สมดุลต่อการหมุน(rotational equilibrium)
สภาพสมดุลต่อการหมุน (Rotational Equilibrium)
เป็นสภาพเมื่อวัตถุไม่มีการหมุน ก็คือวตัถุจะอยู่นิ่งหรือเป็นการหมุนที่มอีตัราเร็วคงที่ เช่น วตัถุหมุนอย บนพื้นที่ไม่มีแรงเสียดทาน โดยออกแรงกระตุน้คร้ังแรกวตัถุก็หมุนอยู่กับที่ดว้ยอตัราเร็วคงที่แต่ในที่น้ีจะกล่าว
เฉพาะวตัถุที่ไม่มีการหมุนหรืออยู่นิ่งเท่าน้นั เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลต่อการหมุนโมเมนต์รวมของแรงรอบจุดหมุนจะมีค่า
เท่ากับศูนย์ผลที่ตามมาก็คือ
โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
Mทวน = Mตาม
โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา คือ F1L1
โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา คือ F2L2
จะได้ว่า F1L1=F2L2
แบบฝึกหัดเรื่องสมดุลการหมุน
1.ไม้เมตรมวลน้อยมากแขวนด้วยเชือกไว้ในที่สเกล 50 ซม. ปรากฎว่าไม้เมตรวางอยู่ในแนวราบ มีแรง 25 นิวตัน กระทำที่สเกล 20 ซม. และมีแรง 40 นิวตัน กระท าที่สเกล 70 ซม. โดยแรงทั้งสอง มีทิศทางลงใน
แนวดิ่ง จงหาโมเมนตข์องแรงที่กระทำ ต่อไม้เมตร (0.5 นิวตัน – เมตร ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา)
2.) นาย ก และ ข ช่วยกันหามวัตถุซึ่งหนัก 300 นิวตัน โดยใช้คานยาว 5 เมตร ถ้าแขวนวัตถุนั้นห่างจากนาย ก 3 เมตร นาย ก และ นาย ข ต้องออกแรงคนละเท่าไร และถ้าจะให้นาย ก ออกแรงน้อยกว่านี้ จะต้องแขวนวัตถุที่ตำแหน่งใด
แนวคิด
เมื่อคานสมดุล แรงขึ้น = แรงลง
ดังนั้น แรงที่นาย ก และ นาย ข ออกต้องเท่ากับ 300 นิวตัน
ถ้าให้ นาย ก ออกแรง = X นาย ข ออกแรง = 300 – X
วิธีทำ
เมื่อคานสมดุล แรงขึ้น = แรงลง
ดังนั้น แรงที่นาย ก และ นาย ข ออกต้องเท่ากับ 300 นิวตัน
ถ้าให้ นาย ก ออกแรง = X นาย ข ออกแรง = 300 – X
กำหนดให้ จุดหมุนอยู่ที่นาย ข
โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
X (5) = 300(2)
X = 120 นิวตัน
นั่นคือ นาย ก ออกแรง 120 นิวตัน
นาย ข ออกแรง 300 – 120 = 180 นิวตัน
ถ้าต้องการให้ นาย ก ออกแรงน้อยกว่านี้ ต้องเลื่อนมวล 300 นิวตัน
ให้ออกห่างจาก ก ให้มากขึ้น