สรุป ความน่าจะเป็น ม.4-6
ในชีวิตประจำวัน เรามักจะได้ยินคำว่า “โอกาส” เช่น โอกาสที่ฝนจะตกเท่ากับ90% หมายถึง เหตุการณ์ที่ฝนจะตกมากกว่าเหตุการณ์ที่ฝนไม่ตก แต่ถ้าเราโยนเหรียญเที่ยงตรง 1 เหรียญ โอกาสที่เหรียญจะออกหัวหรือก้อยเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน คือ 50%
หลักการบวกและการคูณ
ในการที่เราจะนับจำนวนสิ่งของ เหตุการณ์ หรือ จำนวนวิธีในการทำงานบางอย่าง อาจจะสามารถนับได้โดยตรง แต่หากสิ่งที่จะนับมีจำนวนมาก อาจจะทำให้การนับโดยตรงนั้นทำได้ยาก จึงมีหลักการนับ เพื่อช่วยให้การนับสิ่งที่มีจำนวนเยอะ ทำได้ง่ายขึ้น
หลักการบวก
n1 + n2 + … + nn
n1 ✕ n2 ✕ … ✕ nn
นิยามของความน่าจะเป็น
ถ้าการทดลองอย่างสุ่มหนึ่ง มีสมาชิกของ แซมเปิลสเปซ เป็นจำนวนเท่ากับ N
และจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ E ที่เราสนใจ มีค่าเท่ากับ n
โดยที่แต่ละสมาชิกของแซมเปิลสเปซนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่าๆกัน
ความน่าจะเป็นของ การเกิดเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วย P(E) จะมีค่าเท่ากับ n/N หรือ P(E)
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆ หาได้จากสูตร
P(E)=n(E)n(S)
เมื่อ P(E) แทนด้วย ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆที่เราสนใจ
n(E) แทนด้วย จำนวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เราสนใจ
n(S) แทนด้วย จำนนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การทดลองสุ่มและเหตุกราณ์
การทดลองสุ่ม คือ การกระทำหรือการทดลองที่ไม่สามารถคาดการณ์คำตอบล่วงหน้าได้
ตัวอย่างของการทดลองสุ่ม เช่น
- การโยนเหรียญบาท
- การทอดลูกเต๋า
- การจับสลาก
- การเสี่ยงเซียมซี
- การสอยดาว
- การซื้อหวย เป็นต้น
ผลลัพธ์จากการทดลองสุ่ม (Sample Space) คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม
ตัวอย่างที่ 1 โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง จงหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด
ตอบ โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง ผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้มี 2 แบบ คือ หัว (H) และ ก้อย (T)
ตัวอย่างที่ 2 ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง จงหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด
ตอบ ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดมี 6 แบบ คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6
เหตุการณ์ (Event) คือ เหตุการณ์ คือสิ่งที่เราสนใจ(นำมาพิจารณา)จากการทดลองสุ่ม
ตัวอย่างเช่น โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 2 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดคือ ( H,H), ( H,T), ( T,H), ( T,T)
สมมุติ เราสนใจผลลัพธ์ที่หน้าของเหรียญเหมือน ซึ่งมี 2 แบบ คือ ( H,H), ( T,T)
หรือ ถ้าเราสนใจผลลัพธ์ที่หน้าของเหรียญต่างกัน ซึ่งมี 2 แบบเหมือนกัน คือ ( H,T), ( T,H)
1. แดง ดำ เขียว ยืนเข้าแถวเป็นแนวตรง จงหาความน่าจะเป็นที่ดำและเขียวยืนแยกกัน
S= {(แดง ดำ เขียว) , (แดง เขียว ดำ) , (เขียว แดง ดำ) , (เขียว ดำ แดง) , ( ดำ แดง เขียว) , ( ดำ เขียว แดง )}
ดังนี้ n(S)=6
เหตุการณ์ที่เราสนใจคือ ดำและเขียว ยืนแยกกันคือ
E = {(เขียว แดง ดำ), ( ดำ แดง เขียว)}
นั่นคือ n(E)=2
คำตอบข้อนี้ ความน่าจะเป็นที่ดำและเขียวจะยืนแยกกันคือ P(E)=2/6=1/3
2. กบสุ่มหยิบลูกกวาด 2 เม็ดพร้อมกันจากถุงใบหนึ่งที่มีลูกกวาดสีแดง 4 เม็ด สีดำ 2 เม็ด จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) หยิบได้ลูกกวาดสีแดง 1 เม็ด และสีดำ 1 เม็ด
2) หยิบได้ลูกกวาดสีแดงทั้งสองเม็ด
แทน
r1 คือลูกกวาด สีแดง เม็ดที่ 1
r2 คือลูกกวาด สีแดง เม็ดที่ 2
r3 คือลูกกวาด สีแดง เม็ดที่ 3
r4 คือลูกกวาดสีแดง เม็ดที่ 4
b1 คือลูกกวาดสีดำ เม็ดที่ 1
b2 คือลูกกวาดที่ดำ เม็ดที่ 2
ดังนั้น สุ่มหยิบลูกกวาดออกมา 2 เม็ดพร้อมกัน ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ
S= { ( r1, r2 ) ,( r1 , r3 ) , (r1,r4) , (r1,b1) , (r1,b2) , ( r2 , r3 ) ,(r2,r4) , (r2,b1) ,(r2,b2) , (r3 ,r4) ,(r3 , b1 ) , ( r3 , b2 ) , (r4 , b1 ) ,
(r4 ,b2) , (b1 , b2 ) }
มีทัังหมด 15 แบบ ดังนั้น n(S)= 15
1) หยิบได้ลูกกวาดสีแดง 1 เม็ด และสีดำ 1 เม็ด
เหตุการที่หยิบได้ลูกกวาดสีแดง 1 เม็ด และ สีดำ 1 เม็ด คือ
E = { ( r1,b1) , (r1,b2) , (r2,b1) , (r2,b2) , (r3,b1) , (r3,b2) , (r4,b1) , (r4,b2) }
ซึ่งมี 8 แบบ หรือ 8 เหตุการณ์ ดังนั้น n(E)= 8
ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกกวาดสีแดง 1 เม็ด และ สีดำ 1 เม็ด คือ
P(E)= n(E)/n(S)=8/15
2. เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกกวาดสีแดงทั้งสองเม็ด
E = {( r1,r2) , (r1,r3) , (r1,r4) , (r2,r3) , (r2,r4) , (r3,r4) }
ซึ่งมี 6 แบบ หรือ 6 เหตุการณ์ ดังนั้น n(E)= 6
ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกกวาดสีแดงทั้งสองเม็ด คือ
P(E)=n(E)/n(S)=6/15=2/5
เหตุการณ์ (Events)
คือ ผลลัพธ์ที่เราสนใจจากการทดลองสุ่ม นิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่แทนเหตุการณ์ ตัวอย่าง เช่น