สรุปเนื้อหาเรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่เขียนอยู่ในรูป {(x, y) ∈ × : y = ax } โดยที่ a เป็นจำนวนจริงที่มากกว่า 0 และ a ≠ 1 เช่น 2x , 1.2x, 3-x , 1.5-xซึ่งพูดอีกอย่างก็คือ จำนวนจริงที่มีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปรนั่นเอง
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ f = { (x, y) ∈ R × R+ / y = ax , a > 0, a ≠ 1 }
ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด
f เป็นฟังก์ชันเพิ่ม เมื่อ
a > 1
เมื่อ a มากกว่า 1 และเมื่อ x เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ ค่าของ f เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ f เป็นฟังก์ชันเพิ่ม
f เป็นฟังก์ชันลด เมื่อ
0 < a < 1
เมื่อ a อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 เช่น 0.5, 0.3 เมื่อ x เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ค่าของ f จะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ f เป็นฟังก์ชันลด
เมื่อ a > 1 ค่า a ยิ่งมากขึ้นกราฟจะยิ่งชัน
เมื่อ 0 < a < 1 ค่า a ยิ่งน้อย กราฟจะยิ่งชัน
การแก้อสมการเอกซ์โพเนนเชียล
1. ถ้า 0 < a < 1 (ฟังก์ชันลด) แล้ว
สังเกตได้ว่า : สําหรับ 0 < a < 1 เมื่อปลดฐานหรือเติมฐาน เปลี่ยนเครื่องหมายอสมการ
- ถ้า a > 1(ฟังก์ชันเพิ่ม) แล้ว
- ax1 > ax2 ก็ต่อเมื่อ x1 < x2
- ax1 < ax2 ก็ต่อเมื่อ x1 > x2
2. ถ้า a > 1 (ฟังก์ชันเพิ่ม) แล้ว
- ถ้า a > 1(ฟังก์ชันเพิ่ม) แล้ว
- ax1 > ax2 ก็ต่อเมื่อ x1 > x2
- ax1 < ax2 ก็ต่อเมื่อ x1 < x2
จุดสังเกต : สําหรับ a > 1 เมื่อปลดฐาน หรือเติมฐาน คงเดิมเครื่องหมายอสมการ
ฟังก์ชันลอการิทึม คืออะไร
- ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถเขียนใหม่ได้เป็น { (x, y) ∈ R+ ×R / y = logax, a > 0, a ≠ 1 }
- ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ถูกเรียกใหม่ว่า ฟังก์ชันลอการิทึม
- logax อ่านว่า “ลอการิทึมเอกซ์ฐานเอ” หรือ “ล็อกเอกซ์ฐานเอ”