สรุปเนื้อหาเรื่อง ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น
นิยาม : ให้ m และ n เป็นจำนวนเต็ม
โดยที่ n หาร m ลงตัว ก็ต่อเมื่อ มีจำนวน q ที่ทำให้ m = nq
เรียก n ว่าเป็น ตัวหาร ของ m และ
เรียก m ว่าเป็นพหุคูณ ของ n
จากนิยามดังกล่าว มีการใช้สัญลักษณ์ ดังนี้
n|m แทน n หาร m ลงตัว หรือ m หารด้วย n ลงตัว
n|/m แทน n หาร m ไม่ลงตัว หรือ m หารด้วย n ไม่ลงตัว
การหารลงตัว
a|b หมายถึง “b หารด้วย a ลงตัว” หรือ “a หาร b ลงตัว”
b/a= c โดยที่ c เป็นจำนวนเต็ม
สมบัติ
- ถ้า a|b และ b|c แล้ว a|c
- ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวก และ a|b แล้ว a≤b
- ถ้า a, b, c เป็นจำนวนเต็ม โดย a|b และ a|c แล้ว a|(bx+cy) เมื่อ x, y เป็นจำนวนเต็มใด ๆ
การหารเหลือเศษ
a/b= c เศษ d ⟶ a=b.c+d
โดยที่ a, b, c, d เป็นจำนวนเต็ม และ 0 ≤ d < |b|
คำแนะนำเพิ่มเติม :
- ถ้า a/b เหลือเศษเท่ากับ d แล้ว (m.a)/b เหลือเศษเท่ากับเศษเหลือของ (m.d)/b
- ถ้า a/b เหลือเศษเท่ากับ d แล้ว am/b เหลือเศษเท่ากับเศษเหลือของ dm/b
จำนวนเฉพาะ
คือ จำนวนเต็มบวกที่มีแต่ 1, -1, ตัวเอง, จำนวนตรงข้ามตัวมันเอง เท่านั้นที่หารลงตัว (1 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ)
จำนวนประกอบ
คือ จำนวนเต็มบวกที่ไม่ใช่ 1 และไม่ใช่จำนวนเฉพาะ โดยสามารถเขียนจำนวนประกอบให้อยู่ในรูปจำนวนเฉพาะคูณกันได้
หารร่วมมาก
บทนิยาม : กำหนดให้ a,b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ (อย่างน้อยที่สุดจำนวนใดจำนวนหนึ่งต้องไม่เป็นศูนย์)
แล้ว จะกล่าวว่า d ϵ I+ เป็นตัวหารร่วมมาก (Greatest Common Divisor : GCD) ของจำนวนเต็ม a,b ก็ต่อเมื่อ d เป็นจำนวนเต็มที่มากที่สุดที่ทำให้ d|a และ d|b
หมายเหตุ
- ห.ร.ม. เป็นจำนวนเต็มบวกและไม่เป็นศูนย์
- ใช้สัญลักษณ์ d = (a,b) เพื่อแสดงว่า d เป็น ห.ร.ม.ของ a และ b
- (a,b) = (-a,b) = (a,-b) = (-a.-b) นั่นคือไม่ว่าเราจะหา ห.ร.ม.ของจำนวนเต็มบวกหรือลบย่อมมีค่าเท่ากัน
- ถ้า a ไม่เป็นศูนย์แล้ว (a,0) = |a| นั่นคือ ห.ร.ม.ของจำนวนเต็มใด ๆ กับศูนย์ก็คือตัวมันเองที่เป็นบวกนั่นเอง
การหา ห.ร.ม. แบบยูคลิด โดยใช้ขั้นตอนวิธีการหาร
- นำจำนวนเต็มบวกสองจำนวนที่ต้องการหา ห.ร.ม. มาคำนวณผลการและเศษเหลือจากการหาร โดยให้จำนวนมากกว่าเป็นตัวตั้งจำนวนน้อยกว่าเป็นตัวหาร ในกรณีที่จำนวนที่สนใจเป็นจำนวนเต็มลบสามารถใช้สมบัติของ ห.ร.ม. ที่กล่าวว่าห.ร.ม.ของจำนวนเต็มลบย่อมมีค่าเท่ากัน
- นำผลจากข้อ 1. มาคำนวณอีกครั้ง โดยให้ตัวหารจากข้อ 1 เป็นตัวตั้งและเศษเหลือเป็นตัวหารคำนวณหาผลหารและเศษเหลือตัวใหม่ออกมา
- ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหารลงตัว
- ห.ร.ม. จะเท่ากับเศษเหลือตัวสุดท้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งเหลืออยู่ก่อนบรรทัดสุดท้าย
ตัวคูณร่วมน้อย
นิยาม : ให้ a และ b เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ a,b ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน จำนวนเต็มบวก c ที่น้อยที่สุดที่ทำให้ a|c และ b|c เรียกว่าเป็น ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น. นั่นเอง
หมายเหตุ :
- ค.ร.น.เป็นจำนวนเต็มบวกและไม่เป็นศูนย์
- ใช้สัญลักษณ์ [a,b] =C เพื่อแสดงว่า c เป็น ค.ร.น. ของ a และ b
- [a,b] = [a,-b]= [-a,b)= [-a,-b] นั่นคือไม่ว่าเรา
- จะหา ค.ร.น.ของจำนวนเต็มบวกหรือลบย่อมมีค่าเท่ากัน
- [0,a]=0
• การหารลงตัว |
|||||||
บทนิยาม |
กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มใดๆ โดยที่ b ≠ 0 |
||||||
จากบทนิยาม ถ้า b หาร a ไม่ลงตัว แสดงว่าไม่มีจำนวนเต็ม n ที่ทำให้ a = bn และ เขียนแทน “b หาร a ไม่ลงตัว” ได้ด้วยสัญลักษณ์ b † a | |||||||
ตัวอย่างเช่น | 3 | 9 เพราะมี n = 3 ที่ทำให้ 9 = 3n | ||||||
-5 | 10 เพราะมี n = -2 ที่ทำให้ 10 = +5n |
|||||||
6 | 0 เพราะมี n = 0 ที่ทำให้ 0 = 6n |
|||||||
|
|||||||
สมบัติการหารลงตัว |
|||||||
ทฤษฎีบทที่ 1 |
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ |
||||||
|
|||||||
ทฤษฎีบทที่ 2 |
กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มบวก |
||||||
|
|||||||
ทฤษฎีบทที่ 3 |
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ |
||||||
|
|||||||
การจำแนกจำนวนเต็มบวกโดยใช้สมบัติการหารลงตัว |
|||||||
1.จำนวนเฉพาะ (Prime Numbers) |
|||||||
|
บทนิยาม |
จำนวนเต็ม p จะเป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p ≠ 0, p ≠ 1, p ≠ -1 และถ้ามีจำนวนเต็มที่หาร p ลงตัว จำนวนเต็มนั้นต้องเป็นสมาชิกของ {-1, 1, p, -p} |
|||||
2.จำนวนประกอบ (Composite Numbers) |
|||||||
บทนิยาม |
จำนวนเต็ม c เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ c ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ |
||||||
นั่นคือสำหรับจำนวนเต็มบวก c ใดๆ c จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม m และ n ที่ต่างจาก c ที่ทำให้ c = mn |
|||||||
ตัวอย่างเช่น | |||||||
จำนวนที่หาร 2 ลงตัว ได้แก่ {-1, 1, 2, -2} ∴ 2 เป็นจำนวนเฉพาะ |
|||||||
• ขั้นตอนวิธีการหาร |
|||||||
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ b ≠ 0 แล้วจะมี q และ r ซึ่งเป็นจำนวนเต็มที่ทำให้ |
|||||||
ตัวอย่างที่ 1 | กำหนด a = 48, b = 7 จงหา q และ r | ||||||
เขียนให้อยู่ในรูป | a = bq + r | ||||||
48 = 7 × 6 +6 |
|||||||
|
q = 6 และ r = 6 | ||||||
• ตัวหารร่วม | |||||||
ตัวหารร่วม | |||||||
|
|||||||
ตัวหารร่วมมาก | |||||||
|
|||||||
ตัวอย่างเช่น | จงหา ห.ร.ม. ของ 36 และ 48 | ||||||
วิธีทำ | ตัวหารร่วมของ 36 ได้แก่ ±1, ±2, ±3, ±4, ±6, ±9, ±12, ±18, ±36 | ||||||
ตัวหารร่วมของ 48 ได้แก่ ±1, ±2, ±3, ±4, ±6, ±8, ±12, ±16, ±24, ±48 | |||||||
|
ตัวหารร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 48 ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 12 | ||||||
|
ตัวหารร่วมที่เป็นบวกของ 36 และ 48 ที่มีค่ามากที่สุด คือ12 | ||||||
นั่นคือ ห.ร.ม. ของ 36 และ 48 คือ 12 |