สรุปเนื้อหาฟังก์ชันกำลังสอง (Quadratic function)
ฟังก์ชันกำลังสอง (Quadratic function)
ฟังก์ชันกำลังสองเป็นฟังก์ชันที่อยู่ในรูป y = ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใด ๆ และ a ¹ 0 ซึ่งกราฟของฟังก์ชันกำลังสอง เรียกว่า พาราโบลา
1) y = 2x2 + 3x – 10 เมื่อ a = 2 , b = 3 และ c = -1
2) y = x2 + 1 เมื่อ a = 1 , b = 0 และ c = 1
3) y = -x2 + 2x + 1 เมื่อ a = -1 , b = 2 และ c = 1
1) กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ที่กำหนดด้วยสมการ y = ax2 เมื่อ a ¹ = 0
กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง มีชื่อเรียกว่า พาราโบลา ซึ่งลักษณะของกราฟของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับค่าของ a , b และ c และเมื่อ a เป็นบวกหรือลบ จะทำให้ได้กราฟเป็นเส้นโค้งหงายหรือคว่ำ และกราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่กำหนดด้วยสมการ y = ax2 เมื่อ a¹ 0 เมื่อ a > 0 และชนิดคว่ำ เมื่อ a < 0
สรุป ลักษณะของกราฟที่กำหนดด้วยสมการ y = ax2 เมื่อ a ¹ 0
– เมื่อ a > 0 ได้พาราโบลาหงาย จุดต่ำสุดอยู่ที่ (0, 0)
เมื่อ a < 0 ได้พาราโบลาคว่ำ จุดสูงสุดอยู่ที่ (0, 0)
– แกนสมมาตรคือ แกน Y หรือเส้นตรง X = 0 ,
สมการแกนสมมาตรคือ X = 0
– เมื่อ a > 0 ค่าต่ำสุดคือ 0 และ เมื่อ a < 0 ค่าสูงสุดคือ 0
– | a | ยิ่งมากกราฟยิ่งแคบ
จากตัวอย่างข้างต้น วิธีแยกว่าสมการใดเป็นหรือไม่เป็นสมการของพาราโบลาทำได้ง่ายมากเลยน้าา คือ ให้น้องๆ ลองจัดรูปสมการที่โจทย์กำหนดให้อยู่ในรูป y = ax2 + bx + c ว่าสามารถทำได้หรือไม่ (ซึ่งอาจทำได้โดยการย้ายข้างของสมการเพื่อแยกตัวแปร ให้อยู่เพียงตัวเดียว รวมถึงการกระจายผลคูณในวงเล็บออกมาเหมือนข้อย่อยที่ 5) หรือจัดรูปด้วยวิธีอื่นๆ)
ถ้าสมการนั้นสามารถจัดรูปได้ เราจะได้ว่าสมการนั้นเป็นสมการของพาราโบลา แต่ถ้าพยายามจัดรูปจนถึงที่สุดแล้วก็ยังไม่สามารถจัดให้อยู่ในรูป y = ax2 + bx + c ได้ เหมือนในข้อย่อยที่ 2) และ 3) ก็จะได้ว่าสมการนั้นไม่เป็นสมการของพาราโบลานั่นเอง