สรุปสูตรเรื่องฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ฟังก์ชันตรีโกณมิติของผลบวกและผลต่าง
ใช้ในกรณีที่ต้องการแปลงค่ามุมให้เป็นมุมที่เราต้องการได้เพื่อประยุกต์ใช้ในกรณีต่าง ๆ
- cos(A-B) = cos(A)cos(B) + sin(A)sin(B)
- cos(A+B) = cos(A)cos(B) – sin(A)sin(B)
- sin(A+B) = sin(A)cos(B) + cos(A)sin(B)
- sin(A-B) = sin(A)cos(B) – cos(A)sin(B)
- tan(A+B) = (tan(A)+tan(B)) / (1-tan(A)tan(B))
- tan(A-B) = (tan(A)-tan(B)) / (1+tan(A)tan(B))
-
ค่า sinθ cosθ tanθ ของมุมพื้นฐานมีค่าเท่าไหร่บ้าง
-
ฟังก์ชันไซน์และโคไซน์
การกำหนดค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิตินั้น สามารถทำได้โดยการใช้วงกลมรัศมี 1 หน่วย มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิดและเราจะเรียกวงกลมดังกล่าวว่า วงกลมหนึ่งหน่วย (The unit circle)
เมื่อเรากำหนดจำนวนจริง θ (ทีตา) จาก (1,0) วัดระยะไปตามส่วนโค้งของวงกลม โดยมีข้อตกลงดังนี้ว่า :
ถ้า θ > 0 จะวัดส่วนโค้งจากจุด (1,0) ไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ถ้า θ < 0 จะวัดส่วนโค้งจากจุด (1,0) ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ถ้า θ = 0 จุดปลายส่วนโค้งคือจุด (1,0)
จะได้ว่า เมื่อเรากำหนดจำนวนจริง θ ให้ เราสามรารถหาจุด (x,y) ซึ่งเป็นจุดปลายส่วนโค้งได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น
ถ้า |θ| > 2π แสดงว่า วัดส่วนโค้งเกิน 1 รอบ เพราะเส้นรองวงของวงกลมยาว 2π หน่วย