วิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์สร้างภูมิคุ้มกัน
การที่มีภาวะโภชนาการที่ดี ได้รับพลังงาน สารอาหารหลักทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และสารอาหารรองทั้งวิตามิน A, C, E, D, B6, B9 (โฟเลต), B12 และแร่ธาตุสังกะสี ซีลีเนียม เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และแมงกานีส รวมทั้งดื่มน้ำสะอาด ที่เพียงพอและสมดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรับประทานอาหารให้ได้รับทั้งสารอาหารหลัก วิตามิน แร่ธาตุ ดังกล่าวที่เพียงพอนั้น เราสามารถได้รับจากแหล่งอาหารจากธรรมชาติ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมแต่อย่างใด เพราะยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าวิตามินหรือแร่ธาตุตัวไหนจะป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัสได้ แต่เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและเป็นแนวทางในการเลือกแหล่งอาหารที่ดี มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ขอหยิบยกสารอาหารตัวเด่น ๆ ที่บทบาทต่อภูมิต้านทาน ดังนี้ค่ะ
1. วิตามินซี ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรค โดยความต้องการต่อวันตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 ในเด็กอายุ 1-8 ปี ควรได้รับ 25-40 มิลลิกรัมต่อวัน ในเด็กและวัยรุ่นช่วงอายุ 9-18 ปี ควรได้รับ 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน และวัยผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 85-100 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแหล่งวิตามินซีในอาหารจะอยู่ในผักและผลไม้เป็นส่วนใหญ่ดังที่แสดงในตารางที่ 1 จะเห็นว่าปริมาณการรับประทานต่อวันเพื่อให้ได้รับวิตามินซีที่เพียงพอก็สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติค่ะ
ตารางที่ 1 ปริมาณวิตามินซีในผักและผลไม้ส่วนที่กินได้ 100 กรัม
ผลไม้ | วิตามินซี (มิลลิกรัม) |
ผักดิบ | วิตามินซี (มิลลิกรัม) |
---|---|---|---|
ฝรั่ง | 151-187 | พริกหวาน | 183.5-190 |
มะขามป้อม | 111 | ผักคะน้า | 120 |
มะขามเทศ | 97 | มะระขี้นก | 116 |
เงาะโรงเรียน ลูกพลับ | 73-76 | บรอกโคลี | 93.2 |
สตรอว์เบอร์รี่ | 66 | ผักกาดเขียว | 45 |
มะละกอแขกดำ | 62 | ดอกกะหล่ำ | 46.4 |
ส้มโอ ส้มเช้ง | 46-48 | ถั่วลันเตา | 40 |
พุทรา | 44-47 | ผักโขม | 28.1 |
ทุเรียนหมอนทอง | 35 | มันฝรั่ง | 19.7 |
ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มเขียวหวาน | 20-30 | มะเขือเทศ | 16 |
กล้วยหอม | 27 | ผักพื้นบ้าน | |
มะม่วงเขียวเสวยสุก | 25 | ยอดสะเดา/ ใบปอ | |
มะยงชิด ละมุดสีดา | 25 | ผักหวาน |
เนื่องจากวิตามินซีจะสูญเสียได้ง่ายเมื่อโดนความร้อนและสัมผัสน้ำโดยตรง ดังนั้นการปรับกระบวนการปรุงประกอบผักดิบโดยนึ่งหรือผัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะช่วยสงวนวิตามินซีในผักได้ดียิ่งขึ้น ตามคำแนะนำการรับประทานผักผลไม้ต่อวันให้ได้อย่างน้อย 400 กรัมและเลือกผักผลไม้ที่เป็นแหล่งวิตามินซี เราก็จะสามารถได้รับวิตามินซีที่เพียงพอได้อย่างแน่นอนค่ะ
2. วิตามินเอ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยแหล่งอาหารที่ดีที่ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์ได้สูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม และแหล่งอาหารรองลงมาจะได้จากพืช ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก
3. สังกะสี มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นกลไกหลักในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งแหล่งอาหารที่ดีเมื่อพิจารณาจากปริมาณและการดูดซึมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ เนื้อสัตว์และเครื่องใน หอยนางรม สัตว์ปีกและปลา และที่รองลงมา ได้แก่ ไข่ นม
4. โปรตีน ช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ซึ่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วน สามารถได้รับจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม (พร่องหรือขาดมันเนย) ชีส (เลือกชนิดที่ไขมันต่ำ) เต้าหู้ ถั่วเหลือง สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วต่าง ๆ เมล็ดพืชต่าง ๆ สามารถเลือกรับประทานควบคู่กับแหล่งอาหารจากพืชอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มในส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นที่โปรตีนจากพืชชนิดนั้น ๆ ไม่ครบถ้วน เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ) คู่กับถั่วเปลือกแข็งหรือเมล็ดพืช
5. จุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์) และอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ (พรีไบโอติกส์) ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยแหล่งอาหารที่ดีที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ ได้แก่ โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่ระบุไว้ว่ามีการเติมโพรไบโอติกส์ แต่ควรเลือกที่น้ำตาลต่ำ สำหรับอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในแหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง
และ วิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอื่นๆ
การป่วยบ่อยครั้ง เป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจเตือนว่า ภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังอ่อนแอ เพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเรานั้น ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ที่เป็นอันตรายไม่ให้เข้ามาทำอันตรายต่อร่างกาย
1. นอนหลับให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละคืน จะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง เพราะการนอนน้อยหรือการอดนอน จะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ
ลดความเครียด
2. ลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส หรือออกไปทำกิจกรรม เพื่อเป็นผ่อนการคลายจากความเครียด
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ นอกจากนี้อาจทานวิตามินในกรณีที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอ เพื่อช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อร่างกาย
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดี ทำให้เม็ดเลือดขาว สามารถจัดการกับเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสการเกิดโรคได้มากขึ้น
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง
5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง โดยลดการทานอาหารหวาน ลดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
6. หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ เราสามารถเริ่มดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การดูแลร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
ขอบคุณข้อมูล https://www.rama.mahidol.ac.th/ และ https://www.sukumvithospital.com/