วิวัฒนาการของจำนวนและตัวเลข
การผลิตหรือสร้างเครื่องคำนวณได้แนวความคิดมาจาก
1.การจดและนับตัวเลขแบบง่ายๆ ไม่มีการใช้ตัวเลข ชาวกรีกใช้การนับนิ้ว หรือลูกหินแทน
2.การใช้รูปภาพแทนตัวเลขในสมัยอิยิปต์ (egypt) เช่น
ǀ = 1
∩ = 10
3.ชาวบาบิโลเนีย ใช้ลิ่มเป็นสัญลักษณ์ของตัวเลข โดยระบบของจำนวนเลขมีสัญลักษณ์ 2 ตัว
คือ v = 1 = 10
4.สมัยโรมันเริ่มมีการใช้เลขโรมัน ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ เช่น
เลขโรมัน
ตัวเลขโรมัน คือ (Roman numerals) เป็นระบบตัวเลขที่ใช้สืบต่อกันมาตั้งแต่ยุคสมัยโรมโบราณ ซึ่งมีการนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ก่อนที่จะมีตัวเลขฮินดูอารบิกเข้ามาแทนที่อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตัวเลขโรมันจะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์พื้นฐานทั้งหมด 7 ตัวหลักด้วยกัน นั่นก็คือ I, V, X, L, C, D และ M สัญลักษณ์เหล่านี้ได้เริ่มใช้ในระหว่างปี 900-800 ปีก่อนคริสต์ศักราช และถึงแม้ว่าในปัจจุบันคนหันมานิยมใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกันแล้ว แต่ตัวเลขโรมันก็ยังปรากฏอยู่ให้เห็นทั่วไป อาทิเช่น ใช้เป็นตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกา, การลำดับหลังชื่อบุคคลสำคัญ หรือระบุบทต่างๆ
เลขโรมัน 1-100
เลขอารบิก | เลข โรมัน |
---|---|
1 | I |
2 | II |
3 | III |
4 | IV |
5 | V |
6 | VI |
7 | VII |
8 | VIII |
9 | IX |
10 | X |
11 | XI |
12 | XII |
13 | XIII |
14 | XIV |
15 | XV |
16 | XVI |
17 | XVII |
18 | XVIII |
19 | XIX |
20 | XX |
21 | XXI |
22 | XXII |
23 | XXIII |
24 | XXIV |
25 | XXV |
26 | XXVI |
27 | XXVII |
28 | XXVIII |
29 | XXIX |
30 | XXX |
31 | XXXI |
32 | XXXII |
33 | XXXIII |
34 | XXXIV |
35 | XXXV |
36 | XXXVI |
37 | XXXVII |
38 | XXXVIII |
39 | XXXIX |
40 | XL |
41 | XLI |
42 | XLII |
43 | XLIII |
44 | XLIV |
45 | XLV |
46 | XLVI |
47 | XLVI |
48 | XLVIII |
49 | XLIX |
50 | L |
51 | LI |
52 | LII |
53 | LIII |
54 | LIV |
55 | LV |
56 | LVI |
57 | LVII |
58 | LVIII |
59 | LIX |
60 | LX |
61 | LXI |
62 | LXII |
63 | LXIII |
64 | LXIV |
65 | LXV |
66 | LXVI |
67 | LXVII |
68 | LXVIII |
69 | LXIX |
70 | LXX |
71 | LXXI |
72 | LXXII |
73 | LXXIII |
74 | LXXIV |
75 | LXXV |
76 | LXXVI |
77 | LXXVII |
78 | LXXVIII |
79 | LXXIX |
80 | LXXX |
81 | LXXXI |
82 | LXXXII |
83 | LXXXIII |
84 | LXXXIV |
85 | LXXXV |
86 | LXXXVI |
87 | LXXXVII |
88 | LXXXVIII |
89 | LXXXIX |
90 | XC |
91 | XCI |
92 | XCII |
93 | XCIII |
94 | XCIV |
95 | XCV |
96 | XCVI |
97 | XCVII |
98 | XCVIII |
99 | XCIX |
100 | C |
ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมเลข 1-1,000 สามารถแทนด้วยตัวเลขสัญลักษณ์เลขโรมัน ดังต่อไปนี้
- 1 = I
- 5 = V
- 10 = X
- 50 = L
- 100 = C
- 500 = D
- 1,000 = M
จะเห็นได้ว่าภาษาโรมันหากเป็นเลขโรมัน 1 – 100 จะประกอบไปด้วย 6 สัญลักษณ์ ได้แก่ I, V, X, L, C และ D แต่ถ้าเป็นตัวเลขอังกฤษ 1 – 1,000 จะแทนด้วย สัญลักษณ์ เลขโรมัน ครบทั้งหมด 7 สัญลักษณ์ ได้แก่ I, V, X, L, C, D และ M ซึ่งตัวเลข 1,000 แปลเลขโรมัน คือ สัญลักษณ์ตัว M นั่นเอง
โครงสร้างของระบบจำนวนจิงคือ
แผนผังโครงสร้างของระบบจำนวนจริง
จากรูปแผนผังข้างบนจะเห็นได้ว่า นอกจากจำนวนจริงแล้ว ยังมีจำนวนจินตภาพ ซึ่งเราจะไม่สนใจศึกษาในบทเรียนนี้ นอกจากนี้ เราจะเห็นได้ว่า จำนวนจริงประกอบด้วย จำนวนอตรรกยะ และ จำนวนตรรกยะ ซึ่งเราจะพิจารณาในรายละเอียดได้ดังนี้
- จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น√2, √3,√5 หรือค่า¶ เป็นต้น
- จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ยกตัวอย่างเช่น 1/2, 1/3, 2/5 เป็นต้น
จากแผนภาพอีกเช่นเคย จะเห็นได้ว่า จำนวนตรรกยะ จะประกอบด้วยสองส่วนคือ จำนวนเต็ม และ จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม
- จำนวนเต็ม คือจำนวนที่เป็นตัวเลขเต็มๆ หรือ ตัวเลขที่ไม่มีทศนิยมนั่นเอง นั่นคือ ตัวเลขที่เราใช้นับนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น 1, 2, 3, 4 … ทั้งนี้ทั้งนั้น รวมไปจนถึงค่าที่ติบลบของจำนวนนับนี้และศูนย์ด้วย เช่น 0, -1, -2, -3, -4 ….
- จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม ความหมายของจำนวนนี้ก็ตามความหมายของชื่อเลยครับ นั่นคือ ตัวเลขเขียนในรูปของทศนิยมซ้ำได้โดยที่ไม่ได้เป็นเลขจำนวนเต็มนั่นเอง อย่างเช่น 1/2=0.5 หรือ 1/3 = 0.333… (สามซ้ำ)
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนเต็มยังแบ่งย่อยได้อีกสามหมวดคือ จำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มศูนย์
สมบัติของจำนวนจริง
เนื่องจากว่า สมบัติของจำนวนจริงมีเยอะมาก ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะที่คิดว่าสำคัญแล้วกันนะครับ
ถ้าให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว จะได้ว่าจำนวนจริงจะมีสมบัติดังต่อไปนี้
1. สมบัติปิดการบวก: a+ b จะต้องเป็นจำนวนจริงเสมอ
2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการบวก: a + (b + c) = (a + b) + c
3. สมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก: a + 0 = a = 0 + a โดยที่เราเรียก 0 ว่าเอกลักษณ์ของการบวก
4. สมบัติการมีอินเวอร์สของการบวก: a + (-a) = 0 = (-a) + a โดยที่ (-a) เป็นอินเวอร์สการบวกของ a
5. สมบัติปิดของการคูณ: a คูณ b หรือ ab จะต้องมีผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเสมอ
6. สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ: a(bc) = (ab) c
7. สมบัติการมีเอกลักษณ์การคูณ: a x 1 = a = 1 x a โดยที่เราเรียก 1 ว่าเอกลักษณ์ของการคูณ
8. สมบัติการมีอินเวอร์สของการคูณ: a a-1 = 0 = a-1 a โดยที่ a-1 เป็นอินเวอร์สการคูณของ a
9. สมบัติการแจกแจงทางซ้าย: a(b + c) = ab + ac
นอกจากสมบัติของจำนวนจริงแล้ว เรายังมีทฤษฎีบทเบื้องต้นสำหรับจำนวนจริงด้วย ในทำนองเดียวกับสมบัติของจำนวนจริง จะขอนำเสนอเฉพาะส่วนที่คิดว่าสำคัญเท่านั้นนะครับ
ถ้าให้ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริงใดๆ จะได้ว่า
1. ถ้า a+c = b+c แล้ว a = b
2. ถ้า c ไม่เท่ากับศูนย์ และ ac =ab แล้ว a = b
3. เมื่อ c > 0 แล้วจะได้ว่า
(1) ถ้า a > b แล้ว ac > bc
(2) ถ้า a < b แล้ว ac < bc
(3) ถ้า ac > bc แล้ว a > b
(4) ถ้า ac < bc แล้ว a < b
4. เมื่อ c < 0 แล้วจะได้ว่า
(1) ถ้า a > b แล้ว ac < bc
(2) ถ้า a < b แล้ว ac > bc
(3) ถ้า ac > bc แล้ว a < b
(4) ถ้า ac < bc แล้ว a > b
5. ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
6. ถ้า a < b และ c < d แล้ว a – d < b – c
3. จำนวนจริง (Real Numbers)
ในขณะนี้มีจำนวนเพียง 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เซตของจำนวนตรรกยะ และเซตของจำนวนอตรรกยะ ผลรวมหรือผลผนวกของเซตทั้งสองนี้เรียกว่า เซตของจำนวนจริง เขียนแทนด้วย R และคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
1. คุณสมบัติปิด (Closure proerties) ถ้า a, b ∊ R
1.1 การบวก a+b ∊ R
1.2 การคูณ a.b ∊ R
2. คุณสมบัติการสลับที่ (Commutative properties) ถ้า a, b ∊ R
2.1 การบวก a+b = b+a
2.2 การคูณ a.b = b.a
3. คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม (Associative properties) ถ้า a, b, c ∊ R
3.1 การบวก a+(b+c) = (a+ b)+c
3.2 การคูณ a. (b .c ) = (a . b) . c
4. คุณสมบัติการแจกแจง (Distributive properties) ถ้า a, b, c ∊ R
4.1 การบวก a+(b . c) = (a+ b) . (a+c)
4.2 การคูณ a. (b + c ) = (a . b) + (a . c)
5. คุณสมบัติการมีเอกลักษณ์ (Identity properties) ถ้า a ∊ R
5.1 เอกลักษณ์ของการบวก คือ 0 เนื่องจาก a + 0 = a
5.2 เอกลักษณ์ของการคูณ คือ 1 เนื่องจาก a . 1 = a
6. คุณสมบัติการมีจำนวนผกผัน (Inverse)
6.1 การบวก ถ้าให้ a ∊ R จะมี -a ∊ R จะทำให้
a + (-a) = (-a) + a = 0 และเรียก -a ว่า เป็นจำนวนผกผัน
6.2 การคูณ ถ้าให้ a ∊ R ที่ a ≠ 0 จะมี 1/a ซึ่งทำให้ a . 1/a = 1/a . a = 1 และเรียก 1/a ว่าเป็นจำนวนผกผันของการคูณของ a
6. จำนวนอตรรกยะ (Irrational Numbers)
จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้ เช่น a/b ; b ≠ 0 เมื่อ a, b เป็นจำนวนเต็ม รวมถึงทศนิยมไม่รู้จบแบบไม่ซ้ำ รากที่ถอดได้ไม่ลงตัว หรือเป็นจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะจำแนกได้ดังนี้
1. จำนวนทศนิยมไม่ซ้ำกันไม่รู้จบ
เช่น 1.1707168…
0.4455235…
2. จำนวนที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และไม่สามารถหาค่าให้เป็นจำนวนตรรกยะได้
7. จำนวนเต็ม (Integer Numbers)
จำนวนเต็ม คือ จำนวนที่เป็นเลขไม่มีเศษ เช่น -5 , 0 , 3 เป็นต้น
สัญลักษณ์
I แทนจำนวนเต็ม เช่น … , -2 , -1 , 0 , 1 , 2 , …
I– แทนจำนวนเต็มลบ เช่น -1 , -2 , -3 , -4 , …
I+ แทนจำนวนเต็มบวก เช่น 1, 2 , 3 , 4 ,…
N แทนจำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนนับ เช่น 1, 2 , 3 , 4 ,…
8. จำนวนเต็มบวก และศูนย์ (Whole Numbers)
ให้ w แทนเซตของจำนวนเต็มบวก และศูนย์
ดังนั้น w = { 0, 1, 2, 3, …}
สำหรับคุณสมบัติการบวกและการคูณ จะเป็นเช่นเดียวกับจำนวนนับ แต่มีจำนวนศูนย์ โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1. ให้ a ∊ w a + 0 = 0 + a = a
2. ให้ a ∊ w a – 0 = a
3. ให้ a ∊ w 0/a = 0
0/a ไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งนั่น ให้นิยามไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติไม่มีการหารจำนวนใดๆด้วยศูนย์ ซึ่งเป็นจำนวน จำนวนหนึ่ง ให้ 0/0 = r จะได้ r .0 = 0 ดังนั้น r จะเป็นจำนวนใดๆ ก็ได้ทั้งนั้นหมายความว่า 0/0 ไม่ค่าไม่แน่นอน ผลหารในกรณีนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับในคณิตศาสตร์ จึงไม่มีการหาร 0 ด้วย 0 และ w ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเซตจำนวนนับ
9. จำนวนนับ หรือจำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนเต็มบวก (Counting or Natural or Positive Integers)
จำนวนนับ เรียกอีกอย่างว่า จำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนเต็มบวก มนุษย์จำนวนนับ หรือจำนวนธรรมชาติไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ในการแลกเปลี่ยน ซื้อ – ขาย หรือการนับ และมนุษย์จะนับเลขเริ่มจาก 1, 2, 3, 4, 5, … ไปเรื่อยๆ เสมอไม่นิยมนับเลข -1, -2, -3, -4 นอกจาก นำมาใช้ในบางกรณีเท่านั้น ดังนั้น เราจึงละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า จำนวนนับ คือ จำนวนธรรมชาติ และจำนวนเต็มบวก
ให้ N แทนเซตของจำนวนนับ สมาชิกของ N คือ 1, 2, 3, 4, …
นั่นคือ N = {1, 2, 3, 4, …}
10. เส้นจำนวน (Number Line)
ลากเส้นตรงเส้นหนึ่ง เกิดจากจุดหลายๆ จุดมาเรียงต่อกันไปตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ โดยเริ่มจากจุดกำเนิด (Origin) ซึ่งถือว่าเป็นจุดเดียวกับจำนวนจริง 0 ดังนั้น บนเส้นตรงให้มีจุดนี้แทนจำนวนศูนย์จุด บนเส้นตรงขวามือของ 0 เป็นจำนวนเต็มบวกแทนด้วย 1, 2, 3, 4, … โดยมีระยะห่างจาก 0 เป็น 1 หน่วย , 2 หน่วย , 3 หน่วย , … ตามลำดับ และเลือกจุดบนเส้นจำนวนทางซ้ายมือของ 0 เป็นจำนวนเต็มลบแทนด้วย -1, -2 , -3 ,… โดยมีระยะห่างจาก 0 เป็น 1 หน่วย , 2 หน่วย , 3 หน่วย , … ตามลำดับ
ขอบคุณข้อมูล https://www.pangpond.com/