สรุปสูตร ลำดับและอนุกรม
ลำดับ คือ กลุ่มของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
- ลำดับเลขคณิต
- ลำดับเรขาคณิต
ซึ่งลำดับเลขคณิตเป็นลำดับที่เกิดจากการบวก แต่ลำดับเรขาคณิตเป็นลำดับที่เกิดจากการคูณ
- ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับที่มีผลต่างของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n โดยมีค่าคงที่เป็นผลต่างร่วม (d)
ตัวอย่าง
1, 3, 5, 7, 9 …. มี d = 2
9, 6, 3, 0, …. มี d = -3
- ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีอัตราส่วนของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n โดยมีค่าคงที่เป็นอัตราส่วนร่วม (r)
ตัวอย่าง
3, 6, 12, 24 …. มี r = 2
2, -4, 8, -16 … มี r = -2
- วิธีการหา a ที่พจน์ใดๆ
- ลำดับเลขคณิต : an=a1+(n-1)d
- ลำดับเรขาคณิต : an=a1rn-1
- อนุกรม(Series) หมายถึง ผลบวกของพจน์ต่าง ๆ ทุกพจน์เรียงตามลำดับของลำดับ สรุปสูตรในตารางข้างล่าง
ชนิด | สูตรการหาลำดับ : an | สูตรอนุกรม : Sn |
เลขคณิต | an = a1 + (n-1)d | 1. Sn = (n/2)(2a1 + (n-1)d
2. Sn = (n/2)(a1 + an) |
เรขาคณิต | an = a1rn-1 |
(r-1)
(1 – r)
(1-r) |
เมื่อ an คือ พจน์ที่ n ของลำดับ a1 คือ พจน์แรกของลำดับ
d คือ ผลต่างร่วม r คือ อัตราส่วนร่วม
Sn คือ อนุกรมที่ n หรือผลบวก n พจน์ของลำดับ
- ลำดับ ( Sequence )
ความหมายของลำดับ
ฟังก์ชันที่โดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวกหรือสับเซตของจำนวนเต็มบวกในรูป เรียกว่า ลำดับ
ในกรณีที่ฟังก์ชันเป็นลำดับที่มีโดเมนเป็น จะเรียกลำดับดังกล่าวว่า
ลำดับจำกัด (finite Sequence )
และในกรณีที่ฟังก์ชันเป็นลำดับที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก จะเรียกลำดับดังกล่าวว่า
ลำดับอนันต์ ( infinite sequence )
ในการเขียนลำดับ จะเขียนเฉพาะสมาชิกของเรนจ์เรียงกันไป กล่าวคือ ถ้า เป็นลำดับจะเขียนแทนด้วย
ในกรณีที่ เป็นลำดับอนันต์จะเขียนแทนด้วย
เรียก ว่า พจน์ที่ 1 ของลำดับ
เรียก ว่า พจน์ที่ 2 ของลำดับ
เรียก ว่า พจน์ที่ หรือ พจน์ทั่วไป ( general term ) ของลำดับ
เช่น ลำดับ 2 , 5 , 8 , 11 , 14 , 17 , 20 มี , , ,
, และ
ตัวอย่างที่ 1 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับจำกัด 3 , 4 , 5 , 6 , 7
วิธีทำ จากลำดับจำกัด 3 , 4 , 5 , 6 , 7
จะได้ a1 = 3 = 1 + 2
a2 = 4 = 2 + 2
a3 = 5 = 3 + 2
a4 = 6 = 4 + 2
a5 = 7 = 5 + 2
ดังนั้น พจน์ทั่วไปของลำดับจำกัดนี้ คือ an = n + 2 เมื่อ n = 1 , 2 , 3 , 4 , 5
ตัวอย่างที่ 2 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับจำกัด 2 , 4 , 8 , 16 , 32
วิธีทำ จากลำดับจำกัด 2 , 4 , 8 , 16 , 32
จะได้ a1 = 2 = 21
a2 = 4 = 22
a3 = 8 = 23
a4 = 16 = 24
a5 = 32 = 25
ดังนั้น พจน์ทั่วไปของลำดับจำกัดนี้ คือ an = 2n เมื่อ n = 1 , 2 , 3 , 4 , 5
- ลำดับเลขคณิต ( arithmetic Sequence )
บทนิยาม ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับซึ่งมีผลต่างที่ได้จากการนำพจน์ที่ ลบพจน์ที่ เป็นค่าคงตัวที่
เท่ากัน สำหรับทุกจำนวนเต็มบวก และ เรียกค่าคงตัวนี้ว่า ผลต่างร่วม (common difference )
เขียนแทนด้วย
นั่นคือ
และมี เมื่อ คือ พจน์ที่ 1 และ คือ ผลต่างร่วม
ตัวอย่าง 1 จงเขียนสี่พจน์ถัดไปของลำดับเลขคณิต 2, 5, 8, 11, 14, …
วิธีทำ เป็นลำดับเลขคณิตที่มี a1 = 2 , d = 3
a6 = a5 + d = 14 + 3 = 17
a7 = a6 + d = 17 + 3 = 20
a8 = a7 + d = 20 + 3 = 23
a9 = a8 + d = 23 + 3 = 26
ดังนั้นสี่พจน์ถัดไปของลำดับเลขคณิตที่กำหนดให้คือ 17, 20, 23, 26
ตัวอย่าง 2 จงหาพจน์ที่ 30 ของลำดับเลขคณิต 1, 8, 15, 22, …
วิธีทำ 1, 8, 15, 22, … เป็นลำดับเลขคณิตที่มี a1 = 1 , d = 7
จาก an = a1 + (n-1)d
จะได้ an = 1 + (30-1)(7)
an = 1 + (29)(7)
an = 1 + 203
an = 204
ตัวอย่าง 3 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต 8, 3, -2, -7, …
วิธีทำ เป็นลำดับเลขคณิตที่มี a1 = 8 , d = -5
จาก an = a1 + (n-1)d
an = 8 + (n-1)(-5)
an = 8 -5n + 5
an = -5n + 13
ตัวอย่าง 4 ถ้า 3, a, b, c, d, e, f, g, 35 เป็นเก้าพจน์เรียงกันในลำดับเลขคณิต จงหา f
วิธีทำ เป็นลำดับเลขคณิตที่มี a1 = 3 , a9 = 35
จาก an = a1 + (n-1)d
a9 = a1 + 8d
35 = 3 + 8d
32 = 8d
d = 4
หา f ซึ่งเป็นพจน์ที่ 7 ของลำดับเลขคณิตจาก an = a1 + (n-1)d
a7 = a1 + 6d
a7 = 3 + 6(4)
a7 = 3 + 24
a7 = 27
ดังนั้น f มีค่าเท่ากับ 27