนวนนับ สามารถเขียนเป็น A = {1, 2, 3, …} แต่เมื่อเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข จะนิยมใช้ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก แทนด้วยสมาชิกที่อยู่ในเซต และใช้เครื่องหมาย | หรือ : แทนคำว่า “โดยที่” ดังนั้น จึงสามารถเขียน เซต A ได้เป็น A = {x|x เป็นจำนวนนับ} สามารถอ่านได้ว่า A เป็นเซตของสมาชิกที่ประกอบด้วย x โดยที่ x เป็นจำนวนนับ
ตัวอย่างการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข
ตัวอย่างที่ 1 :
เมื่อเราต้องการเขียนเซตของจำนวนเต็มคู่ สามารถเขียนแบบแจกแจงสมาชิกได้ว่า B = {…, -4, -2, 0, 2, 4, …} แต่เมื่อเขียนแบบบอกเงื่อนไข จะได้เป็น B = { x|x เป็นจำนวนเต็มคู่}่
ตัวอย่างที่ 2 :
C = {-2,2} สามารถเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขได้ว่า C = { x|x เป็นจำนวนเต็ม และ x2 = 4}
ว่าด้วยสัญลักษณ์ ∈ และ ∉
กำหนดให้ D เป็นเซตที่เขียนแบบแจกแจงสมาชิก ได้ดังนี้ D = {1, 2, 3, …, 100} เราอาจเขียนเป็นเซตแบบบอกเงื่อนไขได้ว่า D = { x|x เป็นจำนวนเต็มบวก และ 1≤ x ≤ 100} หรืออาจเขียนได้เป็น D = { x|x เป็นจำนวนนับ และ 1 ≤ x ≤ 100} จากข้อความด้านบน ถ้า StartDee ขอถามว่า 3 เป็นสมาชิกของเซต D หรือไม่ คำตอบก็คือ ใช่ เพราะเราเห็นเลข 3 ชัดเจนเด่นหราอยู่ในเซต D สามารถเขียนแทนด้วย 3 ∈ D
และถ้าเราถามต่อว่า 15 กับ 109 เป็นสมาชิกของเซต D หรือไม่ เพื่อน ๆ จะเห็นได้ว่า 15 นั้นเป็นสมาชิกแน่นอน แต่อยู่ในจุดที่ละเอาไว้นั่นเอง ดังนั้น เราจึงสามารถเขียนแทนได้ว่า 15 ∈ D ส่วน 109 นั้น ไม่ได้เป็นสมาชิกของ D แน่นอน เนื่องจาก จำนวนนับ ใน D นั้นต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 สามารถเขียนแทนด้วย 109 ∉ D
• การเขียนเซต
I- แทนเซตของจำนวนเต็มลบ | Q- แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นลบ | |
I+ แทนเซตของจำนวนเต็มบวก | Q+ แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นบวก | |
I แทนเซตของจำนวนเต็ม | Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ | |
N แทนเซตของจำนวนนับ | R แทนเซตของจำนวนจริง | |
ตัวอย่างเช่่น | A = {1, 2, 3, 4, 5} | |
B = { x | x เป็นจำนวนนับที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5} | ||
∴ | A = B |
ตัวอย่างเช่่น | A = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 1 < x < 2} | ∴ A = Ø |
B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x + 1 = 0 } | ∴ ฺB = Ø | |
เนื่องจากเราสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตว่างได้ ดังนั้น เซตว่างเป็นเซตจำกัด |
ตัวอย่างเช่่น | ถ้าเราจะศึกษาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม | |
U = {…,-2,-1,0,1,2,…} | ||
หรือ | U = {x | x เป็นจำนวนเต็ม.} |
ขอบคุณข้อมูล https://blog.startdee.com/