การเชื่อมประพจน์
โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยคนั้นมักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว แสดงว่าได้นำประโยคมาเชื่อมกัน มากกว่าหนึ่งประโยค ดังนั้นถ้านำประพจน์มาเชื่อมกัน ก็จะได้ประพจน์ใหม่ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว และตัวเชื่อมที่ใช้กันมากในตรรกศาสตร์คือ และ หรือ ถ้า…แล้ว ก็ต่อเมื่อ ไม่
- ตัวเชื่อมประพจน์ “และ”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “และ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∧ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) - ตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T) - ตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p → q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T) - ตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ”
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ⇔ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน - นิเสธของประพจน์ “ไม่”
นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p
ตารางค่าความจริง (Truth table)
สรุปการอ้างเหตุผลและตัวอย่าง
การอ้างเหตุผลคือ การอ้างว่า เมื่อมีประพจน์ p1,p2,…pn, ชุดหนึ่ง แล้วสามารถสรุปประพจน์ C ประพจน์หนึ่งได้ การอ้างเหตุผลประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ เหตุหรือสิ่งที่กำหนดให้ ได้แก่ ประพจน์ p1,p2,…pn, และ ผลหรือข้อสรุป คือ ประพจน์ C โดยใช้ตัวเชื่อม ∧ เชื่อมเหตุทั้งหมด เข้าด้วยกัน และใช้ตัวเชื่อม → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผลดังนี้
(p1 ∧ p2 ∧ … ∧ pn,) → C
จะกล่าวว่า การอ้างเหตุผลนี้ สมเหตุสมผล (valid) ถ้ารูปแบบของประพจน์ (p1 ∧ p2 ∧ … ∧ pn,) → C เป็นสัจนิรันดร์ และจะกล่าวว่า การอ้างเหตุผลนี้ ไม่สมเหตุสมผล (invalid) ถ้ารูปแบบของประพจน์ (p1 ∧ p2 ∧ … ∧ pn,) → C ไม่เป็นสัจนิรันดร์ ดังนั้น ในการตรวจสอบความสมเหตุสมผลจึงใช้วิธีเดียว กับการตรวจสอบสัจนิรันดร์
ตัวอย่าง
กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- p→q
- p
ผล q
วิธีทำ ขั้นที่ 1 ใช้ ∧ เชื่อมเหตุเข้าด้วยกัน และใช้ → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล จะได้รูปแบบของประพจน์คือ [(p → q) ∧ p]→q
ขั้นที่ 2ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ สมมติให้[(p → q) ∧ p]→q เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ p]→q เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- p→q
- ∼p
ผล ∼q
วิธีทำ ขั้นที่ 1 ใช้ ∧ เชื่อมเหตุเข้าด้วยกัน และใช้ → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล จะได้รูปแบบของประพจน์คือ [(p → q) ∧ ∼p]→∼q
ขั้นที่ 2ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ สมมติให้[(p → q) ∧ ∼p]→∼q เป็นเท็จ
จากแผนภาพ มีกรณีที่ p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง ที่ทำให้ [(p → q) ∧ ∼p]→∼q เป็นเท็จ
แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ ∼p]→∼q ไม่เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้ไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- ถ้าฝนตกที่บ้านของสุชาดา แล้วหลังคาบ้านของสุชาดาเปียก
- หลังคาบ้านของสุชาดาไม่เปียก
ผล ฝนไม่ตกที่บ้านของสุชาดา
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “ฝนตกที่บ้านของสุชาดา”
q แทนประพจน์ “หลังคาบ้านของสุชาดาเปียก”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- ∼q
ผล ∼p
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ ∼q]→∼p
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ ∼q]→∼p เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ ∼q]→∼p เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- ถ้าแป้งได้โบนัส แล้วแป้งจะฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท
- แป้งฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท
ผล แป้งได้โบนัส
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “แป้งได้โบนัส”
q แทนประพจน์ “แป้งฝากเงินกับธนาคาร 10,000 บาท”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- q
ผล p
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ q]→p
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ q]→ p เป็นเท็จ
จากแผนภาพ มีกรณีที่ p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง ที่ทำให้[(p → q) ∧ q]→ p เป็นเท็จ
แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ q]→ p ไม่เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้ไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- นุ่นซื้อรถคันใหม่ หรือ นุ่นลงทุนในตลาดหุ้น
- นุ่นไม่ซื้อรถคันใหม่
ผล นุ่นลงทุนในตลาดหุ้น
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “นุ่นซื้อรถคันใหม่”
q แทนประพจน์ “นุ่นลงทุนในตลาดหุ้น”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- ∼p
ผล q
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ ∼p]→ q
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ ∼p]→ q เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ ∼p]→ q เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- ถ้าไฟฟ้าดับ แล้วโรงแรมต้องใช้เครื่องปั่นไฟ
- ถ้าโรงแรมต้องใช้เครื่องปั่นไฟ แล้วลิฟต์จะทำงานไม่ได้
ผล ถ้าไฟฟ้าดับ แล้วลิฟต์จะทำงานไม่ได้
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “ถ้าไฟฟ้าดับ”
q แทนประพจน์ “โรงแรมต้องใช้เครื่องปั่นไฟ”
r แทนประพจน์ “ลิฟต์จะทำงานไม่ได้”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- q→r
ผล p→r
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ (q→r)]→ (p→r)
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ (q→r)]→ (p→r) เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ (q→r)]→ (p→r) เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
จงพิจารณาว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ
- ถ้าเก่งไปทำงาน แล้วก้องอยู่บ้าน
- ถ้าก้องไม่อยู่บ้าน แล้วกล้าเป็นคนดูแลบ้าน
- กล้าไม่ได้เป็นคนดูแลบ้าน
ผล เก่งไม่ได้ไปทำงาน
วิธีทำ ให้ p แทนประพจน์ “เก่งไปทำงาน”
q แทนประพจน์ “ก้องอยู่บ้าน”
r แทนประพจน์ “กล้าเป็นคนดูแลบ้าน”
เขียนแทนข้อความข้างต้นในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้
เหตุ
- p→q
- q→r
- ∼r
ผล ∼p
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์ในการอ้างเหตุผลนี้ คือ[(p → q) ∧ (q→r)∧∼r]→ ∼p
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
สมมติให้ [(p → q) ∧ (q→r)∧∼r]→ ∼p เป็นเท็จ
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [(p → q) ∧ (q→r)∧∼r]→ ∼p ไม่เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้ไม่สมเหตุสมผล