สรุปสูตรเรื่องลอการิทึม (Logarithm function)
เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม
จากเรื่องฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเชียล ถ้าให้ƒ แทนฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเชียล ƒ จะมีลักษณะดังนี้
1. ƒ : R→R+
2. ƒ = {(x,y) : y = ax , a > 0 , a≠1 }
1. ƒ-1 : R+→R
2. ƒ-1 = {(x,y) : x = ay , a > 0 , a≠1 }
ข้อสังเกตของกราฟในกรณี y = logax ; a > 0, a ≠1
2. โดเมนของฟังก์ชันลอการิทึม คือเซตของจำนวนจริงบวก เรนจ์ของฟังก์ชันลอการิทึม คือเซตของจำนวนจริง
3. กรณีที่ a อยู่ในช่วง (1, ∞) แล้ว y = logax จะเป็นฟังก์ชันลด
4.ฟังก์ชันลอการิทึม เป็นฟังก์ชัน 1-1 จาก R+ไปทั่วถึง R
5. การเปรียบเทียบฟังก์ชันลอการิทึม
การหาค่าลอการิทึมสามัญโดยใช้ตาราง
เนื่องจากในตารางระบุเพียงค่า
log 1 จนถึง log
9.99 เท่านั้น
หากต้องการหาค่า log N เราจะต้องเขียนจำนวน N เป็นรูป N0×10nเมื่อ 1≤ N0 < 10 และใช้กฎของลอการิทึมว่า log N = log(N0×10n) = log N0 + n
เช่น log 1,150 มีค่าเท่ากับ log(1.15 ×103)หรือ log(1.15) +3 จากตารางพบว่า log(1.15) ≈ 0.0607 ดังนั้น log 1,150 ≈ 3.0607
หมายเหตุ
1.หากค่า N0 ในตารางไม่ละเอียดพอ ให้ประมาณค่าโดยเทียบสัดส่วนของระยะทาง
2. n จะเป็นจำนวนเต็มเสมอ
เรียกว่า แคแรกเทอริสติก (Characteristic) และ log N0 จะมีค่าระหว่าง 0
ถึง 1 เสมอ เรียกว่า แมนทิสซา (Mantissa)
ของ log N
3.ตารางที่กำหนดให้ เป็นค่าลอการิทึมสามัญ (ฐาน 10) เท่านั้น ถ้าต้องการหาค่าลอการิทึมฐานอื่นๆ ต้องอาศัยกฎของลอการิทึมช่วยแปลงฐาน
นั่นคือ logab = logcb ÷ logca และ ln b = log b ÷ log e
การหาค่าแอนติลอการิทึมโดยใช้ตาราง
จากตัวอย่างที่แล้ว เราทราบว่าค่า log ของ 1,150
เป็น 3.0607 (โดยประมาณ)
สามารถกล่าวแบบย้อนกลับได้ว่าค่า antilog ของ 3.0607 เป็น 1,150
ตัวอย่างเช่น ต้องการหาค่า M
ที่ทำให้ log M = 3.0607 เราต้องทำ
3.0607 ให้อยู่ในรูปผลบวกของแคแรกเทอริสติกกับแมนทิสซาก่อนนั่นคือ 3
+ 0.0607 จากนั้นเปิดตารางได้เป็น log103+ log1.15 หรือ
log(1.15 ×103) ดังนั้น M ≈ 1,150
- การแก้สมการ Logarithm
- การแก้สมการ Exponential
ขอบคุณข้อมูล https://www.trueplookpanya.com/